การจัดทำเเผนปฎิบัติการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวตามกรอบความร่วมมือ GMS


การขับเคลื่อนการท่องเที่ยวต้องมีการบูรณาการในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของภาครัฐที่ต้องเน้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

สวัสดีครับ

วันที่ 14-15 มี.ค. 55 ผมได้รับเกียรติจากกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา ในเป็นวิทยากรร่วมสัมมนาเเนวทางการจัดทำเเผนปฎิบัติการขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวคามกรอบความร่วมมือ GMS ณ โรงเเรมเซ็นทารา ดวงตะวัน เชียงใหม่

ในเช้าวันที่ 14 เป็นพิธีเปิด ผอ.นเร เหล่าวิชยา ผอ.สำนักนโยบายเเละยุทธศาสตร์ของกระทรวงฯเป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีท่าน สมประสงค์ โขมพัตร หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬาเป็นประธานเปิดงาน

บทบาทของผมในวันเเรกนี้จะเป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ ประเทศไทยกับการท้าทายใหม่ด้านการท่องเที่ยวภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) ซึ่งในเวทีนอกจากผมเเล้วมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นประกอบด้วย คุณสมประสงค์ โขมพัตร, คุณไพโรจน์ โพธิวงส์ ที่ปรึกษานโยบายเเละเเผนจากสภาพัฒน์ฯ เเละ ดร.สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์ เป็นผู้ดำเนินรายการครับ

ในวันที่ 15 นั้น จะเป็นเวทีของผมที่จะให้ความรู้เรื่อง "ทุนมนุษย์พลังในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง" แล้วผมจะนำสรุปการเรียนรู้และภาพบรรยากาศมาฝากครับ

                                                           จีระ หงส์ลดารมภ์ 

หมายเลขบันทึก: 481939เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2012 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สรุปการเสวนา ประเทศไทยกับความท้าทายใหม่ด้านการท่องเที่ยวภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

  1. ผู้บริหารกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดต้องมองการท่องเที่ยวในบริบทของต่างประเทศมากขึ้น Think Global – Act Local
  2. การมอง GMS จะเป็นส่วนสำคัญของการมอง ASEAN ใหญ่ในปี 2015 และมองไปไกลถึงการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ GMS     ASEAN     ASIA      โลก
  3. ใน GMS ไทยเราจะมีศักยภาพการท่องเที่ยวบางอย่างดีกว่าเพื่อนบ้าน เพราะทำการท่องเที่ยวมานาน

       - TAT จะฉลอง 50 ปี

       - โดดเด่นในด้านการตลาด

       - องค์กรอย่าง TAT ทำหน้าที่ได้ดีโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ

  1. แต่จุดอ่อนของเราก็จะมี..

        1) เรื่องดูแลสิ่งแวดล้อม

        2) เรื่องการมองการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

        3) เรื่องคุณภาพของการท่องเที่ยว นักวิชาการจากHarvard คือ Michael Porter บอกว่าการท่องเที่ยวไทยขายปริมาณมากกว่าคุณภาพ ในจำนวน 17-18 ล้านคนที่มาเมืองไทยรายได้ต่อหัวยังไม่สูง และมีแนวโน้มจะต่ำลงด้วย Michael Porter ใช้คำว่า “More for less”

5. ดังนั้น การเชื่อมโยงกับ GMS จึงเป็นนโยบายที่จะเสริมจุดแข็งของเราและลดจุดอ่อนที่เรามีอยู่ ก็ผนึกกำลังร่วมกันอย่างจริงจัง

6. จุดแข็งอีกด้านของการท่องเที่ยวไทย ก็คือเรื่องการคมนาคม

  • เรามีสนามบินนานาชาติที่ทันสมัย มีสายการบินมาลงมากมายนอกจากนั้น
  • การเดินทางไปลาวหรือเขมรหรือพม่าก็คงจะผ่านประเทศไทยไปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไทยควรจะรักษาเปอร์เซ็นต์เหล่านี้ไว้
  • เชื่อมโยงการคมนาคมในประเทศ GMS มากขึ้น โดยเฉพาะสะพานข้ามแม่น้ำโขง
  • การเดินทางโดยรถยนต์ใช้ภาคอีสานและภาคเหนือของไทยเป็นหลัก ก็น่าจะขยายไปได้ดี
  • การใช้เส้นทางคมนาคมไทยผ่านเขมร ลาวและพม่าไปสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะมณฑลกวางสี และยูนานและในที่สุดกวางตุ้ง
  • แรงกระตุ้นจะทำให้เราเกิดการค้นหาตนเอง

7. การที่ประเทศไทยเปิดประเทศมีการพัฒนาการท่องเที่ยวยุคแรกๆ ก็อาจจะเป็นตัวอย่างทั้งที่ดีและไม่ดี

  • ประเทศไทยเปิดการท่องเที่ยวก่อนคนอื่นแต่ต้องบอกว่าข้อดีก็มีของไม่ดีก็มี การที่ประเทศอื่นมาศึกษาเราต้องให้ความจริงใจที่จะให้ข้อมูลเขาเพื่อศึกษาให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศต่างๆแบบยั่งยืน
  • เราต้องสอนบางอย่างเกี่ยวกับภูมิปัญญา

8. การผลิตทุนมนุษย์ในระดับอาชีวะและมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับประเทศในกลุ่ม GMS

  • ระดับอาชีวะสร้างคนเรื่องการท่องเที่ยวได้ดี
  • กระทรวงการท่องเที่ยวน่าจะจับมือกับมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาคนด้านการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • เราต้องสร้างบุญคุณให้กับประเทศเหล่านี้บาง โดยการให้ทุนเพื่อให้เขาระลึกถึงเรา เป็นการสร้างความร่วมมือที่ดีในระยะยาว
  1. หากใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องการท่องเที่ยวสำหรับประเทศ GMS อาจจะต้องบริหารความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยนหรือการป้องกันไม่ให้วัฒนธรรมต่างๆที่เป็นตะวันตกเข้ามาใน GMS มากเกินไป

ความยั่งยืนของพระเจ้าอยู่หัว เป็น Eastern Model เราไม่ได้ลอกจากตะวันตก

  1. แต่การร่วมมือกับประเทศในกลุ่ม GMS ในด้านการท่องเที่ยวไทยก็จะได้เรียนรู้บทเรียนบางอย่างของประเทศใน GMS ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวไทย เช่น
  • การรักษาสิ่งแวดล้อม
  • บทบาทของรัฐในการดูแลการท่องเที่ยวซึ่งส่วนมากจะดูแลโดยรัฐบาลกลางในขณะที่ไทยบทบาทรัฐบาลท้องถิ่นมีมากขึ้น
  • การรักษาวัฒนธรรมให้อยู่คู่กับประเทศ ประเทศอื่น ๆ ใน GMS ทำได้ดีกว่าประเทศไทย ต้องรักษาไว้
  • สิ่งที่เราต้องเรียนรู้จาก GMS คือการรักษาสิ่งแวดล้อม ประเทศอื่นๆยังคงรักษาไว้ได้ดี เขาต้องศึกษาประเทศไทยเพื่อนำไปเป็นตัวอย่างว่าเราดูแลสิ่งแวดล้อมไม่ดีเลย
  • บทบาทของรัฐบาลในการดูแลการท่องเที่ยว ต้องมีอะไรบ้าง ต้องมองที่ระยะยาว
  1. ผู้แทนกระทรวงฯ และโดยเฉพาะท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนและจังหวัดที่เกี่ยวข้องก็คงจะต้องมีการศึกษาแบบรู้เขา –รู้เรา ว่าการทำงานร่วมมือในกลุ่ม GMS จะเป็นการร่วมมือกันในอนาคตในด้านใดที่จะสร้างประโยชน์ให้ประเทศไทยและกลุ่ม GMS ในระบบ เพื่อผนึกกำลังร่วมกัน เน้นความเสมอภาค ให้เกียรติกันและกัน
  •  รู้เขา-รู้เรา
  • ศึกษาค่านิยมอย่างรอบครบ
  • ปรับทัศนคติของคนไทยที่มีต่อ GMS
  1. การพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์ของข้าราชการของกระทรวงฯ จึงมีความสำคัญและท้าทายอย่างยิ่งเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้
  1. การที่ท่องเที่ยวจังหวัดมาอยู่ร่วมกันจะมีโครงการการท่องเที่ยวใหม่ๆ อะไรที่จะทำร่วมกันในกลุ่ม GMS เช่น อาจจะลองดูตัวอให้ศึกษาจากย่างผลงานที่มูลนิธิฯ ที่ผ่านมา

14. ในอนาคตกระทรวงการท่องเที่ยวฯ อาจจะต้องทำงานร่วมกับ

  • กระทรวงต่างประเทศ
  • กระทรวงพลังงาน
  • กระทรวงแรงงาน
  • หรือแม้แต่หน่วยงานด้านพลังงาน เช่น  และการไฟฟ้าฯเพราะเรามีเรื่องพลังงานที่ต้องเชื่อมโยงมากมายเพื่อสร้างโครงการใหม่ๆเพื่อดูแลผลประโยชน์ของไทย ขึ้นมา เช่น โครงการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาพุทธ Eco-Tourism Cultural Tourism

สรุปคือ

  1. อุปสรรคของ GMS คือเรื่องความหลากหลาย
  • ต้องอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น ในการแก้ปัญหาและเชื่อมโยงความเป็น GMS
  • ต้องใฝ่รู้ ตั้งคำถามที่มีประโยชน์
  • นำความรู้ต่างๆไปสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยตั้งโจทย์ที่ GMS
  • มีทุนทางปัญญา เห็นปัญหา วิเคราะห์เป็น หาวิธีแก้ให้ถูก
  • Top down ต้องมีปัญญาด้วย ช่วยกันให้นโยบายที่มีประโยชน์
  • ปะทะกันทางปัญญาก่อให้เกิดความเห็น เกิดความคิดสร้างสรรค์
  • ทำได้หรือไม่ อุปสรรคคืออะไร เอาชนะอย่างไร
  1. Global-local ถ้าท่องเที่ยวอยู่คนเดียว ทำคนเดียว จะมองเรื่องต่างประเทศลำบาก การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลา
  1. ทกจ. สำคัญมาก เพราะเป็นผู้ที่ประสานเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อน ต้องพัฒนา ทกจ.ให้นำเอาศักยภาพมาใช้ โดยใช้วิธี
  • การสร้างเครือข่ายต้องทำให้ลึกซึ้ง
  • มองความจริงให้ออกว่าศักยภาพคืออะไร
  • อะไรที่ตรงประเด็นให้เกิด Impact
  • Win-Win ทุกๆฝ่าย เน้นอะไรคือประโยชน์ของประเทศระยะยาว
  • อะไรคือการต่อเนื่อง

   

คุณสมประสงค์ โขมพัตร

  • เรื่องการพัฒนาในกลุ่มประเทศ CLMV จับมือกันทำหลายโครงการ ตอนนี้ประเทศไทยไม่มีเพื่อนแล้ว ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ ในระดับนโยบาย ทั้งๆที่ประเทศไทยเคยเป็นผู้นำในเรื่อง ASEAN กับ GMS
  • ADB ช่วยในเรื่องการลงทุน ในประเทศ GMS  

เรื่องการท้าทายที่ต้องให้พวกเราคิดคือ

  • เรื่องการเดินทาง การทำ VISA ให้ประชาชนประเทศสมาชิก
  • การขยายตัวเรื่อง Low Cost Air line เป็นเรื่องความสะดวก การเปิดเสรีทางการปิด ยกตัวอย่างที่ประเทศพม่ามี Low Cost Air line ที่ทำโดยเอกหลายบริษัท แต่ออกช่วงเช้าเหมือนกันทุกบริษัท สิ่งนี้เป็นนโยบายของเขาที่จะจัดให้คนไปค้างในที่ท่องเที่ยวอย่างน้อย 1 คืน เป็นการกระจายรายได้สู่ภูมิภาคเป็นเรื่องของการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว
  • การเดินทางโดยถนนเป็นการสร้างเส้นทางคมนาคมที่สะดวก
  • ในอนาคตเป็นการสร้างรถไฟเชื่อมโยง
  • ตลาดนักท่องเที่ยว อินเดีย จีน เป็นตลาดใหญ่ที่ประเทศไทยและ GMS เป็นต้องการ แต่เป็นตลาดที่มีจำนวนมากกว่าคุณภาพ
  • มีข้อตกลงระหว่างยุโรป-จีนเป็นเที่ยวบินตรงจากยุโรป มายูนานประเทศจีน  ไม่ต้องบินมาที่ประเทศไทยแล้วเป็นการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิด ในอนาคต จะบริหารประเทศไทยได้อย่างไร จะรอส่วนกลางอย่างเดียวไม้ได้ ต้องดูว่าเขาอยู่อย่างไร การสร้าง Connection เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงานเพื่อประเทศชาติ ประสานต่อและรักษาไว้ด้วย
  • ถ้าสนามบินยูนานขึ้นมา เราจะมาปรับสนามที่เชียงใหม่อย่างไร ถึงเราไม่มีอำนาจในการทำแต่การให้ Idea เพื่อช่วยส่วนอื่นๆหาทางออกเป็นเรื่องที่ควรทำ
  • สายการบินภูมิภาคเชื่อมโยงกันด้วยเครื่องขนาดเล็ก ระดับภูมิภาค บทบาทของเรามองเรื่องนี้ได้ และคุยได้ เพราะเราสามารถได้ข้อมูลมาจากรอบทิศ
  • ถ้าเรามองเรื่องการท่องเที่ยวต้องมอง ไม่ได้มองแค่เรื่องบริการและสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเดียว ต้องมองสิ่งที่เชื่อมโยงในทุกๆด้าน
  • ตอนนี้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขาดคนมาขับเครื่องนโยบายต่อจากรัฐบาล
  • ต้องกำหนดมาตรฐานเรื่องการลงทุน
  • พม่าเปิดประเทศใหม่เราจะทำอย่างไร เพราะตอนนี้นักท่องเที่ยวยุโรปไปพม่าแล้ว เราต้องดูการเชื่อมโยงว่าการท่องเที่ยวอย่างไร
  • การเชื่อมโยงสุวรรณภูมิกับสนามบินอื่นๆ เพราะตอนนี้ สุวรรณภูมิใช้เต็มศักยภาพแล้ว เริ่มเที่ยวบินจะขึ้น จะลงต้องรอ เราจะทำอย่างไร
  • Product เรื่องการท่องเที่ยวเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรม เราต้องร่วมกันทำ Product ของ GMS บริหารจัดการร่วมกัน
  • เรื่องท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเชื่อมโยง การบริหารจัดการธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยว ของ GMS และ ASEAN เป็นการสร้างทัศนคติเราต้องมีความคิดแบบ ASEAN
  • ท้องถิ่นของ GMS มีความเข้มแข็งกว่าท้องถิ่นไทยมาก
  • ยกตัวอย่าง Emerald triangle เป็นโครงการที่สร้างขึ้นโดยรัฐบาลแต่ท้องถิ่นไม่เล่นด้วย ไมมีคนขับเคลื่อนโครงการจึงไม่เกิด
  • เราต้องกำหนดยุทธศาสตร์ เพื่อให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม
  • การบูรณาการเป็นเรื่องสำคัญ GMS มาจัดการอบรมร่วมกัน

ดร.สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์

  • การท่องเที่ยวทำให้เกิด Multiple Effect ในระบบเศรฐกิจ
  • การท่องเที่ยวต้องเอาเข้ามาพัฒนาในโลกที่ 3 ต้องดูเรื่องความยั่งยืน ต้องดูว่าจะมีการท่องเที่ยวในอีก 10 ปี จะเป็นไปในทิศทางใด
  • การปฏิบัติ ต้องรู้ว่าตนเองอยู่ตรงไหน
  • Connectivity เป็นการเชื่อมโยงทางด้านการเดินทาง  ไม่ใช่แค่เรื่องการผลิตอย่างเดียว แต่เรื่องการสร้าง Connectivity เพื่อการท่องเที่ยวใน GMS ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังเป็นตลาดของนักท่องเที่ยวคนละกลุ่ม
  • ถ้าในอนาคตเปิดการค้าเสรีอาเซียน จะเกิดการลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานและวัตถุดิบอย่างเสรี อาจจะเกิดปัญหาเช่น สิงคโปร์เป็นเจ้าของโรงแรมในเมืองไทย จ้างคนงานเวียดนามมาทำงาน วัตถุดิบมาจากฟิลิปปินส์ แต่เรื่องสิ่งแวดล้อมเสียอยู่ที่เมืองไทย เราต้องมองการป้องกันมากกว่าการแก้ไข
  • การทำงานเรื่องท่องเทียวต้องคำนึงถึงความเป็นจริงในการที่แต่ละจังหวัดจะมีแผนด้านการท่องเที่ยว

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้เเละ workshop "ทุนมนุษย์พลังในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง"

workshop

1. โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับท้องถิ่นที่เหมาะสม เสนอมา 3 เรื่อง

2. ปัจจัยความสำเร็จคืออะไร 3 เรื่อง
 
กลุ่มที่ 1
 
กลุ่มที่ 2
 
กลุ่มที่ 3
 
กลุ่มที่ 4
 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท