คนทำฮอ
นาวาอากาศโท สมเกียรติ ฮุ้นสกุล

MANOVA ; multivariate analysis of variance


การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ

     การวิเคราะห์ความแปรปรวน (anova) เป็นการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทรีทเม้นต์หลายๆ ทรีทเม้นต์ ภายใต้ข้อตกลงคือ ตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มอย่างน้อย 1 ตัวแปร และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณ ซึ่งในการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณจะเป็นการวิเคราะห์ที่มีตัวแปรอิสระเป็นตัวแปรเชิงกลุ่มอย่างน้อย 1 ตัวแปร และตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณที่มี 2 ตัวขึ้นไป

     การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ จำแนกได้ 2 กรณี คือ

1.กรณีตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม 1 ตัว ซึ่งมีระดับตั้งแต่ 2 ระดับขึ้นไป เรียกว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

2.กรณีตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรเชิงกลุ่ม 2 ตัวขึ้นไป และมีตัวแปรตามเป็นตัวแปรเชิงปริมาณมากกว่า (>) 1 ตัว เรียกการวิเคราะห์นี้ว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสองทาง

โดยการวิเคราะห์มีจุดประสงค์ก็เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของชุดตัวแปรระหว่างกลุ่มของตัวแปรอิสระ

สถิติที่ใช้ในการเปรียบเทียบ หรือ ทดสอบความแตกต่าง คือ

1) Wilk's lambda

2) Roy' largest root

3) Hotelling's trace

4) Pillai's trace

ซึ่งผลของการทดสอบสถิติทั้ง 4 วิธี จะให้ผลไปในทางเดียวกัน ในการออกแบบเพื่อการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์จะต้องมีไม่น้อยกว่า 2 เซลล์ และ 25 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผู้วิเคราะห์จะต้องตรวจสอบลักษณะของข้อมูลว่าเป็นไปตามข้อตกลงหรือไม่ และในการวิเคราะห์เมื่อพบความแตกต่างระหว่างชุดตัวแปรตามจะต้องวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มในแต่ละตัวแปรตามด้วย...ครับ

ที่มา...ผศ.ดร.ยุทธ ไกยวรรณ์ (อาจารย์ผมเองครับ)


 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #MANOVA ; multivariate analysis of variance
หมายเลขบันทึก: 481628เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2012 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท