ที่มาของคำว่าละโว้และเชียงราย..ทฤษฎีใหม่ที่ขอเสนอ


เรื่องนี้สำคัญมาก จะนำไปสู่การตีความประวัติศาสตร์ในมิติใหม่ๆได้มากขึ้น

ผมได้เสนอทฤษฎีใหม่ไปแล้วว่า ที่มาของคำว่า “ละโว้”  นั้น  ไม่ใช่ดังที่เชื่อกันมานานว่ามาจากภาษามอญ ที่ว่า “ลูโว”    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/455930

แต่มาจาก ภาษาสันสกฤต คือ ลว+อุทัย  = ลโวทัย

 

 

อีกทฤษฎีที่ผมขอเสนอฝากไว้คือ  คำว่า เชียงราย  ซึ่งจนวันนี้ก็ยังไม่มีใครทราบแน่ว่ามาจากไหน

 

แต่ผมเชื่อว่ามาจาก เชียง+รายา = เชียงรายา แต่ตอนหลังสระอาหดหายไป กลายเป็น ราย

 

ไม่ต่างอะไรกับ ราชา กลายเป็น ราช

 รายา ก็แปลว่า ราชา เหมือนกัน นิยมออกเสียงกันแบบนี้ในทางอินโดนีเซีย

ดังนั้นเชียงราย ก็แปลว่า เมืองของพระราชา  หรือ เมืองที่พระราชาอยู่ กระมัง

 

ทุกวันนี้ยังมีหมู่บ้าน “สุวรรณรายา” อยู่ไม่ห่างจากตัวเมืองเชียงรายมากนัก (อยู่บนเส้นทางไปเชียงแสน ห่างตัวเมืองเชียงรายประมาณ 10 กม. เห็นจะได้)

  

ส่วนพระเจ้า มังราย ผมก็ขอเสนอทฤษฎีมาพร้อมกันเลยว่า มาจาก มัง+รายา เช่นกัน หมายความว่า เป็น ราชาของชนชาวมัง นั่นเอง ส่วนชาวมังเป็นใคร ก็ฝากนักประวัติศาสตร์ไปค้นกันนะครับ

 

เรื่องที่มาของชื่อนี้สำคัญมาก จะนำไปสู่การตีความประวัติศาสตร์ในมิติใหม่ๆได้มากขึ้น

 

...คนถางทาง (๑๐ มีค. ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 481575เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2012 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

I looked up "lava" in the Digital Pali Reader (developed by Yuddhammo bhikkhu).

ละวะ

lava: a drop. (m.)

Lava [fr. lū] a small particle, a drop VvA 253 (lavanka a small mark); Sdhp 105 (˚odaka).

อุทัย

udaya: rise; growth; increase; income; interest (from money). (m.)

It is puzzling what context a "small drop" could be big enough to name a kingdom after (???).

-- a small rising?

-- 'from little things, big things grow'?

PS.

ละวะ -->ละพะ --> ลพ as in ลพบุรี [purii, pura: a town or city. (nt.)]

ของผมดูจาก พจนานุกรมไทยครับ

ลวะ..การตัอ เกี่ยว ท่อน ชิ้น หรือ หยาดน้ำ (ไม่ใช่หยดน้ำครับ )

ละวะ - ลัวะ - หลัว - เหลา - หลาว.. คำไทโบราณ(ซึ่งมีรากศัพท์จากบาลี) ใช้เรียก คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่..ที่มีต้นทางขนาดใหญ่ แต่ส่วนปลายเล็ก เช่น หยาดน้ำ..ทางน้ำ ที่ซึ่งจะไหลมารวมกันเป็น คลอง หรือ แม่น้ำ ..เรียกตรงที่มาบรรจบกันหรือต่อกันกับส่วนที่กว้างขึ้นว่า ปากละวะ..และอาจหมายถึง การรวมกันแล้วเข้มแข็ง เป็น หมู่พวก..(เหล่า..และกลายเป็น ลาว)..เมืองละวะ( ละโว้ ) อาจหมายถึงเมืองที่มีการนำน้ำมารวมกัน..หรือ เมืองที่รวบรวมส่วยน้ำ..

ชาวมัง..มง..ม้ง..มุง..อาจมีที่มาจาก มังคละ..มงคล.. มัง หรือ มง หรือ มุง หมายถึง เครื่องสวมหัว..(นักบวชที่ใช้ภาษาบาลี อาจจะเรียกผู้คน ชนเผ่า ที่นิยมสวมเครื่องสวมหัว)..มงคล ต่างจาก มงกุฏ..มงคลใช้ด้ายถักนิยมหลากสี(คละ)..มงกุฏ มียอดแหลม(กุฎี)..หากสันนิษฐานจากคำว่า มุงหลังคา..กิริยาการนำสิ่งของขึ้นไปปกคลุมข้างบนเรือน หรือ ไทยมุง..กิริยาที่ คนไท มักมีนิสัยอยากรู้อยากเห็น เมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นก็มักล้อมกันเข้าดู..ผู้มาทีหลังต้องพยายามเกาะบ่าหรือกระโดดหรือปีนขึ้นที่สูงเพื่อดูให้เห็น..

เขาว่ากันว่า มง คือ มอญ นะครับ อาจเพี้ยนไปเป็น มอง (สำเนียงจีน) แล้วเป็น มง

เชื้อสายมอญมักจะมีผิวคล้ำ ผิดกับไตที่มักมีผิวขาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท