สัญญะวิทยา: ความสัมพันธ์แบบประโยค (syntagmatic form): ตอนที่ 2 ตัวอย่างเรื่องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบประโยคกับสื่อที่เป็นภาพ


สัญญะวิทยา: ความสัมพันธ์แบบประโยค (syntagmatic form): ตอนที่ 2 ตัวอย่างเรื่องการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบประโยคกับสื่อที่เป็นภาพ

ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน

                วันนี้ผมจะมาเพิ่มเติมเรื่องความสัมพันธ์แบบประโยคต่อนะครับ ตอนนี้เน้นแต่เรื่องความสัมพันธ์แบบประโยคอย่างเดียวและจะขยายความบางส่วนให้ชัดเจนมากขึ้น

                เป็นที่ทราบกันดีว่าภาพลักษณ์ หรือภาพตัวแทน (picture, visual image) ไม่ได้อยู่ในรูปของความเรียง (การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบประโยคของความเรียงอยู่ในบล็อกที่แล้ว) นักสัญญะวิทยายบางคนเสนอว่าความเรียงใช้ความสัมพันธ์แบบประโยคแบบเป็นลำดับ เช่น ก่อน/หลัง แต่ความสัมพันธ์แบบประโยคของภาพลักษณ์จะเป็นความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ (Spatial) ความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้างบน/ข้างล่าง, ข้างหน้า/ข้างหลัง, ใกล้ชิด/ห่างไกล, ซ้าย/ขวา, เหนือ/ใต้, ตะวันตก/ตะวันออก, ข้างใน/ข้างนอก, ศูนย์กลาง/ชายขอบ เป็นต้น

                ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเหล่านี้ไม่มีความเป็นกลางทางความหมาย คำว่าไม่เป็นกลางทางความหมายหมายความว่าความสัมพันธ์เหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง Gunther Kress และ Theo Van Leeuwen ได้เสนอมิติของความสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ ซึ่งปรากฏในภาพลักษณ์ต่างๆ 3 ประการ ได้แก่ ซ้าย/ขวา, ข้างบนสุด/ข้างใต้สุด, ศูนย์กลาง/ชายขอบ

                1. ซ้าย/ขวา Kress และ Van Leeuwen กล่าวว่า ถ้ายิ่งไปทางซ้ายมากเท่าไร ก็เหมือนสิ่งที่ให้มา หรือสิ่งที่มีอยู่แล้วมากขึ้นเท่านั้น และยิ่งชิดขวามากเท่าไร ก็เหมือนสิ่งที่ใหม่มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ทางซ้ายยังหมายถึงสิ่งที่คุ้นเคย สิ่งที่รู้กันดีอยู่แล้ว สามัญสำนึก เห็นได้แจ่มชัด และทางขวายังหมายถึงสิ่งที่ผู้คนต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ สิ่งที่น่าประหลาดใจ เป็นปัญหา เป็นการแข่งขัน

                2. บน/ล่าง หรือมากขึ้น/น้อยลง  Kress และ Van Leeuwen ข้างบนหมายถึงความดี คุณธรรม ความสุข จิตสำนึก สุขภาพ ชีวิต อนาคต สถานภาพที่สูง มีอำนาจเหนือ สิ่งที่อุดมคติ และเหตุผล ข้างล่าง หมายถึง ความเลว ความเสื่อมเสีย ความเจ็บไข้ ความตาย สถานภาพที่ตกต่ำ ไร้อำนา สิ่งที่เป็นจริง และใช้อารมณ์

                3. ศูนย์กลาง/ชายขอบ ศูนย์กลาง หมายถึง สิ่งเฉพาะ รายละเอียด  ความมีอำนาจ ชายขอบหมายถึง สิงทั่วไป

                จริงๆแล้วยังมีการศึกษานิทานและนิยายโดยใช้โครงสร้างยังมีอีกมาก ไว้วันหลัง ถ้าว่างค่อยมานำเสนอนะครับ

หมายเลขบันทึก: 481390เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2012 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2013 19:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท