การเดินทางสู่สังเวชนียสถาน


ปฐมบทแห่ง “การเดินทางสู่การเรียนรู้”ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ คศน. เป็นการเดินทางสู่ดินแดนแห่งศรัทธาของชาวพุทธ ดินแดนแห่งสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย-เนปาล ดินแดนที่ใครหลายคนเฝ้าฝันว่าจะต้องไปให้ได้ในชั่วชีวิตหนึ่ง คล้ายกับชาวมุสลิมที่อยากไปสักการะดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเมกกะ

การเดินทางสู่สังเวชนียสถาน อินเดีย-เนปาล

    

     ปฐมบทแห่ง “การเดินทางสู่การเรียนรู้”ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ คศน. เป็นการเดินทางสู่ดินแดนแห่งศรัทธาของชาวพุทธ ดินแดนแห่งสังเวชนียสถานในประเทศอินเดีย-เนปาล ดินแดนที่ใครหลายคนเฝ้าฝันว่าจะต้องไปให้ได้ในชั่วชีวิตหนึ่ง คล้ายกับชาวมุสลิมที่อยากไปสักการะดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนครเมกกะ แต่แปลกที่ตนเองไม่เคยคิดจะไป ไม่ใช่ไม่เชื่อหรือไม่ศรัทธาในศาสนาพุทธ แต่เป็นชาวพุทธที่ไม่ชอบพิธีกรรมหรือรูปแบบ  จึงคิดเอาเองว่า พระพุทธเจ้าก็เสมือนเป็นปราชญ์สมัยก่อนที่มีชีวิตอยู่ในช่วงตั้ง 2 พันกว่าปีก่อน ไปดูสถานที่ก็คงจะไม่เห็นอะไร เพราะจะมีถาวรวัตถุอะไรที่มันจะดำรงอยู่มานานเนขนาดนั้น ส่วนความลำบากบวกความสกปรกของประเทศอินเดียดูเหมือนจะไม่อยู่ในห้วงคิดคำนึงมากนัก เพราะเป็นคนอยู่ง่าย กินง่าย อะไรก็ได้ นั่นคือสิ่งที่คิดก่อนเปิดประตูสู่การเดินทางที่ไม่ได้คาดหวังอะไรไว้

ตลอดสัปดาห์แห่งการเดินทาง บทเรียนที่ได้รับมีหลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดภายในใจตนเองและได้ไปรับรู้เรื่องราวของโลกภายนอก ได้กระโดดออกไปจากกะลาความคิดเดิมๆของตนเอง ทำให้ได้เรียนรู้ในสิ่งต่อไปนี้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ภายในตนเอง


“ก็ไม่ใช่ ไม่มีอะไรในการไปดูสถานที่” แม้จะเป็นเพียงสถานที่รำลึกถึงการมีอยู่จริงของพระพุทธเจ้า แต่การได้เดินทางตามรอยในหน้าหนังสือประวัติศาสตร์ ทำให้จินตนาการถึงความเป็นอยู่ของสมัยพุทธองค์ได้ชัดขึ้น เริ่มจำเค้าลางของวิชาพุทธศาสนาที่เคยสอบได้ที่ 1 สมัยนักเรียนได้ แม้จะไม่ซาบซึ้งกับเนื้อหามากนัก


นอกจากได้จินตนาการมองเห็นภาพอดีตของการก่อเกิดพุทธศาสนา ยังได้ภาพต่อจิ๊กซอของการเดินทางค้นหาความสุขของมนุษย์ในช่วงเวลาต่างๆ มองเห็นภาพสังคมมนุษย์ที่มีลำดับขั้น มีชนชั้น มีโครงสร้างซับซ้อนในการอยู่อาศัยร่วมกัน มีการช่วยเหลือแต่ก็มีการต่อสู้แก่งแย่งแข่งขันเพื่อการอยู่รอดมา

 
ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล สังคมมนุษย์มันยุ่งเหยิงมาตั้งนานแล้ว หรือมันอาจจะยุ่งเหยิงเพราะเป็นธรรมชาติของ species นี้ก็เป็นได้ และเพราะมันยุ่งเหยิง มนุษย์จึงออกเดินทางหาความสุขเป็นรูปแบบของศาสนานิกายต่างๆ ศาสนาก็เหมือนวัฒนธรรมความคิดความเชื่อเพื่อไขว่คว้าหาความสุขของมนุษย์ในยุคหนึ่งๆ เป็นวัฒนธรรมที่เติบโตไม่หยุดนิ่ง แตกดอกออกผลเป็นศาสนาใหม่ นิกายใหม่ไปเรื่อยๆ เพื่อค้นหาทางเดินสู่ความสุขในใจมนุษย์ แม้ยุคของพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้มีแต่ฮินดูกับพุทธ ยังมีทางออกอื่น ศาสนาอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน และก็มีการชิงดีชิงเด่น แย่งลูกค้าเหมือนๆกัน
 
อ่านบทความเพิ่มเติมต่อได้ที่ เครือข่ายร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะแนวใหม่ (คศน.)
ผศ.พญ.สายพิณ หัตถีรัตน์
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ขอขอบคุณภาพประกอบจากผู้นำ คศน. ทุกท่าน
หมายเลขบันทึก: 481072เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2012 16:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท