นี่แค่ไอเดีย..การคงอยู่ของแพทย์คนเก่งในท้องถิ่นห่างไกล


๒ มีนาคม ๒๕๕๕ บันทึกนี้ว่ากันด้วยเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย จากเวทีการประชุมสรุปผลการตรวจราชการฯกระทรวงสาธารณสุข เขต ๑๘ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๕ หลากหลายเรื่องราวในการสรุปผลก็ว่ากันไปตามเนื้องาน คนทำก็พยายามนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ให้ถูกใจ ส่วนคนตามงาน ตรวจงานเขามาพร้อมกับประเด็นที่ชัดๆ หลังจากอินไซด์ทำการบ้านมาก่อน แล้วเจาะลงแต่ละจุด หากการนำเสนอพร่ามัว ในแต่ละช่วงของรายคณะท่านผู้ตรวจฯก็จะโฟกัสประเด็นที่เน้น และสรุปแนวทางในใจซึ่งได้มาจากการพูดคุยนอกรอบให้ที่ประชุมได้รับทราบ แล้วค่อยไปต่อ...

ท่านผู้บริหารหน่วยงานก็ทราบกันอยู่แล้วว่าท่านมีสไตล์เป็นแบบใด ก็เตรียมกันแบบนั้น...

 

ในวันนี้สิ่งที่ผมสนใจก็คือเรื่องราวของการสร้างระบบบริการผ่าตัดที่ซับซ้อนในต่างจังหวัดครับ การผ่าตัดที่มีความซับซ้อนซึ่งปกติจะต้องไปทำกันในโรงพยาบาลใหญ่ๆ หรือในกรุงเทพฯ เนื่องจากแพทย์เก่งๆมีน้อย แต่ที่พิจิตรเขามีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งสามารถให้บริการด้านนี้ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลก เมื่อดูในภาพรวมของประเทศ ตรงนี้ก็เลยมีการพูดคุยกันเพื่อที่จะเพิ่มศักยภาพของระบบบริการสาธารณสุขในต่างจังหวัดโดยเฉพาะเขต ๑๘ นี้

 เขาคุยกันถึงเรื่องการที่จะสามารถดำรงแพทย์เก่งๆ ไว้ที่ต่างจังหวัด คงโอกาสการเข้าถึงบริการที่ดีของประชาชนที่จะได้รับบริการขั้นสูง ซึ่งในด้านการบริหารก็คือ win win นะครับ

ตัวแพทย์ก็ได้ทำตามฝันและได้อยู่กับครอบครัวที่บ้านเกิด และได้สร้างชื่อเสียงให้กับหน่วยงานในท้องถิ่นรวมทั้งตนเองอีกด้วย

 

เพื่อจะให้เกิดสิ่งต่างๆ หรือภาพของบริการชั้นเลิศในต่างจังหวัดแบบครบทุกสาขา การนำร่องทำเฉพาะสาขาที่มีศักยภาพก็เริ่มขึ้น เริ่มจากสุมหัวกันคิด คิดแบบนอกกรอบ เพื่อให้เป้าหมายบรรลุ สรุปๆ ก็คือ เราจะสร้างระบบที่ให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถออกไปทำการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยตาม รพ.ต่างๆในเขต อาจจะทั้งสี่จังหวัดเลยก็ได้ ร่วมกับการส่งผู้ป่วยมารับการผ่าตัดที่ รพ.พิจิตรด้วย

 ผลจากการทำแบบนี้ก็จะทำให้มีงานผ่าตัดขั้นสูงป้อนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลาและต่อเนื่อง

 เขาก็ได้พัฒนาฝีมือขึ้นไปถึงฝันได้ ส่วนของผู้ป่วยก็ได้รับบริการในท้องถิ่นที่ตนเองอยู่ด้วยบริการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะติดอยู่นิดนึงก็คือธรรมเนียมปฏิบัติของแพทย์ที่ได้สอนกันมานั่นคือการผ่าตัดแพทย์คนใดผ่าคนนั้นก็ต้องดูคนไข้ ซึ่งตรงนี้ก็มีแนวทางการปฏิบัติที่ทำได้จริงให้เห็นแล้วในบริการของ รพ.เอกชน คือเป็นระบบของแพทย์เจ้าของไข้ซึ่งจะเป็นผู้ดูแลคนไข้ประจำ ว่ากันตั้งแต่ตรวจผู้ป่วย รับผู้ป่วยเข้านอน รพ. ส่งผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดจากผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นก็รักษาจนหายกลับบ้านไป ตรงนี้แหละที่คุยกันเพื่อหาข้อตกลงร่วม หากทำได้สิ่งนี้ก็จะเป็นนวัตกรรมใหม่ในระบบการดูแลผู้ป่วยของรัฐเลยทีเดียว

ในฐานะประชาชนก็หวังรอจะให้เกิด การพัฒนาแบบนี้มากๆ ซึ่งถือว่าน่าภูมิใจมากๆ ตรงนี้ยังเป็นแค่ต้นของกระบวนการ เป็นความคิด ต่อไปก็คือการนำร่อง ต่อจากนั้นจึงจะเป็นมาตรฐานที่จะว่าจะทำกันทั้งประเทศต่อไป ทั้งหมดก็แค่เล่าสู่กันฟัง เผื่อปิ๊งไอเดีย นะครับ

 

หมายเลขบันทึก: 480807เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2012 06:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ภาพนี้ให้ความรู้สึกเหมือนนอนใต้ต้นไม้นะครับ

ข้างล่างคงเป็นดินทราย

อาจอยู่ชายทะเลด้วย

ที่ทุ่งแสลงหลวง ใกล้ๆ พระตำหนักเขาค้อ น่ะครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท