มองโรคในแง่ดี ตอนที่ 4(มาตรวัดความรู้สึกของคนไม่เท่ากัน)


เรียนรู้ การคิดจากธรรมชาติของลูก

เรียนรู้ การคิดจากธรรมชาติของลูก

          ในตอนนี้จากการรู้เพียงว่าตัวเองเป็นโรคพาร์กินสัน มันก็ทำให้เราหยุดคิดไปข้างหน้า ได้  เราเริ่มปรับความคิด ต่างๆ  ได้มากมาย หันกลับมามองตัวเองและคนรอบข้างมากขึ้น   แต่มีอีกเรื่องที่ทำให้เราแก้ปัญหาการอยู่ร่วมกับผู้ร่วมงานอย่างมีความสุข  ได้  คือการได้เรียนรู้ การคิดจากธรรมชาติของลูก  ตอนนั้นลูกอายุประมาณ 2 เศษๆ ลูกวัยนี้กำลังสนใจสิ่งแวดล้อมสนใจของเล่น ที่สนุกๆ  อยากที่จะทำโน่น  นี่ นั่น  เวลาอยู่บ้านก็เห็นแบบนี้  ในบ้านจะอยู่ในหมู่บ้านที่เป็นชนบท  มีทุ่งนา  แม่น้ำลำคลอง  มีสวนมะม่วง  ลูกชอบไปสวนกับตาและยาย  ตายายจะไปเก็บผลไม้ในสวนมาขาย  ลูกชอบนั่งขายของบนรถเข็ญ  หยิบของให้ลูกค้า  ยายก็จะเข็ญขายไปรอบหมู่บ้าน  แต่ด้วยความที่เรา เป็นพยาบาล  มีชีวิตที่ค่อนข้างเมือง หน่อย ก็อยากให้ลูกได้เล่นของเล่นแบบในเมืองบ้าง  ก็เลยพาไปเที่ยว the mall บ้าง แต่พาลูกไปทุกครั้งสังเกตเขาจะเฉย  มาก พาไปกิน KFC , MK หรืออีกหลายที่เขาก็จะงอแง  คุณป๊า ก็เลยคิดเอาพาไปเล่นสาวนสนุกบ้างก็แล้วกัน  ปรากฏว่า เราพยายามยื่นข้อเสนอให้ลูก  อันนั้นดีมั๊ย  อันนี้ดีมั๊ย  กินนี่มั๊ย  เอากระโปรงตัวนี้หรือเปล่า  แต่ใบหน้าเขาก็จะเฉยๆ  มีครั้งหนึ่ง  ให้เขานั่งรถไฟฟ้า เพราะคิดว่าเด็กคงจะชอบ  ตรงนี้ทำให้เราได้คิดกัน  คุณสามีถามว่า  “โจ้เราพาลูกมาเล่นนี่ มัน เป็นความต้องการของลูกหรือของเรา” ทั้งสองคนมองหน้าลูก  แล้วเราก็เห็นเลยว่าเขาเซ็ง     เขาก็งอแง  โน่น นี่ นั่นก็ไม่เอา สุดท้ายเราก็อารมณ์เสีย  เที่ยวก็ไม่สนุก  กินก็ไม่ได้กิน  กะจะshopping ก็อด  สุดท้ายก็เริ่มจับประเด็นได้ว่า  อะไรที่ลูกชอบ เราก็เลยพาไปตามนั้น  ลูกสนุกในการได้เที่ยวตามธรรมชาติไปดูปลาในแม่น้ำ ดูแมลงปอ  ผีเสื้อ  แต่ถ้าเข้าห้างเขาจะชอบไปร้านหนังสือที่สุด  สุดท้าย ก็เลยคิดว่า หลายๆ สิ่งที่เราพยายามหยิบยื่นให้ลูก เพราะเป็นสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุด    นั่นเป็นสิ่งที่เราคิดแทนลูก  เหมือนกับ ที่เราทำงาน เราพยายามที่จะให้คนนั้น คนนี้มาคิดมาทำอย่างที่เราคิด  มันไม่ถูก  เราไม่ควรคิดแทนคนอื่น  มาตรวัดของคนแต่ละคนไม่เท่ากัน เช่นการกิน หวาน  บางคนไม่ชอบหวาน บางคนชอบหวาน บางคนชอบ หว๊านๆ  ฉะนั้นแล้วเราไม่ควรคิดแทนคนอื่น  อย่าเอามาตรฐานของตัวเราไปวัดคนอื่น  เราต้องรู้ธรรมชาติของคนแต่ละคน  ให้เขาตัดสินใจเอง เพียงเราเป็นคนให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเท่านั้น เราก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งโมโห ว่าทำไมคนอื่นไม่มาคิดเหมือนเรา นะ เราก็จะสามารถอยู่ร่วมสังคมได้กับทุกคน  อย่างมีความสุข  ทุกวันนี้ฉันอยู่อย่างมีความสุข  ไม่มีคำถามว่า ทำไม ...ทำไม...ทำไม 

สีหน้าลูกตอนพาไปเล่นของเล่น

สีหน้าลูกตอนพาไปขายมะม่วง

หมายเลขบันทึก: 480771เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2012 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2013 05:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

*ชื่นชมแนวคิดดีๆเช่นนี้ค่ะ

*ลูกสาวน่ารักจังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท