ขออนุญาตเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ


หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ชีวิตปลอดภัยกับนายไข่นุ้ย

สวัสดีครับมวลมิตรทุกท่าน ผมขออนุญาตเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ชีวิตปลอดภัยกับนายไข่นุ้ย ครับ

 

 

ขอบคุณทุกท่านและ gotoknow ของเราครับ

หมายเลขบันทึก: 480636เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2012 16:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 06:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ยอดเยี่ยมครับ น่าสนใจมาก +ขอบคุณครับ+

เล่มนี้เกือบเป็น "บทเรียนสำเร็จรูป" นะครับ ;)...

นางสุดาวดี เนื่องฤทธ์

บทคัดย่อ

 

 

 

ชื่อเรื่อง                 การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเทศบาล 5

 

                         (วัดกลางวรวิหาร) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ  จังหวัดสมุทรปราการ  

 

ผู้ประเมิน       นางสุดาวดี  เนื่องฤทธิ์

 

ระยะเวลาการประเมินโครงการ   ปีการศึกษา  2555

 

                 การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ  ดังนี้   1. เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง 2.เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครู  นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนเทศบาล (วัดกลางวรวิหาร) จำนวน 318  คน ได้จากการสุ่มจำแนกตามชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้รายงานได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ โมเดล (CIPP Model)ประกอบด้วย 4 ด้าน เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ คือ สภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ และผลผลิต แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ  เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ , S.D.  และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์การประเมิน

 

                    ผลการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเทศบาล 5(วัดกลางวรวิหาร)  คณะกรรมการศึกษาและครูมีความเห็นว่าทั้งด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยรวมมีความเหมาะสมระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการประเมินความพึงพอใจองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง  ครู  และนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 

นางสุดาวดี เนื่องฤทธ์

บทคัดย่อ

 

 

 

ชื่อเรื่อง                 การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเทศบาล 5

 

                         (วัดกลางวรวิหาร) สังกัดเทศบาลนครสมุทรปราการ  จังหวัดสมุทรปราการ  

 

ผู้ประเมิน       นางสุดาวดี  เนื่องฤทธิ์

 

ระยะเวลาการประเมินโครงการ   ปีการศึกษา  2555

 

                 การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการ  ดังนี้   1. เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง 2.เพื่อประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครู  นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มีต่อโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ของโรงเรียนเทศบาล (วัดกลางวรวิหาร) จำนวน 318  คน ได้จากการสุ่มจำแนกตามชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้รายงานได้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ โมเดล (CIPP Model)ประกอบด้วย 4 ด้าน เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ คือ สภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ และผลผลิต แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ  เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ , S.D.  และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์การประเมิน

 

                    ผลการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนเทศบาล 5(วัดกลางวรวิหาร)  คณะกรรมการศึกษาและครูมีความเห็นว่าทั้งด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตโดยรวมมีความเหมาะสมระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินผลการประเมินความพึงพอใจ  ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครอง  ครู  และนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากผ่านเกณฑ์การประเมิน เช่นกัน

 

 

 

 

 

 

 

นางวิไลลักษณ์ แก้วเมือง

ชื่อเรื่อง

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน

เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย

วิไลลักษณ์ แก้วเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการ

ของการวิจัยและพัฒนามี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้วิจัยดำเนินการสร้าง

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 ชุด นำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสม จากนั้นนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม

การเรียนรู้ตามเกณฑ์ 75/75 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบประเมินความเหมาะสมของ

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1/E2 ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนพิชัย อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบบแผนการวิจัย คือ One – Group Pretest – Posttest Design

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ t – test

แบบ Dependent ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม

การเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจชนิดมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คู่มือครู และชุดกิจกรรมสำหรับนักเรียน โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิค TGT มี 3 ขั้นตอน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อนำไปทดลองใช้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.99/82.442) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรม

การเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท