เกษียณวารานุสรณ์...มุทิตาจิตกับพี่ๆที่ครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ที่ยาวยาน..


ความรู้สึกที่ดี..จะเข้ามาแทนที่เสมอเมื่อรู้สึกว่าเราต้องจากกัน...เราทุกคนมักมองไม่ค่อยเห็นความดีของคนที่อยู่ใกล้ตัว....จนกระทั่งเขาต้องจากเราไป...เราถึงจะเห็นคุณค่าของเขา...รัก ห่วงหา อาลัย....ดังนั้น..จงปฏิบัติกับบุพการีของเราให้ดีที่สุด..ก่อนที่ท่านจะจากเราไป....จะได้ไม่ต้องมานึกเสียดายว่า...เรายังไม่มีโอกาสทดแทนคุณ....
เกษียณวารานุสรณ์

การใช้ชีวิตในแวดวงราชการ ทุกปีประมาณเดือนกันยายน แต่ละองค์กรก็จะมีข้าราชการอายุครบ 60 ปี ในปีนั้นๆ ก็ต้องออกจากราชการตามกติกา ซึ่งพวกเราจะเรียกว่า เกษียณอายุราชการ   ผมเชื่อมั่นว่าทุกองค์กรที่มีข้าราชการเกษียณอายุ ก็จะจัดให้มีการแสดงมุทิตาจิต ด้วยการรดน้ำ ให้พร แสดงชีวประวัติของผู้เกษียณอายุ ทำเป็นหนังสือเล่มเล็ก หรือไม่ก็แสดงเป็น presentation ดูหน้าตื่นตาตื่นใจยิ่งนัก.....

                พวกเราศิษย์ผู้น้องที่เห็นรุ่นอา รุ่นน้า ทยอย ออกจากราชการทุกๆ ปี ดีใจที่ทุกคนขึ้นชกชนครบยก...แต่ก็มีหลายๆ คนที่ต่อยไม่ครบยก แพ้น็อค ก็มี ถูกกรรมการไล่ลงจากเวทีก็มี  โยนผ้ายอมแพ้ก็มี  แต่พวกที่อดทนมาถึงวาระเกษียณอายุ  ผมศิษย์รุ่นน้องก็ต้องขอชื่นชมศิษย์ผู้พี่ทั้งหลาย ...ที่ทุกคนผ่านชีวิตราชการที่มีทั้งความสุข ความทุกข์ ความรันทดที่ทุกคนต่างสัมผัส จะมากน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ตนเองใช้ชีวิตราชการอยู่ หรือไม่ก็เกิดจากตัวของตัวเอง.....ที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ หรือไม่ก็ขาดศิลปะในการบริหาร หรือการใช้ทักษะชีวิต และหลักธรรมะ เข้ามาใช้ในการคบคน........วันนี้ก็เป็นโอกาสดีที่จะนำเสนอ คำยอดฮิต ได้แก่ มุทิตาจิต เป็นคำที่ใช้กับผู้ที่เกษียณอายุการทำงาน ไม่เฉพาะข้าราชการเท่านั้น แม้แต่เอกชน ก็ใช้คำว่า การแสดง มุทิตาจิต  แต่คำคำนี้ความหมายดีมาก   ถ้าเกิดกับจิตใต้สำนึกของคนทุกคน ทุกเมื่อ ทุกเวลา ผมว่าวงการราชการคงจะอยู่กันอย่างมีความสุข ความเจริญ ยิ่งขึ้นกว่าปัจจุบันนี้มาก......

มุทิตา   หมายถึง ความเป็นผู้มีใจชื่นชมยินดีในเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดี หรือได้รับความสำเร็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นในใจเอง โดยมิได้บังคับ แต่เกิดขึ้นเฉพาะจิตใจปราศจากความอิจฉาริษยา เกิดขึ้นเพราะเป็นผู้มีปกติยอมรับในผลสำเร็จหรือความดีของคนอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกเป็นคำเต็มว่า มุทิตาจิต

อันคุณธรรมข้อนี้ มิใช่ว่าจะเกิดขึ้นง่าย ๆ หรือเกิดขึ้นแก่ทุกคนไม่ เพราะปกติธรรมดาคนทั่วไป มักจะไม่ค่อยยอมรับความดีของผู้อื่น มักจะไม่ค่อยชื่นชอบนัก หากผู้อื่นได้ดีเกินหน้าโดยเฉพาะคนที่ไม่ชอบหน้ากันอยู่แล้ว มุทิตาจิตจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ดังนั้นคนที่ทำให้จิตเกิดมุทิตาได้จึงเป็นบุคคลพิเศษ ที่ยกระดับจิตใจให้สูงกว่าคนธรรมดาสามัญได้แล้ว  เป็นคนเปิดใจกว้างยอมรับความดีของผู้อื่นและพร้อมเสมอที่จะแสดงความชื่นชมยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ดี ผู้ทำได้ดังนี้ท่านว่า เป็นผู้ยกระดับจิตใจถึงขั้นระดับเป็นพระพรหมทีเดียว เพราะมุทิตาจิตนั้นเป็น พรหมธรรม หรือ  พรหมวิหารธรรม ข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นธรรมของผู้เป็นพรหม ของผู้ใหญ่ผู้ประเสริฐ แล้ว จึงกล่าวได้ว่ามุทิตานี้เกิดได้ยากนักยากหนา  ที่เกิดได้ง่าย ๆ นั้นเพราะฝึกไว้ดีแล้วต่างหากการแสดงออกซึ่งมุทิตาจิตนั้น มิใช่หมายเพียงสำสักการะไปถวาย การนำกระเช้าดอกไม้ไปให้ การเลี้ยงกันหรือกล่าวอวยพรกันเท่านั้น เพราะการแสดงเช่นนั้นเป็นเพียงจุดปลายที่ให้รู้ว่ามีมุทิตา  แท้ที่จริงมุทิตานั้นจะต้องเริ่มต้นเกิดที่จิตใจก่อน  เมื่อจิตใจเกิดมุทิตาแล้วก็เป็นอันว่าใช้ได้    ส่วนจะแสดงต่อด้วยการกรกะทำ หรือด้วยคำพูดเช่นไรนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งแม้หากว่าจะแสดงกันอย่างนั้น แต่ก็ทำไปด้วยความจำเป็นตามมารยาทแบบเสียไม่ได้หรือถูกบังคับให้ทำโดยที่ใจมิได้ยินดีด้วยเลย การแสดงออกเช่นนั้น ก็หาจัดว่าเป็นการแสดงมุทิตาจิตไม่ เพระใจไม่ได้เกิดมุทิตาด้วยเลย

อรติ เป็นคำที่มีความหมายตรงข้ามกับ มุทิตา และคนที่จะเกิดมุทิตาจิตได้ ต้องกำจัดอารมณ์ในใจอันหนึ่งคือ อรติ เพราะความหมายคือ ความไม่พอใจเพราะเกิดความอิจฉาริษยา เกิดความไม่ยินดี อรตินี้เป็นศัตรูกับ มุทิตา โดยตรง และมักจะเคลือบแฝงอยู่ในจิตของทุกคน..ผมมองว่า..มนุษย์ ปุถุชนทุกคน มี อรติ อยู่ในใจ   มันทำให้การทำงานร่วมกันของทุกองค์กรมีปัญหา  มีความวุ่นวายเกิดขึ้น เพราะกิเลสตัวนี้ เป็นกิเลสที่บังใจ บังปัญญา และบังความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทำให้มองไม่เห็นความดีของใคร.......มองโลกแง่ร้าย....มองแต่ส่วนเลวของคนทุกคน ยกตนเป็นผู้ที่อยู่สูงกว่า.....บุคคลกลุ่มนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า น่าสงสารนัก.....ถ้าเป็นวงการแพทย์ปัจจุบันลงความเห็นว่า เป็นผู้ป่วย ต้องได้รับการรักษาด้วยธรรมะอย่างเร่งด่วน.......ถ้าหมอลักษณ์ ทำนาย ก็ต้อง ฟันธง  ว่า บุคคลที่มี อรติ  อยู่ในจิตใจ  ชีวิตมีแต่ความทุกข์ยาก ไม่มีเพื่อนแท้ ชีวิตบั้นปลายมักอยู่ตัวคนเดียว...........ทำลายตัวเอง  ทำลายสังคม  ทำลายโลก   ดังคำที่ว่า  อรติ  โลกนาสิกา  ความริษยาเป็นตัวทำลายโลก..............

ผม...เห็นพี่ ๆที่ประสบความสำเร็จในชีวิตราชการ เพราะพี่ได้ทำหน้าที่ ด้วยความรับผิดชอบ  รักษาเนื้อรักษาตัว มุ่งประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม.......เพราะใครก็แล้วแต่ที่ประพฤติตรงข้ามที่กล่าวมาแล้ว ย่อมจะชกไม่ครบยก........ส่วนตัวผมเองนั้นๆ  ก็ยังนึกอยู่ในใจเหมือนกันว่า  ....กว่าเราจะถึงวันนั้น ก็อีก 15 ปี.....มันช่างยาวนานจริงๆ..........โอกาสพลาดโดนไล่ลงจากเวทีก็สูง...........ดังนั้นเราต้องไม่ประมาท เพราะพระท่านว่าอัปมาโทมัจชุโนปะทัง ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย   ...ขอให้พี่ๆ ที่ครบวาระเกษียณอายุทุกคน...จงมีความสุขความเจริญ  ในชีวิตบั้นปลาย.....คิดสิ่งใดสมปรารถนา และสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย........รักจัง......... 
หมายเลขบันทึก: 48053เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2006 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมได้ความรู้จากบันทึกนี้ โดยเฉพาะศัพท์ใหม่ๆครับ

คำว่า "อรติ" ปกติเราจะคุ้นชินกับ "อคติ" / "มิจฉาทิฐิ" ความหมายดูจะใกล้เคียงกันนะครับ 

ขอบคุณครับ ลุงปลา 

ผมกำลังสับสนในเรื่องความหมายของคำว่า"มุทิตาจิต" เพราะมีบางท่านบอกว่า "มุทิตา" หมายถึงความชื่นชมยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี เช่นได้รับตำแหน่งสูงขึ้นฯ

ดังนั้น การที่ผู้เกษียณอายุจากการทำงานไม่น่าจะแสดงความชื่นชมยินดี ด้วยคำว่า"มุทิตาจิต" ช่วยให้ความกระจ่ายหน่อยครับ ขอบคุณครับ

เป็นความรู้ดีจริง ๆ กำลังอยากรู้ความหมาย ขอบคุณนะคับ

ที่ช่วยผู้น้อยได้เรียนรู้บ้าง

ดีจริง....ในที่สุดเราก็ได้รู้แล้วว่า มุทิตา หมายความว่าอะไร... แต่ไม่น่าจะเกี่ยวกับการเกษียณอายุงานอ่ะ

ขอบคุณครับ...

มุฑิตาเป็นพรหมวิหารของผู้ครองตน เป็นธรรมของผู้เป็นใหญ่ จึงทำให้สามารถปกครองบริวารได้

ถ้าจะใช้คำนี้ผมคิดว่า น่าจะเป็นการแสดงเวลาที่เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น หรือเวลาที่เพื่อนหรือลูกน้อง

ได้ดิบได้ดี

ถ้าใช้กับตอนเกษียณอายุ จะเป็นการประชดมากกว่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท