ไม่มี “การบ้าน” ก็ไม่มี “ม.ชีวิต”


"เรียนโดยเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง ดังนั้น เรียนอะไรก็ต้องบูรณาการกับชีวิตและหรือชุมชนเสมอ"

นักศึกษาในโครงการ ม.ชีวิต สะท้อนว่า "การบ้านเยอะจัง" ผมได้ตอบไป ดังนี้

๑. การบ้าน” กับ “ม.ชีวิต” เป็นของคู่กัน หรือพูดให้สุดๆ ไปเลยได้ว่า ไม่มี “การบ้าน” ก็ไม่มี “ม.ชีวิต”  และ ต้องมีการบ้านในทุกเรื่องทุกเรื่องที่เรียนด้วย   คำว่าเรื่องนี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกว่า “วิชา” นั่นเอง เช่น การวางเป้าหมายและแผนชีวิต กระบวนทัศน์พัฒนา เศรษฐกิจพอเพียง แผนแม่บทชุมชน วิสาหกิจชุมชน ฯลฯ ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าเรา เรียนโดย "เอาชีวิตเป็นตัวตั้ง" ดังนั้น เรียนอะไรก็ต้องบูรณาการกับชีวิตและหรือชุมชนเสมอ (วิชาศึกษาทั่วไปเน้นบูรณาการกับชีวิตเป็นหลัก วิชาเฉพาะสาขาเน้นบูรณาการกับชุมชนเป็นหลัก)
 
๒. วิธีแก้ทางด้านนักศึกษา ก็ต้องจัดสรรเวลาในชีวิตใหม่ จากการมีบทบาทใหม่เพิ่มขึ้นในชีวิต คือ นอกจากเป็นพ่อแม่ เป็นคนทำงาน เป็นสมาชิกชุมชนแล้ว ยังเป็น "นักศึกษา" เพิ่มเข้ามาอีกบทบาทหนึ่งด้วย   นศ.เรียนมาระยะหนึ่งจะเข้าใจว่าเราไม่เหมือน บางมหาวิทยาลัยที่ไม่มีการบ้าน เนื่องจากมหาวิทยาลัยเหล่านั้นเรียนแบบเอาวิชาเป็นตัวตั้ง
 
๓. วิธีแก้ทางด้านอาจารย์ ก็ต้องพยายาม "เอาชีวิตและชุมชนเป็นตัวตั้ง" และเอาหลายๆ วิชาในภาคเรียนนั้นๆ มาบูรณาการ "ลงไป" ในชีวิตและชุมชนให้ได้ หากทำได้ก็จะสามารถลด "การบ้าน" ที่ นศ.ต้องทำหลายๆ ชิ้นลงได้ (งานแต่ละชิ้นนำไปให้คะแนนได้หลายวิชา) และยังเป็นการแสดงถึงความสามารถในบูรณาการกับชีวิต การงาน และชุมชน ได้จริงด้วย

สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์
๒๘ ก.พ.๒๕๕๕

หมายเลขบันทึก: 480399เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 08:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เริยน ท่านอาจารย์

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เรียนเพื่อชีวิต เพาะชีวิตสั้นนัก จังหวัดมุกดาหาร กำลังมีการจัดตั้ง เครื่อข่าย ม.ชีวิต เป็นอุดมศึกษาที่เรียนรู้จากชุมชน ชาวบ้านแตะต้องได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท