เหตุใดจึงควรยินดีในทุกข์?


พุทธศาสนาสอนเรื่องทุกข์เป็นหลัก
คำ "สุข" ปรากฏในพระไตรปิฎกน้อยแห่ง
สรุปลงตรงที่ นิพานํ ปรมํ สุขํ (นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง)

อริยสัจ (ความจริงอันยิ่งใหญ่) ๔ ก็เริ่มที่ทุกข์
พระพุทธองค์สอนให้เราไม่หนีทุกข์
แต่ให้เผชิญทุกข์อย่างตรงไปตรงมา
พิจารณาให้เห็นสภาพแห่งทุกข์เป็นเบื้องต้น
การเห็นทุกข์จึงเป็นประตูสู่การพ้นทุกข์
นอกจากทางประตูนี้แล้ว ไม่มีประตูอื่น

เราจึงควรยินดีที่ได้เห็นความทุกข์กายทุกข์ใจที่ปรากฏแก่เรา.

หมายเลขบันทึก: 480346เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

            ใครทะลุความทุกข์บุกพ้นผ่าน

             ประสบการณ์เติมเต็มความเข้มแข็ง

             นำมาตีเป็นค่าราคาแพง

              เพราะรู้แจ้งเห็นจริงสิ่งเป็นทุกข์

ขอบคุณสำหรับร้อยกรองดีๆ ที่เขียนตามความหมายของร้อยแก้ว

สวยงามมากครับ

ทุกข์กับสุขอยู่คู่กันไม่มีทุกข์ถาวรหรือสุขถาวร หรือ ความไม่เที่ยง และอนิจจังนั่นเอง การก้าวพ้นความทุกข์ได้ก็คือความสุขรออยู่จะจัดการทุกข์ได้ดีขึ้นอยู่กับใจที่เป็นต้นเหตุการเกิดทุกข์

เหตุที่ไม่ควรหนีทุกข์เพราะว่า ในกระบวนการทำงานของจิตมันจะมี ส่วนหนึ่งที่เรียกว่า เวทนา

แบ่งเป็น3 ภาวะ 1ทุกข์ 2 สุข 3 ไม่สุขไม่ทุกข์.........ส่วนมากมนุษย์จะรู้จักแค่ ภาวะ1 กับ2 น้อยคนนักที่จะรู้ว่าภาวะที่ไม่สุขไมุุ่ทกข์นี่ก็คือภาวะหนึ่งเหมือนกัน โดย มีกฏอยู่คือภาวะทั้ง3ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน และเวลาเรารับรู้ เราจะรับรู้ได้ทีละอย่างจาก3อย่าง.......จากทั้ง3ภาวะนี้ โอกาสที่เราจะมีสติอยู่กับตัวเองหรือธรรมะมากสุดคือภาวะ ทุกข์ เพราะว่า ภาวะสุข เราจะหลงไปกับสิ่งภายนอกหรือสิ่งที่เรารับรู้ ส่วนข้อ3 ภาวะไม่สุขไม่ทุกข์ไม่ต้องพูดถึง เข้าใจได้ยากมากถึงบางทีมีคนมาบอกก็ยังแทบไม่น่าเชื่อ ว่า ภาวะนี้ เป็นเวทนาด้วย ดังนั้น 2 กับ3 ตัดออกไปได้เลย สำหรับมือใหม่.....สังเกตง่ายๆเวลาเราทุกข์เราจะรู้สึกเรามีชีวิต อยู่กับตัวเองจริงๆ ถ้าเราทบทวน พิจารณาตัวขณะนั้นเราก็จะเข้าใจตัวเอง เข้าใจธรรมะ.............พอหมดทุกข์ เราก็มา หลงกับภาวะ 2 3 ต่อ


ติลักขณาทิคาถา

เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาแสดงพระไตรลักษณ์เป็นเบื้องต้น­เถิด
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนห­ลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมห­มดจด

เมื่อใดบุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า, สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนห­ลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมห­มดจด
เมื่อใดบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า, ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ ที่ตนหลง,
นั่นแหละเป็นทางแห่งพระนิพพานอันเป็นธรรมห­มดจด
ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย, ผู้ที่ถึงฝั่งแห่งพระนิพพานมีน้อยนัก
หมู่มนุษย์นอกนั้นย่อมวิ่งเลาะอยู่ตามฝั่ง­ในนี่เอง
ก็ชนเหล่าใดประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่ต­รัสรู้ไว้ชอบแล้ว
ชนเหล่าใดจักถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน, ข้ามพ้นบ่วงแห่งมัจจุราชที่ข้ามได้ยากนัก
จงเป็นบัณฑิตละธรรมดำเสีย, แล้วเจริญธรรมขาว
จงมาถึงที่ไม่มีน้ำ, จากที่มีน้ำ, จงละกามเสีย, เป็นผู้ไม่มีความกังวล,
จงยินดีเฉพาะต่อพระนิพพาน, อันเป็นที่สงัดซึ่งสัตว์ยินดีได้โดยยาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท