ความเข้าใจเรื่อง นวัตกรรม กับ คลื่นลูกต่างๆของโลก


เปลือย นวัตกรรม : 6 คลื่น

ตอนที่ 1

คำนำ : เปลือย นวัตกรรม

ปัจจุบันคำว่า นวัตกรรม มักจะถูกนำมาใช้กันเป็นจำนวนมาก และแถบในวงการทุกด้าน ทำให้เกิดความคิด และความเข้าใจที่หลากหลายกันไป ผู้เขียนในตอนนี้ต้องการนำเสนอรากเหง้า และที่มาที่ไปของคำว่า "นวัตกรรม หรือ INNOVATION" ที่แท้จริงนั้นคืออย่างไร โดยเฉพาะหากเรามอง บริบทที่กว้างมากขึ้นไปจนถึง ระดับ อารยะธรรมของโลก และคลื่นลูกต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆ(TIME-LINE) นั้นจะพบว่ามีอิทธิพลที่กระทบ ต่อประเทศไทยอย่างมากที่เดียว

ก่อนจะเข้าสู่ การเปลือย นวัตกรรม ควรมองภาพภาพของคลื่นลูกต่างๆ ทั้ง 6 คลื่น ดังนี้

คลื่นลูกที่หนึ่ง อัลวิน ทอฟเลอร์ เรียกว่า ยุคเกษตรกรรม -- สังคมมีผู้แพ้-ชนะ ประเทศมีประเทศชนะ - แพ้ ประเทศที่ชนะเป็นมหาอำนาจ

ปัจจัยแห่งยุคที่สำคัญ คือ ที่ดิน Land

ใครมีที่ดินเยอะ ได้เปรียบเป็นหัวหน้า เป็นมหาอำนาจ

เป็นนักรบ (ทหารเป็นนายก)

คลื่นลูกที่สอง สังคมทุนอุตสาหกรรม จากเจมส์ วัตต์ ที่คิดเครื่องจักรไอน้ำได้ เกิดเครื่องจักรกลอุตสาหกรรม รถไฟ ทุน (เครื่องจักร/วัตถุดิบในการผลิต) Capital

ใครเข้าถึงทุนก่อน ชนะ

อังกฤษ นายทุนอยู่หน้า ทหารอยู่หลัง

คลื่นลูกที่สาม สังคมข้อมูลข่าวสาร ไอที คอมพิวเตอร์ ข้อมูลทรงพลังยิ่งกว่าทุน

ปัจจัยคือ ข้อมูล

คลื่นลูกที่สี่ คือ สังคมความรู้ เครื่องมือ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้ความรู้เป็นเบื้องลึกและกระจาย ใครเป็นเข้าถึง คลื่นนี้ก่อน ชนะก่อน เช่น สิงคโปร์ (ลี กวนยู) เป็นคนดี เป็นคนเก่ง เป็นคนคลื่นลูกที่สี่ ถ้าให้คนคลื่นลูกที่สี่นำในทุกองค์กร -- ราชการ --เอกชน -- สังคม --- ประเทศจะพัฒนามากมาย --- ต้องทำให้ไปถึงคลื่นลูกที่สี่โดยเร็ว

สัญลักษณ์สังคมคลื่นลูกที่สี่ คือ มหาวิทยาลัยที่เป็นสังคมความรู้

คลื่นลูกที่ห้า คือ สังคมแห่งปัญญา หรือที่ เรียกว่า “ปราชญสังคม” เป็นยุคของนักคิด การบูรณาการความรู้และใช้ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สังคมใดสามารถพาตนสู่การเป็นปราชญสังคมได้สำเร็จ สังคมนั้นจะอยู่ต้นแถวของโลก

คลื่นลูกที่หก การตีภาพใหญ่ให้ออก - ภาพใหญ่ของการผลิตของมนุษย์ รมต.สิงคโปร์ พูดว่า - สิงคโปร์กลัวมากเลย ถ้าไม่ปรับปรุงคนในประเทศอนาคตอาจจะสิ้นชาติได้

แล้ว ประเทศไทย ยังอยู่ในคลื่นลูกที่ ???

ใครสามารถที่ขี่ยอดคลื่น ทรงพลังจะเป็นผู้ชนะ

ข้อมูลบางส่วนอ้างอิง

จากการบรรยายโดย ศ. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอก



หมายเลขบันทึก: 480053เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012 17:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กรกฎาคม 2015 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บทความตอนที่ 2 และ 3 จะลงในเร็วๆนี้น่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท