การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน (2)


การจัดการเรียนรู้ที่ไร้กระบวนยุทธ์แต่ก็สุดประทับใจ

หลังจากที่เครือข่ายท่าศาลา - นบพิตำของเราเริ่มนำวิธีการจัดกระบวนการ การเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน (context based learning=CBL) มาใช้่ ในการพัฒนาระบบงานหรือพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในเครือข่าย เราก็เริ่มเห็นถึงความแตกต่างของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บริบทเป็นฐานกับการประชุมวิชาการ หรือการบรรยายในห้องประชุมเหมือนดังที่ผ่านๆมา ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานนั้น ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งด้านเอกสาร แบบฟอร์ม ข้อมูลข่าวสาร วิชาการ กลวิธีในการทำงาน มุมมองหรือทัศนคติของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 

2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน สามารถพัฒนาทักษะของเจ้าหน้าที่ในด้าน การพูด การฟัง การแสดงความคิดเห็น ทักษะการฝึกปฏิบัติ การเล่าเรื่อง แทนที่จะนั่งฟังความรู้ด้านวิชาการจากวิทยากรเพียงอย่างเดียว

3. การจัุดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนางานในเชิงระบบ เช่น จากการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย สามารถนำไปสู่การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการ เอกสาร แบบฟอร์ม ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินงานเยี่ยมบ้านในแต่ละสถานบริการ และนำไปสู่การพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านของเครือข่ายบริการสุขภาพได้

4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม เกิดสุนทรียสนทนา และเป็นการกระชับความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ในเครือข่ายให้มากยิ่งขึ้น

5. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน สามารถจัดวิธีการเรียนรู้ได้หลากหลายวิธีการ หลายสถานที่ และหลายเทคนิค ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่รู้สึกเบื่อหน่าย 

6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้เป็นผู้ใฝ่รู้ ใฝ่หา ผ่านระบบประสาทสัมผัส คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เนื่องจาก การได้เห็นได้ดูจาก case จริงสถานที่จริง ได้สอบถาม/สัมภาษณ์ ได้วางแผนการดูแล การฝึกปฏิบัติ กับผู้ป่วยจริง และการเสริมความรู้ทางด้านวิชาการจากแพทย์หรือวิทยากรกลุ่มอีกด้วย

7. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เป็นวิธีการจัดการความรู้ที่สามารถกระทำได้ในทุกสถานที่ ทุกสถานการณ์ ไม่มีข้อกำหนดตายตัว ผู้จัดการเรียนรู้จึงสามารถนำไปประยุกต์ได้ โดยใช้กระบวนยุทธ์ที่เหมาะสมกับบริบทของตนเอง

         ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านอาจจะเคยจัดการเรียนรู้แบบนี้มาแล้วแต่อาจจะเรียกวิธีการจัดการความรู้ที่แตกต่างกันไปจากนี้ เช่น KM, inservice training,case conference หรือการใช้หลายๆวิธีการรวมกัน ซึ่งก็แล้วแต่กลยุทธ์ของแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงาน แต่คิดว่าสิ่งสำคัญที่เหมือนกันก็คือการคำนึงถึงประโยชน์ หรือสิ่งที่จะได้รับจากการจัดการเรียนรู้ว่าตรงหรือสอดคล้องกับความต้องการของทั้งผู้เรียนรู้และผู้จัดการเรียนรู้หรือไม่

หมายเลขบันทึก: 480013เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2012 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณสำหรับการไปเยี่ยมชมที่ "โคกเพชรสรรพวิชช์"
  • การเรียนรู้แบบ context based learning=CBL น่าสนใจมาก
  • และการเรียนรู้การปลูกผักในแบบของโคกเพชร คงเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้แบบ CBL ได้นะครับ
  • เพราะมีบริบทที่เกี่ยวข้องมากมายเป็นฐาน
  • เช่น ชุมชนเป็นชุมชนกสิกรรม แต่ปลูกพืชปลอดสารพิษไม่เป็น
  • เด็กไม่ค่อยชอบทานผัก เพราะผู้ปกครองไม่ฝึกให้ทาน (ผู้ปกครองก็ไม่ชอบทานผัก) ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและเรียนรู้ช้าของเด็กอย่างเห็นได้ชัด
  • โครงการอาหารกลางวันต้องทำอาหารทุกวัน ก่อนนี้ส่วนใหญ่ซื้อผักจากตลาด
  • เด็กควรได้รับการกล่อมเกลาและเร่งเร้ารอยหยักในสมอง ผ่านกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดการลุ้นและเฝ้ารอ (รอลุ้นดูผลผลิตเจริญเติบโตและขายได้ตังค์)
  • เด็กๆควรได้เรียนรู้อย่างเข้าถึงความจริง และเห็นคุณประโยชน์ของเศษวัสดุในท้องถิ่น
  • เด็กๆควรได้ฝึกคุณธรรมจริยธรรมความมีน้ำใจและอื่นๆ ผ่านกิจกรรมที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
  • ฯลฯ
  • ขอบคุณมาก
  • สวัสดีครับ

องค์ความรู้แน่นปึ๊กเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท