การเลี้ยงไก่ประดู่หางดำสำหรับเกษตรกรรายย่อยให้ยั่งยืนจะเป็นไปได้ไหม?


จะทำอย่างไรให้เกษตรกรที่สงทุนเลี้ยงมีรายได้ต่อเนื่องยังยืนตลอดไปไม่คิดจะเลิกเลี้ยง กลางครัน

ผมส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงไก่พันธุ์ประดูหางดำเชียงใหม่1ไปแล้ว กำลังคิดอยู่ว่าจะทำอย่างไรให้เกษตรกรที่สงทุนเลี้ยงมีรายได้ต่อเนื่องยังยืนตลอดไปไม่คิดจะเลิกเลี้ยง กลางครัน คิดไปต่างๆนาๆหาข้อมูลจากงานวิจัยของหลายๆท่านในกรมปศุสัตว์ ก็มีแต่วิชาการที่ทดลองทำแล้วบอกได้เลยว่าเลี้ยงแบบนี้แล้วอยู่ได้  

พันธุ์ไม่มีปัญหาผมหามาให้แล้ว 

การเลี้ยงการจัดการไม่แน่ใจแต่ทุกคนผ่านการอบรมเรียนรู้มาหลายรอบ น่าจะผ่านเกินครึ่ง

การตลาดตอนนี้ยังราคาดี ไม่แน่อนาคตเ่อกันเลี้ยงมากๆจะตันไหม?

การจัดการกลุ่มให้มีความรักสามัคคีร่วมใจกันสร้างผลผลิตต่อเนื่องสู่ลูกค้า ต้องสร้างอีกนานกลัวจะกลายเป็นกลุ้ม

มีใครพอช่วยแนะนำหน่อยท่าจะดี

สู้ๆๆ 

ออกพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรกันดีกว่า


เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ หลังพักเที่ยงได้แวะเยี่ยมบ้านอาสาปศุสัตว์บ้านห้วยหมากเอียก นายบุญทวี วงค์พระเลื่อน  ซึ่งเคยรับชื้อไก่ประดูหางดำไปเลี้ยงปีที่แล้ว ตอนนี้แม่ไก่ที่คัดเลี้ยงไว้ ๔ ตัวกับพ่อไก่ ๑ ตัวเริ่มออกไข่ ชุดที่ ๒ แล้วหลังจาก พักรุ่นแรกออกมาแล้ว นายบุญทวีเล่าว่าลูกไก่ที่ฟักออกมาตัวโตเร็วดี น่าจะขายได้เร็วขึ้น  ได้แนะนำว่าถ้าจะให้ดีควรเพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธ์ให้มากกว่านี้เพราะยังมีบริเวณเลี้ยงอยู่พอสมควร ความพร้อมเรื่องอาหารการจัดการก็ดีพอไปได้อยู่แล้ว

 ไก่ประดู๋หางดำที่นำเข้ามาเลี้ยงต้นปี๒๕๕๔ ออกไข่ ๒ ครั้งแล้ว(นำมาจากฟาร์มนายซิมโอน สันทรายเชียงใหม่)

 ไข่ที่กำลังออกใหม่
ลูกรุ่นแรกที่กำลังได้ประมาณ ๑ เดือน ยังมีปนไก่สายพันธุ์พื้นเมืองอื่นด้วยได้แนะนำให้คัดพ่อที่ไม่ใช่ประดู่หางดำออกจะได้ลูกไก่ประดูหางดำตามที่ต้องการ พร้อมให้กำลังใจในการเลี้ยงต่อไป


หมายเลขบันทึก: 479969เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2012 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท