ชีวิตที่พอเพียง : ๑๕๐๒. เก็บเอกสารมาเคี้ยวเอื้องที่บ้าน



          ในการประชุม PMAC 2012ผมเก็บเอกสารจากนิทรรศการต่างๆ ไว้ ตั้งใจจะเอาขึ้นไปอ่านที่ห้องพัก   แต่ไม่มีโอกาสอ่าน   จึงหอบต่อเอามาอ่านที่บ้าน   พบเอกสารของ China Medical Boardจึงได้มีโอกาสเรียนรู้ว่าเวลานี้ CMB ทำอะไรบ้าง    งานหนึ่งคือ Healthspace Asiaซึ่ง อ. หมอปิยะ แห่งจุฬาฯ บอกว่าต้องการทำคล้ายๆ Gotoknow ผมจึงให้คำแนะนำวิธีสร้างความสนใจฮือฮา ดึงดูดให้คนจำนวนหนึ่งเขียนบันทึกเพื่อ ลปรร.

          ที่จริง CMB มีบุญคุณต่อชีวิตผมมาก   เพราะที่ผมไปเรียนต่อด้านมนุษยพันธุศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๑๑ เป็นเวลา ๑ ปี ก็ด้วยทุน CMB นี่แหละ   โดย อ. หมอประเวศเป็นคนขอทุนให้

          ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งคือ eHealthซึ่ง IDRCบอกว่าเขาสนับสนุนแต่ที่น่าสนใจมากเป็นกิจกรรมของ GIZ ที่ใช้ ICT เป็นเครื่องมือสร้างระบบประกันสุขภาพให้แก่คนจนในอินเดีย   อ่านรายละเอียดได้ที่ http://www.german-practice-collection.org/นอกจากนั้น GIZ ยังได้ร่วมมือกับรัฐบาลเนปาลในการประเมินระบบสุขภาพของประเทศเนปาล อ่านรายงานได้ที่นี่

          เรื่อง eHealth นี้ นิตยสาร Bloomberg Businessweek ฉบับวันที่ ๓๐ ม.ค.๕๕ ลงบทความโฆษณาของบริษัท Verizon Mobilizing Health Care : The new digital health care platform from Verizon will utilize technology to improve the care relationship for both patients and providers ให้เห็นว่าโลกยังนำเอาพลัง ไอซีที มาใช้ประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพน้อยไป   พูดใหม่ว่ายังมีโอกาสที่จะพัฒนารูปแบบการใช้ ICT เพื่อช่วยให้การดูแลสุขภาพดีขึ้นได้มากมาย

          เอกสาร Capacity building program on Universal Health Coverageแสดงศักยภาพของประเทศไทย ที่จะให้บริการฝึกอบรมแก่ประเทศอื่นได้ โดย RF จะเป็นสปอนเซอร์   น่าภาคภูมิใจมาก   แต่น่าเสียดายที่การโฆษณาหลักสูตรนี้บนเว็บไซต์ขององค์กรภาคีไม่ดี ค้นไม่พบ   ที่ค้นพบบนเว็บไซต์ของ สปสช. ก็ไม่มีรายละเอียดเพียงพอ

          ยิ่งเอกสาร “UHC : an achievable goal by countries at all income level – experience from Thailand” ยิ่งน่าภาคภูมิใจ   ทั้งในผลงานระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้า และทั้งความสามารถในการทำเอกสารสรุปที่มีคุณภาพสูงมาก   แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้เอาขึ้นเว็บให้ค้นได้จากทั่วโลก   สาระที่สำคัญยิ่งคือ ระบบคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าคือเครื่องมือลดความยากจนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง    และเป็นเครื่องมือพื้นฐานของการพัฒนาประเทศ   ไม่ว่าประเทศจะยากจนอย่างไรก็ต้องจัดให้มีระบบนี้ เพื่อลดความยากจนลงไป   อ่านเอกสารชิ้นนี้ได้ที่นี่

          หน่วยงานที่ผมแปลกใจที่เขาแข็งขันกับการส่งเสริม UHC มากคือ World Bank กับ JICA ธนาคารโลกมีโปรแกรม UNICO – The Universal Coverage Challenge Program   และในงาน PMAC 2012 ก็ได้จัดประชุม Side Meeting ร่วมกับ JICA แนะนำโครงการนี้ อ่านได้ที่นี่

          JICA แจกเอกสารแผ่นพับ ๔ หน้าที่น่าอ่านมาก แสดงความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อโลกตาม Millennium Development Goals   เอกสารนี้ชื่อ JICA’s Approach to the Millennium Development Goals : For inclusive and dynamic development   แต่เมื่อเอาชื่อเอกสารไปค้นกลับได้เอกสารฉบับเต็ม อ่านได้ที่นี่

          เอกสารอีกชุดหนึ่งที่น่าอ่านคือ ‘Good health at low cost’ 25 years on. What makes an effective health systems?    ทั้งในเชิงสาระและเป็นตัวอย่างของเอกสาร policy brief ชั้นเยี่ยม  ในเชิงสาระเอกสารนี้บอก เคล็ดลับของการบรรลุการคุ้มครองสุขภาพถ้วนหน้าด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่แพง 

          แน่นอนว่าองค์กรสำคัญที่สุดที่มาจัดนิทรรศการในงานคือ WHO   เอกสาร Health Systems Financing : The Path to Universal Coverage. Plan of Action ผมค้นได้ PowerPoint เรื่องเดียวกัน อ่านได้ที่นี่  และทำให้ได้เข้าใจว่าการประชุมครั้งนี้ เน้นที่ Health Financing มากคงเพื่อให้สอดคล้องกับ World Health Report 2010 : Health Systems Financing. The Path to Universal Coverage

 

วิจารณ์ พานิช
๓ ก.พ. ๕๕

หมายเลขบันทึก: 479834เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2012 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบพระคุณค่ะสำหรับเอกสารดีๆ ชอบคำว่า"เก็บเอกสารมาเคี้ยวเอื้องที่บ้าน"

ให้ความรู้สึกว่าเป็นการอ่านอย่างระมัดระวังพินิจพิเคราะห์ แฝงอารมณ์ขันดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท