รถยนต์


ติดแก๊สรถยนต์ ตอนที่ 1

ขั้นตอนการคิดติดแก๊สรถยนต์ 

-ควรศึกษาหาข้อมูลว่ารถยนต์ที่เราขับขี่อยู่เหมาะกับการติดแก๊สประเภทไหน LPG หรือ NGV

-ทางที่เราขับขี่นั้น มีปั้มเติมแก๊สอะไรมากกว่ากัน ส่วนใหญ่แล้วปั้ม LPG จะมีมากกว่า ราคาก็ดูจะไม่ต่างกันมาก

-จะติดถังขนาดเท่าไร (กี่ลิตร) แบบไหน (โดนัท หรือ แคปซูล) ถังแต่ละแบบก็มีประโยชน์แตกต่างกันไป เช่น

ถังโดนัทจะวางในตำแหน่งยางอะไหล่ทำให้พื้นที่ห้องสัมภาระเดิมไม่เสีย แต่ไม่มียางอะไหล่อยู่ในรถยนต์เหมือนเดิมก็เท่านั้น แต่หากติดแคปซุลยางอะไหล่ยังอยู่ที่เดิมแต่พื้นที่วางสัมภาระหลังรถยนต์จะน้อยลง ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าชอบแบบไหน และหาอ่านเพิ่มเติมได้มากมายใน net

ราคาแตกต่างกันแน่นอน โดย+เพิ่มจากราคาแคปซูลประมาณ 9,000 บาท หรือสูงกว่า 2-3 เท่า (เทียบความจุเท่ากัน)

-การเลือกร้านติดแก๊ส บริการหลังการขายเป็นเรื่องสำคัญ หากมีปัญหาสามารถติดต่อได้ตลอดเวลาหรือไม่ ส่วนใหญ่เลือกติดร้านไหนต้องกลับไปให้ร้านนั้นๆ ดูเหมือนเดิม(จากข้อมูลที่อ่านมา) แบบว่าระยะยาว

-หลังติดตั้งแล้วต้องมีใบรับรองการติดตั้งจากวิศวกรและนำไปติดต่อสำนักงานขนส่งจังหวัดภายใน 15 วันหลังติดตั้ง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน และสำเนาจดทะเบียนรถยนต์/สมุดทะเบียนรถยนต์ เพื่อแจ้งเปลี่ยนเป็นประเภทรถติดแก๊ส (หากทำประกันรถยนต์ต้องแจ้งแสดงใบนี้เพิ่มเติมด้วย) อย่าลืมสำเนาใบรับรองวิศวกรเก็บไว้ด้วย 1 ชุด เพราะตัวจริงสำนักงานขนส่งจะเก็บไป

-การเข้ารับบริการ กรอกรายละเอียดในใบที่ได้รับจากอู่/ศูนย์ที่ติดตั้ง ขับรถเข้าช่องตรวจสภาพรถยนต์ เจ้าหน้าที่จะขูดเลขตัวถังแก๊ส และเลขเครื่องยนต์บริเวณกระจังหน้ารถยนต์ (ดับเครื่องและเปิดฝากระโปรงหน้าและฝากระโปรงท้าย) ใช้เวลาตรวจไม่นานแต่รอนานมาก  จากนั้นกลับไปรับเอกสารจากเจ้าหน้าที่และเสียค่าบริการ 125 บาท ขับรถกลับบ้านได้

-การนำรถเชคระยะจะคล้ายกับรถยนต์จะมีกำหนดการนำเข้าที่ระยะ 1000 กมแรกหลังการติดตั้ง จากนั้นจะเชคทุก 20000 กม. จนครบ 100000 กม.

-ที่ถังแก๊สติดตัว MULTIVALVE  โดยประโยชน์ของอุปกรณ์ชนิดนี้คือ ถ้าแกสรั่วจะปิดทันที  ถ้าความร้อนสูง จะตัดทันที ถ้ามีแรงกระแทกรุนแรง จะตัดทันทีเช่นกัน โดยถ้าต่อถูกต้องแกสที่รั่วจะ BLOW ออกทางท่อออกไปนอกรถ แกสทั้งหมดจะอยู่ในถังไม่สามารถไปไหนได้ ตัวที่ทําหน้าที่ตัดคือ SOLINOI VALVE กับ FUSIBLE PLUG

แนวคิดส่วนตัวและจากข้อมูลรอบตัว

1. ต้องมีคำว่า มอก 370 ที่ตัวถัง (ผ่านมาตรฐาน) ดูขนาดของถังได้ที่ข้างตัวถัง

2. การติดตั้งที่ดีต้องไม่มีการเจาะที่ตัวถังแก๊สเพื่อยึดเกาะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามรถที่เคยผ่านการติดแก๊สมาแล้วจะดูได้ไม่ยาก โดยจะมีรอยเจาะรูเพื่อวางถังแก๊สยึดกับตัวระบบแก๊สและตัวรถชัดเจน หากคาดการณ์ว่าจะ Turn รถอาจต้องคิดดีๆ เพราะราคาตกกว่ากันแน่นอน

3. ควรใช้สลับกันบ้างระหว่างน้ำมันและแก๊ส  จากข้อมูลที่อ่านมาก่อนเข้าบ้าน 1 กม. ควรปรับเป็นน้ำมันไม่แน่ใจว่าข้อมูลนี้ OK รึเปล่า รอหาข้อมูลเพิ่มเติม

4. คนที่ไม่ค่อยรู้ด้านระบบอิเลคทรอนิคส์มาก ก็ติดแบบหัวฉีดน่าจะปลอดภัยกว่า ส่วนใหญ่คนที่เลือกติดแบบ Mixer หรือแบบดูด มักจะรู้เรื่องเครื่องยนต์และเทคนิคต่างๆ ดี

5. แบบหัวฉีดใช้ง่าย เพียงสตาร์ทรถเหมือนปกติ (ขณะสตาร์ทใช้น้ำมัน) พอรอบเครื่องยนต์ได้ ความร้อนถึง ระบบก็จะตัดเป็นใช้แก๊สอัตโนมัติ หลังดับเครื่องยนต์ระบบหัวฉีดจะมีกล่องความจำ โดยจะจำการใช้งานล่าสุดก่อนรถยนต์ดับเครื่องว่าใช้น้ำมันหรือใช้แก๊ส  ดังนั้นในการสตาร์ทรถครั้งต่อไปก็จะยังคงเป็นคำสั่งเดิม 

6. ตำแหน่งที่เติมแก๊สจะอยู่ด้านใต้รถยนต์คนละด้านกับท่อไอเสีย ควรสังเกตุฝาปิดด้วย บางอู่/ศูนย์ติดตั้งไม่ได้มีสาย/สลิงยึดติดผาปิดไว้ จึงควรสังเกตุภายหลังเติมว่า เค้าปิดฝาให้เราเรียบร้อยดีหรือไม่เพราะผู้ที่เติมแก๊สให้บางคนละเลย วางฝากับพื้นแล้วลืมปิดก็มี เวลาเติมควรดับเครื่องและสังเกตุจอ Monitor แก็สเหมือนการเติมน้ำมันนั่นหล่ะค่ะ จำนวนลิตร  ราคากี่บาท/ลิตร  ราคากี่บาทที่เราเติม

7. ควรตรวจระบบน้ำหล่อเย็นสัปดาห์ละครั้ง (กรณีใช้งานปกติ)


ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลคร่าวๆ สำหรับผู้ที่ยังไม่มีข้อมูลและควรหาอ่านเพิ่มเติมเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

หมายเลขบันทึก: 479460เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2012 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 07:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท