การวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนปากพนัง (ชาย)


การวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้, โรงเรียนปากพนังชาย

สวัสดีครับเพื่อนครูทุกท่าน วันนี้ผมตั้งใจจะเอาผลการวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนปากพนังมานำเสนอนะครับ คิดเสียว่าเป็นการทดลองของครูที่สำนึกเตรียมตัวเตรียมใจอยู่เสมอว่าเป็นนักศึกษาฝึกวิชาชีพครูอยู่ตลอดมาครับ

การสำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กโรงเรียนปากพนัง

บทนำ

การสำรวจรูปแบบการเรียนรู้มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้จะช่วยให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลใน รูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้มีประโยชน์ต่อทั้งผู้เรียน และผู้สอน ในแง่การส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และการจัดการศึกษาได้อย่างประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังที่ไว้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 ในมาตรา 22 ไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และมาตราที่ 24 วรรค 1 ที่กล่าวว่า จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม 2545, ม.ป.ป.: 5) การวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติ เต็มตามศักยภาพของผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสนใจและและถนัดของผู้เรียนเป็นรายบุคคลโดยแท้

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ จะช่วยให้ผู้เรียนข้าใจตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างตนเอง และผู้อื่น และใช้ประโยชน์จาก ความรู้ความเข้าใจใน จุดเด่นของรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ของตน ไปให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อการเรียนทางวิชาการ การเรียนรู้ในสภาพการณ์ทั่วไป และการทำงานในอนาคตต่อไป พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขจุดอ่อนของตนในรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ที่ไม่เคยใช้หรือไม่ค่อยได้ใช้ให้แข็งแกร่งขึ้น เพื่อจะได้เป็นผู้มีรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้หลายรูปแบบ ซึ่งจะทำให้สามารถเลือกนำออกมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะถ้าผู้เรียนที่ยึดมั่นในการใช้รูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้แบบใดแบบหนึ่งเพียงรูปแบบเดียว ก็จะสามารถเรียนรู้ได้ดีเฉพาะในบางรายวิชาหรือบางสถานการณ์ ที่สอดคล้องกับการจัดการสอนเท่านั้น แต่ในบางรายวิชาหรือบางสถานการณ์ ที่ต้องการรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างออกไป ก็จะเกิดความรู้สึกยุ่งยากหรืออาจเป็นปัญหาการเรียนได้

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลในรูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้นักจิตวิทยา และนักการศึกษาเห็นถึงความจำเป็น ที่ผู้สอนจะต้องปรับสภาพการเรียนการสอน และกลวิธีการสอนให้เข้ากับลักษณะของผู้เรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน และช่วยให้ผู้เรียนบรรลุถึงจุดมุ่งหมายของการ โดยผู้สอนควรจะสร้างความสมดุลในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนทุกคน ด้วยการจัดรูปแบบการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย และยืดหยุ่น เพื่อสอดรับกับรูปแบบการเรียนของผู้เรียนที่แตกต่างกัน และช่วยให้นักศึกษามีทักษะในการใช้รูปแบบการคิด และรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนชอบมากกว่า และอีกทั้งจัดรูปแบบการเรียนการสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มทักษะการใช้รูปการเรียนที่ตนชอบน้อยกว่าให้สูงขึ้นด้วย โดยนัยนี้ในการจัดการเรียนการสอนในครั้งแรก ผุ้สอนจำเป็นต้องจัดเนื้อหาและวิธีการที่สอดคล้องกับผู้เรียนเป็นรายบุคคลเสียก่อน เมื่อผู้เรียนเกิดการประมวลผลและเข้าใจในสิ่งที่ผุ้สอนนำเสนอแล้ว จึงค่อยนำวิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียนไม่คุ้นเคย เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการทำงานด้วยรูปแบบต่างกันออกไป จะเป็นการเพิ่มพูนทักษะให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอีกโสดหนึ่งด้วย

แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เนื่องจากในการสำรวจครั้งเป็นการสำรวจเพื่อวางแนวทางในการสอน จึงไม่สุ่มตัวอย่าง แต่ใช้ทั้งประชากร ประชากรที่ใช้ก็คือนักเรียนห้อง 2/6, 2/7, 2/8, 2/10, 4/1 และ 4/7 จำนวน 238 คน

2. แบบการสำรวจใช้ของ BARSCH LEARNING STYLE REFERENCE FORM  ซึ่งพัฒนาโดย Ray Barsch แบบสำรวจนี้เป็นภาษาอังกฤษ ผู้สำรวจได้แปลงในบางข้อเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมของนักเรียนไทย

3. การวิเคราะห์ข้อมูลได้ค่าร้อยละ แยกไปตามลักษณะของรูปแบบการเรียนรู้ ตามวรรณกรรมที่ได้สำรวจไว้

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. รูปแบบการเรียนรู้เป็นข้อมูลดิบ

รูปแบบการเรียนรู้

ตา

หู

กาย

ตา/หู

ตา/กาย

หู/กาย

ตา/หู/กาย

รวม

ห้อง 2/6

14

12

5

8

1

5

0

45

ห้อง 2/7

8

13

9

7

1

5

1

44

ห้อง 2/8

5

12

10

4

0

6

0

37

ห้อง 2/10

14

15

1

9

2

2

0

43

ห้อง 4/1

13

10

8

4

2

1

1

39

ห้อง 4/7

12

6

3

4

0

4

1

30

รวม

66

68

36

36

6

23

3

238

จากตารางพบว่านักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ทางหูมีมากที่สุด รองรงมาคือทางตา ที่เป็นแบบผสมทั้ง 3 ส่วน กล่าวคือ ตา หู กาย มีน้อยที่สุด

2. รูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นค่าร้อยละ

รูปแบบการเรียนรู้

ตา

หู

กาย

ตา/หู

ตา/กาย

หู/กาย

ตา/หู/กาย

รวม

ห้อง 2/6

5.88

5.04

2.10

3.361

0.42

2.10

0

18.90

ห้อง 2/7

3.36

5.46

3.78

2.94

0.42

2.10

0.42

18.48

ห้อง 2/8

2.10

5.04

4.20

1.68

0

2.52

0

15.54

ห้อง 2/10

5.88

6.30

0.42

3.78

0.84

0.84

0

18.06

ห้อง 4/1

5.46

4.20

3.36

1.68

0.84

0.42

0.42

16.38

ห้อง 4/7

5.04

2.52

1.26

1.68

0

1.68

0.42

12.60

รวม

27.73

28.57

15.12

15.12

2.52

9.66

1.26

100

จากตารางพบว่านักเรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้ทางหูมีมากที่สุด ร้อยละ 28.57 รองรงมาคือทางตา ร้อยละ 27.73 ที่เป็นแบบผสมทั้ง 3 ส่วน กล่าวคือ ตา หู กาย มีน้อยที่สุดร้อยละ 1.26

การอภิปรายผล

                แนวทางในการจัดการเรียนการสอนจะเน้นผู้เรียนที่มีรูปแบบการเรียนรู้แบบทางหูเป็นหลัก รองลงมาทางตา เป็นที่น่าสังเกตในจำนวนนี้มีผู้เรียนที่มีลักษณะเรียนร่วมกันคือตาและหูถึงร้อยละ 15 ส่วนที่เป็นทางกายจะจัดเป็นอันดับสุดท้าย

หมายเลขบันทึก: 478711เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2012 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท