หัวใจไร้ประตู


วันนี้ขอเขียนเรื่องการพิจารณาจิต หัวข้อเริ่มต้นอาจฟังดูน่าเบื่อ และโอนเอียงไปในทางธรรมเสียหน่อย แต่การพิจารณาจิตตนเองนั้นไม่ใช่เพียงการทำสมาธิ วิปัสสนา หรือกำหนดจิตโดยการระลึกรู้ลมหายใจตามแนวทางพุทธเถรวาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ประสบการณ์การอยู่ร่วมภายใน Peace Village ทำให้เข้าใจได้ว่า ผู้ที่ระลึกรู้เท่าทันความคิดจิตใจตนเองนั้น จะมีกำลังกายใจและกำลังกายที่เข้มแข็งสามารถต่อสู้และฝ่าฟันกับอุปสรรคต่าง ๆ ได้มากกว่าผู้ที่ล่องลอยไปตามอารมณ์

การพิจารณาจิตในที่นี้หมายความถึง การรู้เท่าทันในอารมณ์ สังคม อันจะนำมาซึ่งปัญญา ขอยกตัวอย่างง่าย ๆ

  • อาสาสมัครคนหนึ่ง เธอมาจากประเทศฝั่งยุโรป เป็นอาสาสมัครคนแรกของ Peace Village ที่ต้องอยู่ร่วมกับอาสาสมัครชาวไทยประมาณสองสามคน โดยที่เธอเป็นชาวต่างชาติอยู่คนเดียว ด้วยทำเลที่ตั้งของศูนย์เรียนรู้นั้นค่อนข้างไกลจากเมือง การเดินทางเพื่อเข้าเมืองจึงเป็นเรื่องที่ต้องขึ้นอยู่กับตารางเวลาของรถโดยสารที่จะมีผ่านถี่เฉพาะเวลากลางวัน และความสงัดในยามกลางคืนของ Peace Village ที่ตั้งอยู่ในชนบทห่างไกลนั้น ผู้ที่มาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองย่อมรู้สึกเหงา และว้าเหว่บ้างเป็นธรรมดา แต่เธอก็สามารถทำงานเป็นอาสาสมัครสอนหนังสือภายในโรงเรียนประถมได้จนครบช่วงระยะเวลาที่สมัครมาคือสองเดือน โดยจัดการกับความเงียบเหงาวังเวง ด้วยการอ่านหนังสือ เขียนบันทึก เล่นเกม ไปตามเรื่องตามราว
  • ในขณะที่อาสาสมัครจากเทศฝั่งยุโรปอีกคนที่อายุน้อยกว่าราวห้าหกปี กลับไม่สามารถที่จะจัดการกับความเงียบเหงานี้ได้ เธอเลือกที่จะหยุดการเป็นอาสาสมัครกลางคัน ด้วยเหตุผลว่าที่นี่ห่างไกลเกินไป และไม่มีกิจกรรมใด ๆ ทำในช่วงเวลาก่อนเข้านอน ซึ่งหมายถึงเวลาสองถึงสามทุ่มเป็นต้นไป

การเปรียบเทียบอาสาสมัครสองคนนี้ไม่ได้ต้องการว่ากล่าวอาสาสมัครคนหลัง เพียงแต่วิธีการจัดการกับปัญหาหรือกับภาวะจิตใจของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน อาสาสมัครคนที่สองนั้น เมื่อกลับจากประเทศไทยแล้ว จะกลับไปศึกษาต่อด้านวิชาการแพทย์ ซึ่งเธอนั้นถือเป็นผู้ที่มีสติปัญญาระดับดีเยี่ยม ในขณะที่อาสาสมัครคนแรกเพิ่งเรียนจบ และยังไม่รู้ว่าจะหางานทำ หรือเรียนต่อ ยังคงสับสนในหนทางชีวิตที่จะดำเนินต่อไป จึงเลือกมาเป็นอาสาสมัครในต่างแดนเสียก่อน

ก่อนหน้านี้ที่ Peace Village มีน้ำท่วมบ่อยครั้งเพราะภูมิประเทศตั้งอยู่ที่ลุ่ม และเป็นเส้นทางน้ำไหลผ่านเดิม เมื่อฝนตกอาสาสมัครบางคนเลือกที่จะบ่นตลอดเวลา ว่าเสื้อผ้าของเธอจะเปียก และไม่สามารถที่จะทนอยู่กับสภาพอากาศเช่นนี้อีกต่อไปได้ จึงเลือกที่จะหยุดการทำงานอาสาสมัครและออกท่องเที่ยวในสถานที่อื่น ๆ ต่อไป

บางคนก็มีปัญหาผิดใจกับเพื่อนร่วมค่ายคนอื่น ๆ และเลือกที่จะไม่พูดคุยกันจนจบค่าย

การอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยปัญหามากมาย จึงทำให้เราต้องตั้งกฎ ตรากฎหมาย หรือสร้างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน ยิ่งการมาจากกฎ จากวัฒนธรรม ภาษา ค่านิยม ภูมิประเทศ หรือความคิดที่ต่างกันแล้ว ยิ่งเป็นเรื่องที่ต้องเปิดใจให้กว้างเป็นอย่างมาก หรืออาจพูดได้ว่า หัวใจไร้ประตูเลยก็ได้ (เพราะจะได้ไม่ต้องเปิด)

สุดท้ายก็ไม่มีทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน เพราะในแต่ละคน แต่ละสถานการณ์ย่อมต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน คนหนึ่งว่าดีเช่นนี้ คนหนึ่งว่าดีเช่นนั้น ต่างจิตต่างใจ ดีเพียงอย่างหนึ่งที่มาตั้งต้นเรียนรู้ความแตกต่างกันที่ Peace Village แห่งนี้ ไม่เช่นนั้น คงใช้ชีวิตธรรมดาในสังคมเดิม ๆ ไปในแต่ละวัน

หมายเลขบันทึก: 478179เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012 22:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 03:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นเช่นเดียวกับลูกสาวเธอไปอาสาสมัครหลายแห่งที่เมืองไทย และที่คอสตาริกาไปอยู่กับครอบครัวชาวบ้าน บ้านไม่ค่อยจะสอาด ชื้นๆ แต่ก็พออยู่ได้  เธอไปฝึกงานเมืองไทยอยู่หนึ่งปี  ตอนนี้กำลังเรียนหมอปีที่หนึ่งที่อเมริกาครับ  เหงาก็ต้องทน ส่งไปปฏิบัติธรรมที่เชียงใหม่ ก็ยอมไป  ถ้ารู้จักคุณจริญญาก่อนคงดี  จะได้ปรึกษาว่าจะให้ไปทำงานอาสาสมัครที่ไหน


After graduating college, I spent six months in Thailand, where I observed surgeons in Bangkok’s Police General Hospital. On the first day, my mentor, a colorectal surgeon, proudly held up his index finger to me with a grin. This finger was his most powerful tool, allowing him to discover enlarged prostates and malignant neoplasms, among other findings. He spent his days doing rectal exams and examining feces, cracking jokes such as “He’s got a pain in the ass” and “What a shitty situation!” Because he truly loved his profession, he was a great teacher. In the outpatient department, he showed me x-rays, beautiful, glowing bones radiating against darkness. I felt awe at both the majesty and science of the body. As he described patient diagnoses to me and allowed me to scrub in on surgeries, I witnessed the patients’ gratefulness to have such a proficient physician. I hoped that I would one day possess the skill to read and navigate the map of the body as deftly as he did.


While my time in the department of surgery bolstered my desire for professional medical training, I realized that for me, something was missing: this was not my complete picture of optimal healthcare. I had traveled to the Tibás, Costa Rica to work with a healthcare outreach team the summer before my junior year of college. Here, I had the opportunity to combine empathy with medical assistance. Focusing on local disease prevention and health promotion, we walked door to door around the neighborhood calling out, “¡Hola, es la clínca!” (Hello! It is the clinic!). Every day, I saw true poverty. One family of four lived in a house with walls of scrap metal and a floor of just earth. Inside homes, we updated charts and vaccinations, checked patient medications, and advised on routine preventative procedures. There was an intimacy and trust between healthcare giver and receiver, a silent resolve to help. Whether it was an elderly man with Parkinson’s disease or a single mom struggling to provide medications for her six children, I experienced the type of medicine that was most inspiring to me. I was actively delivering the very best care I could to those who needed it most.

   

Of the many faces that have reinforced my desire to be a caring and competent physician, the most moving have been those nearest to my heart. My travels to Thailand allowed me to spend time with my grandmother, who has end-stage Alzheimer’s disease. Though I stayed with her for months, she usually stared blankly at me when I asked her my name. The only thing she relished was playing cards, and at eighty-seven, she still won almost every round. Her health deteriorated before my eyes, and soon she lasted only two rounds before lying back again, exhausted. A Buddhist fundamental says everyone faces an inevitable cycle of birth, growth, pain, and death. This is a lesson that I will encounter in medicine every day. Yet, it is a physician’s responsibility to value each life until its end. Medical school will enable me to combine empathy with medical training to become a compassionate physician with skills and knowledge. While Alzheimer’s does not yet have a cure, I believe I helped my grandmother. Towards the end of my stay, I arrived at her bedside after spending those nine days away meditating, practicing my faith. Her eyes opened and shone with a clarity I had not seen in the months I was there. Holding up her hand to cup my cheek, she said my name. 


ขอบคุณน้ำใจคุณคนบ้านไกลและลูกสาว ที่ตั้งใจบินข้ามมหาสมุทรมาเป็นอาสาสมัครที่เมืองไทย ประสบการณ์ใครประสบการณ์มัน แม้จะเรียนรู้กันได้ และไม่ถึงใจเท่ามาประสบเอง จริงมั้ยคะ :)

น้องเกต....ที่รพ.มีความพร้อมที่จะให้น้องๆจากค่ายมาฝึกงานในปีนี้ หากมีก็ติดต่อมา จะประสานให้....

เจ้าเฎโตพอที่จะหยิบหนังสืออ่านให้ฟังหรือยัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท