สัปดาห์นี้มี 6 ประเด็น น่าสนใจ


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้ครับ

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

สัปดาห์นี้มี 6 ประเด็น น่าสนใจ (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 
เรื่องแรก ผมและคณะมีโอกาสไปกราบดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ในวาระขึ้นปีใหม่ 2555

ทุกๆปี ท่านได้ให้ความเห็นเรื่องต่างๆ มีประโยชน์มากมาย

แต่ปีนี้ คณะกรรมการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศก็จะถามท่านมากหน่อย เรื่องน้ำท่วมเป็นหลัก เช่น เหตุผลที่รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์

* ท่านตอบได้ว่า อะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ควรจะทำ

* และเหตุผลที่รัฐบาลขอปรึกษาท่านก็คือ โครงการพระราชดำริแก้น้ำท่วมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

* แต่ท่านก็เตือนรัฐบาลว่า อย่าอ้างว่าท่านไปช่วยเป็นที่ปรึกษาแล้วทุกอย่างจะเรียบร้อย

* งานส่วนใหญ่ รัฐบาลต้องรับผิดชอบเอง

สรุปได้ว่า การทำงานของรัฐบาลในเรื่องน้ำท่วม ยังช้าอยู่ ควรเร่งรัดให้เร็วกว่านี้

นอกจากนั้นยังพูดถึงเรื่อง การดำรงตนของท่านโดยใช้ธรรมะเป็นหลัก การรู้จักตัวเองและพยายามให้จิตแยกออกจากกายได้เป็นช่วงๆ

ผมต้องขอขอบคุณ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล มา ณ ที่นี้ ที่กรุณาให้เวลากับคณะกรรมการ 1 ชั่วโมงกว่า ทีมงานที่ไปด้วยได้ความรู้และประสบการณ์ที่มีค่ากว่าตำราเรียน

เรื่องที่ 2 คือ การประชุม Davos ในปีนี้มี 2 เรื่องใหญ่

เรื่องความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในโลกปัจจุบัน จะทำอย่างไร ความเหลื่อมล้ำจะค่อยๆหายไป

ปีนี้ Davos มีประเด็นพิเศษ เพราะ คุณยิ่งลักษณ์ไปร่วมประชุมด้วย

ตามปกติระดับนายกฯของประเทศต่างๆก็สามารถเข้าร่วมได้ เพราผู้จัดเชิญอยู่แล้ว

ประเด็นก็คือ แสดงฝีมือได้แค่ไหน? ประเทศไทยได้หรือเสีย เรื่องบุคลิก ความสวยการจัดแฟชั่นและการแต่งตัวได้ A

แต่การใช้ภาษาอังกฤษและการพูดโดยไม่ใช้ล่ามได้ F

เลยอยากให้ผู้อ่านของผมเป็นคนตัดสินว่า คุณยิ่งลักษณ์เป็นตัวแทนไทยได้ดีหรือเปล่า? เพราะไม่ไปก็ไม่เห็นเสียหายอะไร?

เมื่อไปแล้ว ทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานไม่ดีเพราะสื่อสารผิดๆ ก็ทำให้ชาติเสียหายได้

เรื่องที่ 3 ที่สำคัญคือ มีการชูประเด็นขึ้นมาว่า ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยของโลกที่เป็นๆอยู่จะยั่งยืนหรือไม่?

เพราะดูจากประชาธิปไตยและทุนนิยมที่ใช้อยู่ในอเมริกาและบางประเทศในยุโรปเห็นว่า การเลือกตั้งที่เป็นอยู่แบบเสรีไม่มีการแทรกแซงควบคุม อาจจะทำให้นักการเมืองไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤติระยะยาวได้

เช่น พอจะเลือกตั้งครั้งใหม่ ก็ไม่กล้าออกนโยบายที่กระทบฐานเสียง ถึงเอาใจผู้ลงคะแนนปล่อยให้ปัญหาหมักหมมและในที่สุดก็แก้ไม่ได้

เช่น ในสหรัฐฯ พรรค รีพลับรีกัน ไม่ต้องการให้

* บทบาทของรัฐมากเกินไป

* ไม่เก็บภาษีคนรวย

ซึ่งในความเป็นจริง บางครั้งรัฐบาลต้องมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอย่างในอเมริกา

หลักการคือ ประชาธิปไตยกับทุนนิยมไม่ควรให้มีความเหลื่อมล้ำมากเกินไป รวยล้นฟ้าเปรียบเทียบกับจนสุดขีด

* วิธีหนึ่งก็อาจจะเป็นแบบประเทศในสแกนดิเนเวีย เช่น นอร์เวย์ เดนมาร์ค สวีเดน คือ เก็บภาษีอัตราสูงมาก

* หรืออาจจะเป็นแบบจีนและเวียดนาม คือ มี 2 ระบบคือ การเมืองและเศรษฐกิจแยกกัน ท่านผู้อ่านก็ลองคิดดู อาจจะคิดถึงเมืองไทยด้วย ว่าวัฒนธรรมการเมืองไทยที่ถูกต้องเหมาะกับประเทศของเราคืออะไร? ไม่ใช่ไปลอกมาจากต่างประเทศ แต่ทฤษฏีถูกใช้ติดตามผิดพลาดมาจนถึงทุกวันนี้

เรื่องที่ 4 คือเรื่องน้ำปี 2555 รัฐบาลมักจะออกข่าวว่า เลือกแต่งตั้งคณะกรรมการ มีงบแล้ว 400,000 ล้าน ฉะนั้น ปี 2555 แก้ได้แน่นอน

คำตอบขณะนี้คือ รัฐบาลปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการทำประชาสัมพันธ์สูง แต่ความเป็นจริงคือ ปัญหาฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554 บางคนยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาทเลย ล่าช้ามาก

* ปัญหาที่นักลงทุนต่างประเทศก็ยังรออยู่ เพราะยังไม่แน่ใจนโยบายรัฐบาลจะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือ

* แต่ออกข่าวว่าปี 2555 เศรษฐกิจโต 5% เศรษฐกิจฟื้นแน่ๆ จริงหรือ?

* เงินที่เตรียมไว้เป็น โครงการใหญ่ กว่าจะทำสำเร็จก็ต้อง 2 – 3 ปี ไม่ทันปี 2555

* ถ้าฝนมามาก แบบปี 2554 ปี 2555 ปัญหาน้ำท่วมคงหนัก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศสัมภาษณ์คุณศรีรัตน์ รัษฐาปนะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อถ่ายทำรายการโทรทัศน์ในวันที่ 30 มกราคม 2555

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศนำคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯเข้าไปกราบดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในวาระขึ้นปีใหม่ 2555 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา อาคารใหม่ ซอยอรุณอัมรินทร์ 36

คาดว่าประสบการณ์ของชาวบ้าน พฤติกรรมในการป้องกันตัวเอง และความร่วมมือกับชุมชนใช้เศรษฐกิจพอเพียงเท่านั้นที่จะบรรเทาได้

อย่าคาดหวังว่า รัฐบาลจะแก้น้ำท่วมได้สำเร็จ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา

* ฝนตกแล้ว

* น้ำในบางเขื่อนสูงกว่า 90%

สรุปคือ ยังมีปัญหาน้ำมากในปีนี้ ประชาชนต้องพึ่งตัวเองใช้ประสบการณ์ปีที่แล้วช่วยแก้ปัญหาครั้งนี้

เรื่องที่ 5 มีหนังดี เรื่อง Ang San ชื่อว่า “The lady” มาฉายทั่วประเทศ

* ผมยังไม่ได้ไปดู แต่คนไทยก็น่าจะให้ความสนใจหนังเรื่องนี้เน้นการต่อสู้ของผู้หญิงพม่าเล็กๆคนหนึ่ง ซึ่งอีกไม่นามก็จะขึ้นมามีบทบาทผู้นำของพม่า

* มีคนไปดูแล้วมาเล่าให้ฟังว่า เห็นความโหดร้ายของรัฐบาลทหารพม่าในอดีตน่ากลัวมาก

ประเด็นก็คือ ไทยต้องมีความฉลาดในการบริหารเพื่อนบ้านอย่างพม่า รัฐต้องร่วมกับวิชาการและใช้การทูตภาคประชาชนมากๆ

สุดท้ายเรื่องที่ 6 คือ มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์คุณศรีรัตน์ รัษฐาปนะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ออกโทรทัศน์ และคุยลึกๆกับท่านหลายๆเรื่อง

* ซึ่งเป็นเลือดชาวธรรมศาสตร์

* และได้เห็นความมุ่งมั่นที่จะทำให้คนไทยเข้าใจความแตกต่างระหว่าง ASEAN Economic Community : AEC และ ASEAN Community : AC

ซึ่งคนไทยควรจะเข้าใจคือ ASEAN Community ซึ่งไม่ใช่แค่ AEC และ ASEAN Community มีเรื่องสังคม วัฒนธรรมและการผนึกกำลังร่วมมือ เพื่อให้ ASEAN เข้มแข็งและมีอำนาจต่อรอง

จึงเป็นความภูมิใจของอดีตของอาจารย์ธรรมศาสตร์ที่มีลูกศิษย์มีบทบาทที่สำคัญครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 477871เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2012 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท