“ทักษะการเขียน” จะปลูกฝังลูกหลานได้อย่างไร


ฝึกทักษะการเขียน

ทักษะการเขียนเป็นเรื่องที่ต้องสร้างและสะสม  หากทำได้จะเกิดประโยชน์มาก ๆ
โดยเฉพาะสำหรับเยาวชนที่ยังฝึกได้ง่าย สังเกตจากปฏิกิริยาบล็อกของผม  เช่น ใน

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/170609 

มีการเปิดดูหกเจ็ดพันครั้ง  แต่แทบไม่มีคนโพสต์ตอบ  เป็นเพราะทักษะการเขียนหรือเปล่า หรือเพราะอะไรกันแน่

การเขียนนี่เป็นเรื่องที่ต้องฝึก  เคยมีกรณีตัวอย่างที่เห็นมากับตา  เมื่อสามสิบปีที่มาแล้ว ลูกอยู่กรุงเทพ พ่อไปเป็นทหารอยู่ต่างจังหวัด  พ่อให้ลูกเขียนสรุปข่าวจากวิทยุทีวีส่งพ่อทุกสัปดาห์ทางไปรษณีย์  โตขึ้นเก่งกันทั้งสามคนพี่น้อง  ผมเอาอย่างบ้าง โดยให้ลูกที่กำลังเรียนชั้นมัธยมเริ่มเขียนทุกวัน ผมตรวจแก้คำผิดให้บ้าง ไม่แก้ให้บ้างวันละ 5 บรรทัด โตขึ้นลูกจึงเขียนได้คล่อง 

 กระทรวงศึกษาเขามีวันรักการอ่าน  รณรงค์เรื่องการอ่านก็ทำไป แต่จะให้ได้ผลที่ดีกว่าก็น่าจะเป็นวันรักภาษาไทย ที่มีการรณรงค์ทั้งฟังพูดอ่านเขียนถามตอบ 

การอ่านเป็นการเก็บไว้ในสมอง การเขียนเป็นการเก็บไว้ในกระดาษและในสมอง สามารถนำมาทบทวนได้ ปรับปรุงได้ ภาคภูมิใจได้  จึงได้ทั้งทักษะการเขียนและทักษะการคิดปัจจุบันนี้การเขียนทำได้ง่ายทั้งในกระดาษ บล็อก เฟซบุ๊ค และ  โกทูโนนี้  จึงอยากเชิญชวนให้ดูแลให้ลูกหลานเขียนกันมาก ๆ หากเขียนในเฟซบุ๊ค ก็ควรให้เขียนเป็นเรื่องเป็นราว อย่างน้อยครั้งละสามสิบถึงห้าสิบคำ  และเขียนให้ถูกต้อง ไม่ใช่ อิอิอ๊ะอ๊ะ  ถูกใจ เขียนเป็น  ถูกจัย  ครับ เป็น คับ  ที่มักเห็นเด็ก ๆ เขาเขียนกันผิด ๆ   

 ก็ขอเชิญชวนรณรงค์ส่งเสริมการเขียนกันนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะการเขียน
หมายเลขบันทึก: 476611เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2012 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท