seminar II (ครั้ง6)


การเรียนรู้ที่มีที่สิ้นสุด และเราสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตลอดเวลา อยู่ที่เราจะยอมรับและเปิดใจหรือเปล่า

สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่หกสำหรับการเรียนในวิชา seminar II และแม้กรณีศึกษาที่แต่ละคนนำมาเสนอจะมีการวินิจฉัยโรคที่เหมือนกัน อาการทีเป็นคล้ายคลึงกับที่ผ่านมา แต่การให้กิจกรรมในแต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันไป เพื่อนๆแต่ละคนมีวิธีการให้กิจกรรมที่ต่างกัน ขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแวดล้อมของผู้รับบริการ และความถนัดของเพื่อนๆ ทำให้ในการฟังการนำเสนอกรณีศึกษาพร้อมหลักฐานเชิงประจักษ์ในวันนี้ได้รับประโยชน์มากมาย และก็นึกได้ถึงประโยคที่ว่า "การเรียนรู้ที่ไม่วันสิ้นสุด ทุุกสถานที่ทุกเรื่องราวสามารถให้ความรู้ต่างๆ กับเราได้ อยู่ที่ว่าเราจะเปิดใจยอมรับหรือไม่เท่านั้นเอง" และแม้ในวันนี้สติแห่งการรับรู้จะหลุดลอยไปบ้าง เนื่องจากสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย ต้องขอโทษเพื่อนๆ ที่นำเสนอในครั้งนี้ด้วยนะคะ

สำหรับความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาวันนี้ มีดังนี้
- frame of reference ของ OT ที่ใช้ family มามีส่วนร่วมในการบำบัดฟื้นฟูผู้รับบริการ คือ PEOP FoR

- สำหรับการใช้ Cognitive disability FoR ต้องมี Cognitive impairment

- การฝึก attention ของเด็กในโรงเรียนจะใช้ PEOP FoR

- สำหรับการฝึกเด็ก autisitc โดยใช้สถานการณ์ต่างๆ จะแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
   1. สถานการณ์ที่ผู้ใหญ่สั่ง แล้วให้เด็กทำ
   2. Requesting situation เช่นว่าถ้าเจอสถานการณ์แบบมีการขอร้อง เด็กจะมีการตอบสนองอย่างไร
   3. Spontaneous situation เป็นการให้เด็กตอบสนองต่อสถานการณ์เอง (ไม่มีกรอบ)

- การประเมินและการให้การบำบัดฟื้นฟูในผู้ป่วยที่มีปัญหา neglect จะแบ่งออกเป็น แบบ motor และ sensory ซึ่งแบบ motor จะเป็นการให้เขาได้ลงมือทำ และแบบ sensory จะเป็นการให้ sensory เข้าไป การรักษาในแบบ sensory ก็จะใช้ SI และ sensory stimulation

- Spinal mucular atrophy ทำให้เด็กมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งในเด็กจะต้องช่วยส่งเสริมในด้านหลักๆ เช่น ADL, endurance, muscle strength, hand writting เพื่อให้เขาสามารถที่จะทำกิจกรรมต่างๆ ให้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเองมากที่สุด เป็นต้น

ขอขอบคุณอาจารย์ และเพื่อนๆ ทุกคนที่ได้ให้ความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ในครั้งนี้ค่ะ^^

หมายเลขบันทึก: 476595เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2012 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 01:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท