กรรมสิทธิ์ที่ดิน (เมื่อนายหนุ่มแต่งนางสาว..ตอน ๔)


ในสากลสมัยนี้หญิงไทยเรากลับมีสิทธิในที่ดินน้อยลงกว่าเดิมมาก จะทำนิติกรรมที่ดินใดๆก็ต้องได้รับความยินยอมจากสามีเสียก่อน

ตอนที่ ๔  กรรมสิทธิ์ที่ดิน

ในอดีตนั้นผู้หญิงฝรั่งไม่มีสิทธิ์ในที่ดิน  โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินจะถูกโอนโดยสายเลือดทางฝ่ายชาย (ในจีนและอินเดียก็ยิ่งคงไม่ต้องพูดถึงใหญ่) แต่ในวัฒนธรรมแบบไทยๆแต่โบราณกลับไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ที่ดินอาจตกเป็นของใครก็ได้ที่พ่อแม่ต้องการจะให้ โดยทั่วไปใครที่มีน้อยก็มักจะได้มาก หรือรักใครมากก็ให้คนนั้นมาก

 

แต่ที่น่าสังเกตมากคือ โดยทั่วไปแล้วที่ดินมักจะตกอยู่กับลูกสาวคนเล็กของครอบครัวคนไทยโบราณ (ได้ยินแว่วๆว่ามีนักวิชาการทำงานวิจัยยืนยันความจริงข้อนี้ไว้แล้ว)

 

เรื่อง “กลับตาลปัตร” นี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอันใด ทั้งนี้เพราะลูกสาวคนเล็กส่วนมากก็จะเป็นคนสุดท้ายที่แต่งงาน พวกพี่ๆเขาก็ "ออกเรือน" กันไปหมดแล้ว พ่อแม่ในขณะนั้นก็อยู่กับลูกสาวคนเล็กคนเดียว ประกอบกับประเพณีที่ชอบให้เจ้าบ่าวย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของเจ้าสาวอยู่แล้ว เรื่องก็ลงเอยที่ว่าลูกเขยคนเล็กเข้ามาอยู่และช่วยทำไร่ไถนาแทนพ่อตาแม่ยายไปเสียเลย พ่อแม่ก็เลยพลอยอยู่กับลูกสาวคนเล็กไปโดยอัตโนมัติ  โดยมีลูกเขยคนเล็กเป็น “บ่าว”  แรงงานฟรีๆ

 

ผู้เขียนยังเคยได้อ่านบันทึกว่า ท่านพระอาจารย์มั่น (ภูริฑัตโต) เคยเล่าไว้ว่าได้ออกธุดงค์ไปในป่าแล้วป่วยเป็นไข้มาเลเรีย ซึ่งเป็นโรคที่แปลกคือกินข้าวกินปลาได้ดี แต่กลับไม่มีเรี่ยวแรงทำงาน ชาวอีสานในสมัยโน้นเลยขนานนามโรคนี้ว่า "โรคแม่ยายเกลียด" นั่นแสดงว่า ลูกเขยสมัยนั้นต้องเข้ามาอยู่บ้านแม่ยายและช่วยแม่ยายทำงาน ถ้าเข้ามาแล้วป่วยกระเสาะแสะ ทำงานไม่ได้ก็เปลืองข้าวสุก แม่ยายก็คงต้องหน้าบึ้งเป็นธรรมดา

 

  ในสากลสมัยนี้หญิงไทยเรากลับมีสิทธิในที่ดินน้อยลงกว่าเดิมมาก จะทำนิติกรรมที่ดินใดๆก็ต้องได้รับความยินยอมจากสามีเสียก่อน หญิงที่แต่งงานกับต่างด้าวก็หมดสิทธิที่จะครอบครองที่ดินอีกต่อไป อันนี้ความจริงแล้วก็เป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนให้เป็นสากลอีกนั่นแหละ คือพอผู้ชายยึดกรรมสิทธ์ในการสืบทอดนามสกุลของบรรพบุรุษตามสากลนิยมแล้วนั้น สถานะของผู้หญิงก็ต่ำลงทันที พวกเธอถูกลดสถานะทางสังคมโดยปริยายลงมาเป็นเพียงโรงงานผลิตลูก(ผู้ชาย)เพื่อสำหรับจะสืบทอดนามสกุลของปู่ ทวด ออกไปอีกหนึ่งช่วงชีวิตเท่านั้น

 

ดังกล่าวแล้ว..สังคมไทยซึ่งเป็นสังคมที่แบ่งชนชั้นอย่างกลายๆอยู่แล้วจึงมิอาจยกที่ดินอันถือกันว่าเป็นของล้ำค่าที่ทรงศักดิ์ศรีให้แก่คนเพศหญิงที่ “ไร้ศักดิ์ศรี” ได้อีกต่อไป ทั้งที่เมื่อร้อยกว่าปีมานี้เองพวกเธอแทบจะผูกขาดในกรรมสิทธิ์ที่ดิน

 

.....อนาถหนอ...สากลแบบไทยๆ เคยเก่งดีกว่าเขาหมด มาวันนี้ไม่เหลือซากอะไรไว้ให้เป็นภูมิปัญญาของโลกได้บ้างเลย

 

จบตอนที่ ๔

...คนถางทาง (๒๘ มกราคม ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 476565เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2012 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

This reminds me of a case of woman right คดีอำแดง(นางสาว)เหมือน กับ นายริด

and other cases as far back as 'Ayuddhaya' period.

In modern days, women get 'micro-loans' to start up 'micro' businesses to feed and educate her children.

Men get 'bank loans' to buy cars to travel more and further to drinking and gambling places.

Help women and they will help children and older people.

(Maybe there is an exception ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท