เปรียบเทียบอเมริกาและไทย การเปลี่ยนแปลงทางลบ อันตรายระยะยาว


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2555

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้ครับ

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

 

เปรียบเทียบอเมริกาและไทย การเปลี่ยนแปลงทางลบ อันตรายระยะยาว

            ปีใหม่ 2555 ผ่านไปเกือบ 1 เดือนแล้ว สิ่งดีๆคือได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนผู้ใหญ่ที่ผมเคารพได้รับฟังประสบการณ์และความคิดของท่าน เช่น

            คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ให้คำแนะนำและเป็นที่พึ่งของผมมาตลอด  35 ปี

            การทำงานเพื่อส่วนรวมของผมไม่ใช่งานง่ายๆ ต้องอดทนเพราะมีปัจจัยมากมาย แต่การหาความรู้และได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่เป็นวิธีการหนึ่ง ซึ่งอยากให้รุ่นหลังได้เรียนรู้ว่าความรู้และประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่นเป็นสิ่งที่มีค่า แต่ถูกละเลยไปบ้างในยุค Facebook หรือ ยุค IT ซึ่งมักจะพึ่งเทคโนโลยีมากเกินไป

            อีกเรื่องหนึ่ง ผมได้ไปดูละครเพลง สี่แผ่นดินซึ่งเป็นเรื่องราวของคนอยู่ในยุค 4 รัชกาล ร.5 , ร 6 , ร 7, ร 8 เป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ดีมาก

            มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แต่งไว้ มีคนรุ่นใหม่ที่สนใจประวัติศาสตร์ไทยและละครเป็นที่น่าสนใจของประชาชนมาก สนใจประวัติศาสตร์การเมืองมอง Reality (ความจริง) ของประเทศของเราว่าเปลี่ยนแปลงมาอย่างไร? มีบทเรียนอะไร?

            บทเรื่องของละครเรื่องนี้ก็คือ การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งจะมีดีและไม่ดี ถ้าคนไทยคิดเป็น วิเคราะห์เป็น ก็จะช่วยให้เรียนรู้จากบทเรียนเหล่านั้น

            มีหลายคนบอกว่า คณะนิติราษฎร์มีกลุ่มอาจารย์กลุ่มหนึ่ง (เล็ก) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ควรจะไปดู เปิดหู เปิดตาบ้าง

            เมื่อพูดถึงคณะนิติราษฎร์ ผมคิดว่า ทุกๆคนมีสิทธิ์ออกความเห็นได้และนำเสนอ

            แต่ถ้าจะบอกว่าปฏิวัติไม่ดีหลายๆครั้ง ก็อาจจะต้องย้อนไปดูที่ประวัติศาสตร์ของโลกและการปฎิวัติในประเทศไทย

            ถ้าประชาธิปไตยมาถึงทางตันและมีเผด็จการทางรัฐสภาเพราะเสียงข้างมากขาดคุณธรรม จริยธรรมและประชาชนส่วนใหญ่ยังตัดสินใจด้วยเหตุผลของตัวเอง  ประเภทพวกมากลากไป

            คณะนิติราษฎร์ไม่เน้นให้ประชาธิปไตยสะอาด ปราศจากการโกงกินอย่างมโหฬารอย่างที่เป็นอยู่ มองแค่ความถูกต้องของกฎหมายเป็นหลัก

            ใครจะมาช่วยคนไทยได้ถ้าอำนาจประชาธิปไตยถูกใช้ผิดๆ เพราะการมีการเลือกตั้งหรือมีเสียงข้างมากอาจจะไม่พอ

            อยากให้คณะนิติราษฎร์เสนอวิธีควบคุมและตรวจสอบการเมืองประชาธิปไตยที่ขาดคุณธรรม ขาดความรับผิดชอบต่อปัญหาของคนส่วนใหญ่และการเมืองที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ใครจะรับผิดชอบ

            สัปดาห์นี้ผมได้แรงบันดาลใจจากเพื่อนชาวอเมริกัน เชื้อสายเม็กซิกัน ซึ่งได้ขอให้ผมเขียนคำนำในหนังสือเล่มใหม่ของคุณ Louis Hernandez,Jr. ชื่อว่า  Saving the American Dream Main Street’s Last Stand” ความฝันที่หายไปของคนอเมริกา ผมก็เลยถือโอกาสเปรียบเทียบกับประเทศไทยเพราะ แก่นของสังคมและเศรษฐกิจของไทยเริ่มผุกร่อนด้วยเหตุผลทั้งต่างกันและคล้ายกัน

            ความฝันของคนอเมริกันก็คือ

  • ถึงจะเป็นคนอพยพมาจากที่ต่างๆ แต่มาตั้งรากฐานที่อเมริกาก็จะประสบความสำเร็จได้เพราะ
  • § อเมริกาเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพและโอกาสเปิดกว้าง
  • § ขอให้สนใจการศึกษา (ทุนมนุษย์)
  • § ขยัน
  • § มีความอดทน มีจิตวิญญาณผู้ประกอบการ
  • § จะประสบความสำเร็จ มีงานทำ มีบ้าน มีรถ มีชีวิตที่สมดุล ยั่งยืน นี่คืออดีต

            คุณ Louis บอกผมว่า ช่วงหลังอเมริกาเริ่มเปลี่ยนไป

  • โอกาสไม่เท่ากัน ธุรกิจใหญ่ได้เปรียบ กลุ่มทุนและพวกทำงานที่ Wall street เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคาร ,บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ร่ำรวยมาก ทำให้ความเหลื่อมล้ำใน ระหว่างรวยกับจน ในระยะหลังๆสูงมาก

เหตุผลคืออะไร?

  • ความโลภมากขึ้น
  • ฉลาดและโลภด้วย ไปเรียนการเงินมาก็เล่นแร่แปรธาตุและหาวิธีหาเงินได้หลายๆแบบ
  • ทำให้เศรษฐกิจอเมริกาล้มเหลว ช่วง Sub – prime หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์
  • มีช่องว่างระหว่างคนจน – คนรวยมากขึ้น
  • อัตราว่างงานเป็นประวัติศาสตร์ประมาณ  10%
  • นักการเมืองถูกกลุ่มผลประโยชน์ครอบงำ
  • คนระดับกลางตกงาน
  • ธุรกิจเล็ก กู้เงินมาทำธุรกิจ ไม่ได้เพราะกฎระเบียบมากขึ้น
  • ความฝันของคนอเมริกากลายเป็นฝันร้าย

            ผมเสนอไปว่า ทางออกของคนอเมริกันคือ อย่ายกย่องเงินเป็นพระเจ้า เน้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯของไทย

            มาดูประเทศไทย ดูเหมือนว่าวัดจาก GDP หรืองบประมาณแผ่นดินและความเจริญทางวัตถุ ศูนย์การค้าต่างๆ โครงสร้างพื้นฐาน น่าจะดูดี แต่ดูจากวิถีชีวิตความสุขและความสมดุลจริงๆแล้วยังไม่ดี ผมเรียกว่า วิถีชีวิตที่เป็นแก่นสารหลักๆของความเป็นไทยขาดหายไป เช่น

  • การอยู่กันอย่างสันติ
  • ไม่ใช้ความรุนแรง
  • ยกย่องความดีมากกว่าความรวย
  • กระจายผลประโยชน์ทุกกลุ่ม ทั้งเมืองและชนบท
  • นับถือและเคารพผู้ใหญ่
  • มองอนาคตร่วมกัน แก้วิกฤติร่วมกัน
  • ไม่พูดโกหกและหยาบคาย
  • ใช้ชีวิตที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ของไทยนำมาปรับเข้ากับชีวิตยุคใหม่ แต่ไม่ทิ้งของเก่า
  • อดทนและรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลายและต่างกัน
  • ยกย่องสถาบันหลัก เช่น ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  • มีจิตอาสาและจิตสาธารณะ
  • มียิ้มสยาม

            ถ้าอเมริกาขาดความฝัน คนไทยก็ขาดวิถีชีวิตดั้งเดิม อาจจะเป็นเพราะความเจริญทางวัตถุและความโลภมาทำลายประเทศไทย หรือมีนักการเมืองบางกลุ่มที่เน้นเงินเป็นพระเจ้ามาทำลายประเทศไทย

            ปัจจัยที่กระทบต่อไทยและอเมริกาหลายอย่างแตกต่างกัน แต่ที่เหมือนกันก็คือ คนไทยและคนอเมริกาจำนวนหนึ่ง “โลภมากขึ้น”

            สอง คนไทยและอเมริกา แบ่งเป็นกลุ่มๆมากขึ้น ไม่สามัคคีกัน

            โชคดีได้อ่านหนังสือคุณ Louis เลยทำให้คิดถึง วิถีชีวิตไทย ที่กำลังขาดหายไป

 

บรรยากาศที่ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และทีมงานได้เข้าอวยพร คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ณ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย

หมายเลขบันทึก: 476525เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2012 18:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท