เหตุใดถึง ต้องมีวิสาหกิจชุมชน


โลกวันนี้ กระแสทุนนิยมรุนแรงมาก..การทำวิสาหกิจชุมชน เพื่อหวังให้คนในชุมชนทุกข์ลง หนี้สินน้อยลง

ในโลกของระบบทุนนิยม "กลไก" ๓ กลไก ที่คอยขับเคลื่อนให้ระบบทุนนิยมดำรงอยู่ได้ และเติบโตต่อไปได้คือ "กลไกการผลิต" ,"กลไกการค้า" และ"กลไกการเงิน"  บางคนอาจจะบอกว่า ยังมีกลไกลการบริโภค  อีกก็ไม่เถียง  แต่การบริโภคเป็นกลไกที่มีความจำเป็นต่อมนุษย์ในทุกระบบ  ไม่ว่าจะเป็นระบบทุนนิยม ระบบศักดินา หรือระบบสังคมโบราณ หรืออื่น ๆ แต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้

วันนี้ "กลไกการผลิต" ถูกครอบงำโดยระบบทุนนิยม  ไม่ว่าจะเป็นการผลิตที่เน้นนำออกไปขาย  เพื่อจะได้นำรายได้จากการขายไปซื้อปัจจัยยังชืพอื่น ๆ หรือถ้ามากไปกว่านั้นคือการนำออกไปขาย เพื่อให้ได้กำไร....เหลือแต่วิสาหกิจชุมชน ที่เน้นการพึ่งตนเอง "ทำกิน ทำใช้ก่อน..เหลือแล้วขาย" เศรษฐกิจพอเพียง เป็นฐานของแนวคิดแบบนี้ "อยากกินอะไร ปลูก กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน(แม้บางอย่างจะไม่ได้ผลผลิต ก็พยายามซื้อให้น้อย) เพราะฉะนั้น วิสาหกิจชุมชน จึงไม่ต้องผูกติดกับ "กลไกการค้า" เพราะว่าไม่คิดจะค้าขายเพื่อเงิน และกำไร...

แต่ธุรกิจชุมชนอื่น "กลไกการผลิต" ผูกติดกับ "กลไกการค้า" และเมื่อขาดสภาพคล่อง ก็ต้องไปพึ่ง "กลไกการเงิน" ในขณะที่ วิสาหกิจชุมชน ไม่ต้องมี"กลไกการเงิน"ก็ได้

ตามหลักเศรษฐศาสตร์ กลไกการค้า หรือ กลไกการตลาด จะเป็นตัวกำหนดว่า  การผลิตหรือการค้าใดจะมีรายได้น้อย รายได้มาก กำไรหรือขาดทุน

นั้นหมายถึง การผลิตใด ที่ไม่สอดคล้องกับกลไกการค้า หรือกลไกการตลาด ก็จะส่งผลให้ผู้ผลิต ต้องขาดทุน หรือมีรายได้น้อย เว้นเสียแต่ว่าผู้ผลิตรายนั้น ผูกขาดรายเดียว หรือภาวะที่มีอำนาจเหนือตลาด ไม่ใช่ตลาดมีอำนาจเหนือผู้ผลิต

ทุกวันนี้ชุมชมและผู้ผลิตรายเล็กทั้งหลาย ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของตลาดภายนอก และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตลาดโลก เมื่อเป็นเช่นนี้ การผลิตของชุมชม และผู้ผลิตรายเล็กทั้งหลาย ไม่สามารถไปเปลี่ยนแปลงกลไกตลาดของตลาดภายนอกเหล่านั้นได้ มีแต่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะกับตลาดส่วนใหญ่ คือเขากำหนดว่าอย่างไรก็ต้องทำตามอย่างนั้น (ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องโรค ปริมาณยาเคมี และแมลง เป็นสำคัญ) ประเด็นหลักก็หวังจะกีดกันทางการค้ากับเรา เพื่อเปิดโอกาสให้ตนเองได้ต่อรอง หรือเลือกสินค้าจากที่อื่นด้วย

ทางรอดของชุมชน และผู้ผลิตรายเล็ก คือ การผลิตที่เป็น"กลไกเลี้ยงชีพ"  และเป็น"กลไกพัฒนาชีวิตและพัฒนาสังคม"  จึงจะไปได้ เพราะไม่ติดที่เงินที่ได้ เนื่องจากมองไปที่การจ่ายในราคาถูกลง เพราะจัดทำในปริมาณมาก การจัดการคิดคำนวณก่อนลงหุ้นกันทำ หารเฉลี่ยแล้วทุกคนพอใจ เช่น น้ำยาล้างจาน,ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น และกำไรจากทำวิสาหกิจชุมชน นำไปจ่ายเป็นสวัสดิการของชุมชนต่อไป...

 

หมายเลขบันทึก: 476382เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2012 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะIco64 วันนี้...วิสาหกิจชุมชนเป็นรูปธรรม...ที่ทำให้มองเห็นแนวทางการดำเนินกิจการบนหลักการ"เศรษฐกิจพอเพียง" ได้เป็นอย่างดีนะคะ...อย่างไรก็ตามวิสาหกิจชุมชนก็จัดอยู่ในภาคธุรกิจเอกชน...บทเรียนที่ได้รับจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้การดำเนินกิจการต่างๆโดยเฉพาะในภาคธุรกิจเอกชนทั้งใหญ่และเล็ก ต่างตระหนักและเน้นถึงการใช้ทุนและการขยายกิจการอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังของตนเอง มีกระบวนการผลิตที่ประหยัด มีการวิจัยเพื่อการพัฒนาการผลผลิตและกิจการของตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา... และที่สำคัญต้องพัฒนาสังคมด้วยเป็นการคืนกำไรสู่ชุมชน และสังคมอย่างมีคุณภาพ...จึงเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้หลายองค์กรของภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านการศึกษา ด้านเทคโนโลยี ด้านพลังงาน และด้านสิ่งแวดล้อมนะคะ...

เรียน ดร.พจนา ครับ..ตามที่อาจารย์กล่าวมาก็ถูกต้อง แต่อยากให้เข้าในเพิ่มครับ. อย่างไรก็ตามวิสาหกิจชุมชนก็จัดอยู่ในภาคธุรกิจเอกชน...เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญา แต่ก็เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์  วิสาหกิจชุมชน(พรบ.วิสาหกิจชุมชน ปี ๒๕๔๘) เรียกตัวเองว่า SMCE ไม่ใช่(พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจ ปี ๒๕๔๓) ซึ่งเป็นธุรกิจเอกชน เรียกขานว่า SMEs

เหตุของการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน ก็ต่างกัน วิสาหกิจชุมชนเป็นการดิ้นรนของ ชุมชน ที่ไม่ต้องการทำธุรกิจเอกชนครับ แต่ทำอย่างไร...ชุมชนจะช่วยเหลือชาวบ้าน ตัวอย่างเช่น เรื่องข้าวในชุมชนราคาถูก,ถูกปากคนในชุมชน ก็ต้องผลิตเอง (ปลูกเอง,เกี่ยวเอง) ,สีเอง,ขายกันเองในชุมชน นี่ต่างหากเป็น "วิสาหกิจชุมชน" ครับ

สวัสดีค่ะIco48...ขอบคุณค่ะ...ขออธิบายนะคะ...ที่กล่าวว่า...วิสาหกิจชุมชนจัดอยู่ในภาคธุรกิจเอกชน นั้น...เป็นการแบ่งตามหลักการบริหารภาคส่วนต่างๆของประเทศ...โดยการบริหารภาครัฐนั้นเราเรียกว่าการบริหารทางรัฐประศาสนศาสตร์หรือบริหารรัฐกิจ ส่วนการบริหารภาคเอกชนเราเรียกว่าการบริหารธุรกิจ รวมหมดไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่นะคะ ... ดังนั้นจึงเรียกวิสาหกิจชุมชน ว่าเป็นภาคธุรกิจเอกชนตามหลักการบริหารนะคะ...ซึ่งปัจจุบันทุกภาคส่วนมีความสำคัญเท่าเทียมกัน มีการประสานร่วมมือกันมุ่งสู่เป้าหมายในการพัฒนาคน พัฒนาสิ่งแวดล้อม และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการอยู่ดีกินดี พลเมืองมีสุขภาพแข็งแรงประเทศมีความมั่นคงและมั่งคั่งนะคะ...

ครับ...ขอบคุณครับ ....ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมคนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจวิสาหกิจชุมชนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท