ใบความรู้ที่ ๖ การพูดอภิปราย


วิชา ภาษาไทย ๒ ม.๔

 

คำสำคัญ (Tags): #ใบความรู้
หมายเลขบันทึก: 476325เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2012 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การพูดอภิปราย

การอภิปราย คือ การที่บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปพูดแสดงความรู้ความคิดเห็นในเรื่องใด

เรื่องหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกันหรืออาจเพื่อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาและการดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การอภิปรายจึงมีความสำคัญ คือช่วยให้เกิดความรู้ ความคิดกว้างขวางขึ้นและสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ได้ดี

ความมุ่งหมายของการอภิปราย

๑. เพื่อเสนอปัญหาหรือเรื่องบางอย่าง

๒. ให้คนกลุ่มหนึ่งมาร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทรรศนะอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผลตามหลักประชาธิปไตย

๓. ผู้ร่วมอภิปรายเสนอข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะ และแสวงหาข้อแก้ไขที่ดีที่สุด อาจมีความเห็นสอดคล้องกันหรือโต้แย้งกันก็ได้

๔. หาข้อยุติของปัญหาหรือเรื่องดังกล่าว

๕. ให้ข้อคิดและเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

การอภิปรายประกอบด้วย

๑) ผู้พูด (................................................) , (.....................................................)

๒) ผู้ฟัง

๓) หัวข้อเรื่อง

๔) สถานที่

แบบของการอภิปราย

การอภิปรายมีหลายแบบ แบบที่นิยมกันทั่วไป คือการอภิปรายแบบธรรมดา และการอภิปรายเป็นคณะ

1.การอภิปรายแบบธรรมดา เป็นการร่วมประชุมของกลุ่มบุคคลซึ่งไม่มากนัก โดยมีผู้หนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย เพื่อปรึกษาหารือหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดย

(เปิดฟังที่)http://www.youtube.com/watch?v=MEGid2um7ow&feature=related

2.การอภิปรายเป็นคณะ เป็นการประชุมให้ความรู้หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในคณะผู้อภิปรายซึ่งจัดขึ้นโดยเฉพาะประมาณ ๕ คน และมีผู้หนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย ผู้เข้าร่วมประชุมนอกนั้นเป็นผู้ฟัง ผู้อภิปรายแต่ละคนได้รับมอบหมายให้พูดในเวลาต่างๆ กัน เป็นการพูดและซักถามระหว่างคณะผู้อภิปรายเพื่อผู้ฟังต่อหน้าผู้ฟัง แต่ไม่ได้พูดกับผู้ฟังโดยตรง แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามผู้อภิปรายคนใดคนหนึ่งได้ในตอนท้าย

(เบิดฟังใน) http://www.youtube.com/watch?v=eu73d0tG-to&feature=related

หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย

๑) ผู้พูด ผู้พูดประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน ๒ ลักษณะ คือ

๑.๑ .....................................................................................มีจำนวน....................................

๑.๒......................................................................................มีจำนวน...................................

ผู้ดำเนินการอภิปราย จะทำหน้าที่คือ

๑. นำผู้อภิปรายขึ้นสู่เวทีการพูด

๒. กล่าวทักทายผู้ฟัง อารัมภบทและแนะนำผู้อภิปราย

๓. กล่าวถึงวิธีการอภิปราย เช่น การอภิปรายที่ประกอบด้วยคณะของผู้อภิปรายจะ

อภิปรายกันคนละกี่นาทีคนละกี่รอบถ้าผู้ฟังจะซักถามได้ตอนไหนและอย่างไร เป็นต้น

๔. กล่าวนำเข้าสู่หัวข้อที่จะอภิปราย จำกัดขอบข่ายของเรื่องวิเคราะห์ แยกแยะประเมิน สำหรับการอภิปราย

๕. เสนอประเด็นที่จะอภิปรายแสดงความรู้ความคิดเห็นพร้อมทั้งกล่าวเชิญผู้อภิปราย ให้อภิปราย

๖. ช่วยซักถามแทนผู้ฟัง ในกรณีที่คิดว่าเป็นข้อสงสัยไม่ชัดเจนสำหรับผู้ฟังหรือ

ผู้อภิปรายแสดงไว้ไม่ชัดเจนให้ผู้อภิปรายกล่าวเพิ่มเติม

๗. ควบคุมการอภิปรายให้ตรงเรื่อง ตรงประเด็น และรักษาเวลาการอภิปรายด้วย

๘. ช่วยสร้างบรรยากาศการอภิปรายให้รื่นเริงและรู้สึกเป็นกันเอง

๙. กล่าวสรุปการอภิปรายเมื่อผู้อภิปรายจบการอภิปรายทุกครั้งแล้วโยนประเด็นการ

อภิปรายให้ผู้อภิปรายคนต่อไปจนหมดตามกำหนดเวลาการอภิปราย

๑๐. ในกรณีที่มีคำถามจากผู้ฟังผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่พิจารณาคำถามและ

มอบให้ผู้อภิปรายคนใดคนหนึ่งตอบตามความเหมาะสม

๑๑. สรุปผลการอภิปรายทั้งหมด และกล่าวขอบคุณคณะผู้อภิปรายบางโอกาสกล่าว

ขอบคุณผู้ฟังด้วย

๑๒. กล่าวอำลาผู้ฟัง

๑๓. รักษามารยาทในการพูดอย่างเคร่งครัด

หลักเกณฑ์สรุปการอภิปราย

ผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่สรุปในตอนท้ายของการอภิปราย ควรปฏิบัติดังนี้

๑. กล่าวถึงจุดประสงค์ในการอภิปราย

๒. กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่มีผู้อภิปราย

๓. กล่าวถึงผลของการอภิปราย

๔. สรุปจากข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของผู้อภิปรายทุกคน ไม่สรุปตามความคิดเห็นของตนเอง

ผู้อภิปรายมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. เตรียมความรู้และความคิดเห็นตามหัวข้อเรื่องให้ละเอียดและทำความเข้าใจ

ให้ชัดเจน

๒. เตรียมอุปกรณ์หรือสื่อต่าง ๆ ที่จะใช้ประกอบการพูดให้พร้อม

๓. คารวะผู้ฟัง เมื่อผู้ดำเนินการอภิปรายแนะนำตัวให้ผู้ฟังรู้จัก

๔. อภิปรายในประเด็น ปัญหา หรือเรื่องที่ผู้ดำเนินการอภิปรายกำหนดให้ โดยอภิปราย อยู่ในประเด็นปัญหา หรือเรื่องอย่างละเอียดชัดเจน ไม่นอกเรื่อง

๕. รักษาเวลาในการพูดอย่างเคร่งครัด

๖. รักษามารยาทในการพูด

ผู้ร่วมอภิปรายควรปฏิบัติดังนี้

๑. เตรียมตัวที่จะพูดตามหัวข้ออภิปรายไว้ล่วงหน้า โดยศึกษาหาข้อมูลและเตรียมข้อคิดเห็นในเรื่องที่จะอภิปรายไว้ให้เพียงพอ

๒. พยายามพูดให้อยู่ภายในหัวข้อของการอภิปราย

๓. พยายามฟังและติดตามคำอภิปรายของผู้ร่วมอภิปราย

๔. พยายามพูดให้รวบรัดแต่ได้ใจความสมบูรณ์

๕. ต้องไม่ขัดจังหวะหรือท้วงติงผู้ที่กำลังอภิปราย

๖. ถึงแม้จะมีความเห็นแย้งกับผู้อื่น ก็ยินดีรับฟังและยอมรับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น

๗. แสดงความสนใจในการอภิปราย

๘. พูดให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง

๒) ผู้ฟัง ในการอภิปรายบางครั้งผู้ฟังกับผู้พูดอาจเป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น การอภิปราย ในที่ประชุม การสัมมนา การอภิปรายแบบโต๊ะกลม เป็นต้น และบางครั้งผู้ฟังกับผู้อภิปราย แยกกลุ่มกัน อย่างไรก็ตามเมื่ออยู่ในฐานะของผู้พูด ก็ทำหน้าที่อย่างผู้พูดที่ดีและเมื่ออยู่ใน ฐานะผู้ฟังก็ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดีลักษณะของผู้ฟังที่ดีมีดังนี้

๑. ปรบมือต้อนรับเมื่อมีการแนะนำผู้พูด

๒. รักษามารยาทในการฟัง คือ

๒.๑ ฟังด้วยความตั้งใจ

๒.๒ ตามองดูผู้พูด

๒.๓ ไม่พูดคุยขณะฟัง

๒.๔ ไม่นั่งเกร็งตัว ขาไขว่ห้าง เหยียดแขนขา หรือเอนเอกเขนก ควรนั่งตัวตรงตามสบาย

๒.๕ ไม่รับประทานสิ่งของใด ๆ ในขณะฟัง

๒.๖ ไม่สูบบุหรี่

๒.๗ ไม่ควรดื่มสุราแม้ก่อนเข้าประชุม

๒.๘ ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด

๒.๙ ไม่โห่ ฮาป่า เมื่อผู้พูดพูดถูกใจ ควรปรบมือให้แทน

๓. ฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือคิดพิจารณาไตร่ตรอง ควรเชื่อหรือไม่ เหตุผลมีน้ำหนัก มากน้อยเพียงใด

๔. นำความรู้ที่ได้ ความคิดและเหตุผลที่ดีมีประโยชน์ไปใช้ในโอกาสต่อไปควรจด

บันทึกไว้กันลืม

๕. ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย หรือทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้พูด

๖. มีความอดทนและสามารถควบคุมสมาธิได้ดี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใด

๗. แสดงอาการตอบสนองเป็นกำลังใจแก่ผู้พูด เช่น ยิ้มรับ ผงกศีรษะแสดงความ เข้าใจ ซักถามเมื่อมีโอกาส ฯลฯ

๓) หัวข้อเรื่อง เป็นสิ่งสำคัญมากในการอภิปรายผู้จัดดำเนินอภิปราย จะต้อง กำหนดให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ฟังส่วนใหญ่ทั้งนี้เพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้ฟัง และเป็นหน้าที่ของผู้จัดการอภิปรายจะหาบุคคลที่เหมาะสมสำหรับการอภิปรายในหัวข้อนั้น ๆ ขณะเดียวกันเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้อภิปรายเตรียมการพูดได้ถูกต้อง ควรให้คณะผู้อภิปรายได้ทราบหัวเรื่องหรือญัตติในการอภิปรายเป็นระยะเวลาล่วงหน้าพอสมควรเพื่อศึกษาค้นคว้า

ปัญหาหรือหัวข้อเรื่องที่จะนำมาอภิปราย

๑.ไม่ควรเน้นปัญหาที่กว้างเกินไปจนสรุปผลไม่ได้ หรือต้องใช้เวลายาวนาน

๒.ควรเป็นปัญหาที่มีสาระและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

๓.ควรเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ได้ประสบและเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยๆ

๔.ควรเป็นปัญหาที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจยากหรือเข้าใจไม่ถูกต้อง

๔) สถานที่ ในการจัดหาสถานที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับการพูดในครั้ง นั้น

การอภิปรายและวิธีการอภิปรายแบบต่าง ๆ

ในการอภิปรายนอกจากจะประกอบด้วย ผู้พูด ผู้ฟัง หัวข้อเรื่อง และสถานที่แล้วรูปแบบ

ของการดำเนินการอภิปรายก็ต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนด้วยซึ่งรูปแบบของการอภิปรายที่มี

ต่างๆ กัน ดังนี้

๑) การอภิปรายกลุ่ม

การอภิปรายกลุ่ม คือ การอภิปรายที่ประกอบด้วยบุคคลประมาณ ๕ - ๒๐ คน ทุกคน ผลัดกันพูดและฟัง มักอภิปรายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อหาทางแก้ปัญหา กำหนดนโยบาย

วางแผนหรือหาข้อตกลงร่วมกันมีบุคคล ๑ คน ทำหน้าที่ประธาน และอีก ๑ คน ทำหน้าที่

เลขานุการ

บุคคลที่ทำหน้าที่ประธาน คือ หัวหน้างานนั้น ๆ และเลขานุการก็คือคนที่ทำหน้าที่

เลขานุการให้หัวหน้างานนั้นอยู่แล้วเช่นกัน แต่ถ้าเป็นบุคคลที่มาจากสถานที่ต่าง ๆ ไม่มีใคร

เป็นหัวหน้า ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันในกลุ่มต้องตกลงเลือกใครคนหนึ่งขึ้นทำหน้าประธาน ส่วนเลขานุการอาจเลือกกันในกลุ่ม หรือให้ประธานเป็นผู้เลือกก็ได้ ประธานทำหน้าที่เหมือน ผู้ดำเนินการอภิปรายเลขานุการทำหน้าที่จดบันทึกการประชุม หัวข้อเองเป็นไปตามที่

กำหนดไว้ในกลุ่ม ส่วนสถานที่อาจจัดเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยม หรือรูปตัวยู (U) ก็ได้ โดยมี จุดมุ่งหมายให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมองเห็นกันได้

๒) การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้

การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การอภิปรายที่ประกอบด้วยบุคคล ๒ ฝ่าย

ฝ่ายหนึ่งคือ คณะผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ฟัง คณะผู้อภิปรายจะมีประมาณ ๒ - ๕ คน

ในคณะผู้อภิปรายประกอบด้วยผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้อภิปราย ลักษณะการอภิปราย มุ่งให้ความรู้และความคิดอย่างละเอียดแก่ผู้ฟังผู้อภิปรายแต่ละคนได้รับมอบ ให้อภิปราย ส่วนใดส่วนหนึ่งของปัญหาเดียวกันเป็นตอน ๆ ติดต่อกันจนจบเรื่อง ในตอนท้ายผู้ฟัง มีส่วนร่วมการอภิปรายหรือซักถามปัญหาด้วย

การจัดสถานที่อภิปรายอาจจัดเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือแถวตรงดังในรูปนี้ก็ได้

๓) การอภิปรายแบบแพนเนล

การอภิปรายแบบแพนเนลคล้ายกับการอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ต่างกันที่การ

อภิปรายแบบแพนเพล ผู้อภิปรายแต่ละคนแสดงความรู้ความคิดเห็นในหัวข้อหรือประเด็น

เดียวกันไม่แยกเป็นส่วน ๆ หรือเป็นประเด็น ๆ แบบการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ผู้อภิปราย แบบแพนเนลสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดเฉพาะประเด็นใด ประเด็นหนึ่งเท่านั้น บางโอกาสสามารถซักถามข้อข้องใจสงสัยจากผู้อภิปรายด้วยกันได้ นอกจากนี้บรรยากาศการอภิปรายแบบแพนเนลยังเป็นกันเองมากกว่าการอภิปรายแบบ แลกเปลี่ยนความรู้ ผู้ดำเนินการอภิปรายจะเสนอปัญหาเดียวกันให้ผู้อภิปรายทุกคนแสดง

ความคิดเห็น จนกว่าจะหาข้อสรุปได้ วิธีการอื่น ๆ ตลอดจนการจัดสถานที่ เหมือนการอภิปราย แบบแลกเปลี่ยนความรู้ทุกประการ

๔) การอภิปรายแบบโต๊ะกลม

การอภิปรายแบบโต๊ะกลมคล้ายกับการอภิปรายกลุ่มต่างกันที่การจัดสถานที่ซึ่งการ

อภิปรายแบบนี้จะจัดเป็นรูปวงกลมเท่านั้น และเป็นการประชุมผู้ใกล้ชิดที่เป็นผู้บริหารงาน ภายในหน่วยงาน เดียวกัน ในลักษณะการปรึกษาหารือกันในการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เป็นประธาน หรือผู้ดำเนินการอภิปรายจะเป็นผู้รวบรวมปัญหาและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไว้ก่อนเปิดการอภิปราย เพื่อขอความคิดเห็นและสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

๕) การอภิปรายแบบฟอรัม

การอภิปรายแบบฟอรัมเป็นการอภิปรายที่ประกอบด้วยคณะบุคคลที่มีความรู้ทางด้าน วิชาการสาขาใดสาขาหนึ่งสาขาเดียวกัน ประมาณ ๕ - ๖ คน มีบุคคลอื่นอีก ๑ คน เป็นตัวแทน

ของผู้ฟังทำหน้าที่ประธานหรือผู้ดำเนินการอภิปราย ประสานงานการอภิปรายโดยชักนำหรือ

ซักถามคณะผู้อภิปรายแทนผู้ฟัง ผู้ฟังมีโอกาสร่วมแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำ

ต่าง ๆ แก่คณะผู้อภิปรายได้

การอภิปรายแบบนี้มักไม่ค่อยพบในที่ทั่วไปนัก ผู้เรียนจะได้เห็นรูปแบบการอภิปราย

เช่นนี้จากทางรายการทางโทรทัศน์หรือได้ฟังจากรายการทางวิทยุบ้าง การจัดสถานที่อาจจัด

ดังนี้

๖) การอภิปรายแบบสัมมนา

การอภิปรายแบบสัมมนาคือ การอภิปรายหลังจากผู้เชี่ยวชาญสาขานั้น ๆ ให้ความรู้

ผ่านไปแล้วผู้อภิปรายแต่ละคนแยกกันค้นหว้าหาความรู้ หรือประชุมปรึกษาหารือกันเป็น

กลุ่มย่อย บางครั้งอาจมีวิทยากร (ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น ๆ) เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่ม สรุปผลการค้นคว้า หรือปรึกษาหารือกันในกลุ่มย่อยนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ผู้นำเสนอจะทำหน้าที่ประธานหรือดำเนินการอภิปรายในกลุ่มใหญ่ไปโดยปริยาย เมื่อผ่าน

ที่ประชุมทั้งหมดแล้ว ผลนั้นใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานต่อไปนี้

ในที่ประชุมกลุ่มย่อย คือ การประชุมตามรูปแบบการอภิปรายกลุ่มดังกล่าวแล้วในแบบ

การอภิปรายแบบที่ ๑ นั่นเอง

๗) การอภิปรายแบบสนทนา

การอภิปรายแบบสนทนา มีลักษณะคล้ายกับการอภิปรายแบบฟอรัม แต่ผู้อภิปรายมี

๒ คน คนหนึ่งเป็นผู้ซักถาม อีกคนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ตอบปัญหา มักเป็นการอภิปราย

ในรูปของการแถลงข่าวสารหรือผลงานต่อคนจำนวนมาก พบมากทางวิทยุและโทรทัศน์

๘) การอภิปรายในที่ประชุม

การอภิปรายในที่ประชุม คือการอภิปรายเมื่อมีการประชุมครั้งหนึ่ง ๆ ของหน่วยงาน

หน่วยงานหนึ่งเมื่อดำเนินงานผ่านไปแล้วหรือจะดำเนินงานต่อไปมีการประชุมประเมินผล

หรือหาลู่ทางข้อตกลงเป็นแนวปฏิบัติต่อไป ประธานที่ประชุมซึ่งมัก ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงาน

นั้น ๆ เปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความคิดเห็น การอภิปรายแบบนี้คล้ายกับการอภิปรายกลุ่ม

แต่จำนวนผู้ฟังอาจมากกว่า ๒๐ คน

๙) การอภิปรายแบบโต้วาที

การอภิปรายแบบโต้วาทีที่เป็นการอภิปรายโต้เถียงกันอย่างเป็นระเบียบตามหัวข้อที่

กำหนดไว้ มีผู้เสนอฝ่ายหนึ่งและผู้ค้านฝ่ายหนึ่ง และมีประธานเป็นผู้รักษาระเบียบการโต้

ทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านต่างก็ยกเหตุผล หลักฐานอ้างอิงต่าง ๆ มาหักล้างกัน ฝ่ายใดมี

เหตุผลดีย่อมเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายชนะจะยึดถือเป็นข้อปฏิบัติต่อไป

การอภิปรายแบบนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการประชุมสภาและในที่ประชุมที่ต้องเลือกอย่างใด

อย่างหนึ่ง หรือนโยบายใดนโยบายหนึ่งไปปฏิบัติ

การอภิปรายแบบต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมไว้ด้วย เช่น

กระดานดำ ชอล์ก (ดินสอสี) แปรงลบกระดาน ดินสอ ปากกา โต๊ะ เก้าอี้ กระดานป้ายชื่อ

(สำหรับติดชื่อสมาชิก) แผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ฯลฯ

มารยาทการพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายเป็นการสื่อสารที่เป็นการแสดงแนวคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน แสดงข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหา หาแนวทางหรือข้อยุติ เป็นสิ่งที่ใช้แทบทุกวงการ ดังนั้นจึงควรมีมารยาทการพูดดังต่อไปนี้

๑) วางแผนในการพูดให้แน่นอน พูดให้ถูกต้องชัดเจน เสียงดังพอควร

๒) พูดด้วยน้ำเสียงหนักแน่น จริงจัง น่าเชื่อถือ ไม่พูดเชิงดูหมิ่นผู้ฟัง

๓) ไม่ต้องโอ้อวดตัวเอง ใช้ท่าทางประกอบการพูดเป็นธรรมชาติ ไม่มากเกินไป

๔) พูดด้วยใบหน้ายิ้มน้อยๆ นั่งหรือยืนตัวตรงสง่าผึ่งผายแต่ไม่วางท่าหยิ่ง

๕) พูดถึงสาเหตุการอภิปราย เพื่อให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการอภิปรายครั้งนี้

๖) ทำให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาในการพูดอภิปราย โดยเล่าเรื่องประสบการณ์ที่ผ่านมา

๗) เมื่อเห็นผู้ฟังเครียด หรือเบื่อหน่ายในการฟังอาจใส่มุขตลกบ้างเล็กน้อย

๘) พูดให้ผู้ฟังเกิดสำนึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและเกิดความคิดริเริ่มที่ดี

๙) ใช้คำพูดเชิงจูงใจให้เห็นประโยชน์ของการพูดอภิปราย เพื่อการยอมรับและเต็มใจปฏิบัติตามเมื่อเกิดเป็นข้อยุติ

๑๐) ใช้ภาษาสุภาพ แต่งกายสุภาพ อาจตอบคำถามโดยยกย่องว่าเป็นคำถามที่ดีก่อนตอบให้ตรงประเด็น และแสดงความปรารถนาดีต่อผู้ฟังทุกคน ผู้เข้าร่วมประชุมคนใดจะอภิปรายก่อนหรือหลังก็ได้ มักใช้กับเรื่องทางวิชาการในชั้นเรียน การ

ใบความรู้ที่ ๖

การพูดอภิปราย

การอภิปราย คือ การที่บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไปพูดแสดงความรู้ความคิดเห็นในเรื่องใด

เรื่องหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นกันหรืออาจเพื่อเสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาและการดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การอภิปรายจึงมีความสำคัญ คือช่วยให้เกิดความรู้ ความคิดกว้างขวางขึ้นและสามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ได้ดี

ความมุ่งหมายของการอภิปราย

๑. เพื่อเสนอปัญหาหรือเรื่องบางอย่าง

๒. ให้คนกลุ่มหนึ่งมาร่วมแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนทรรศนะอย่างมีหลักเกณฑ์และมีเหตุผลตามหลักประชาธิปไตย

๓. ผู้ร่วมอภิปรายเสนอข้อเท็จจริง ข้อเสนอแนะ และแสวงหาข้อแก้ไขที่ดีที่สุด อาจมีความเห็นสอดคล้องกันหรือโต้แย้งกันก็ได้

๔. หาข้อยุติของปัญหาหรือเรื่องดังกล่าว

๕. ให้ข้อคิดและเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

การอภิปรายประกอบด้วย

๑) ผู้พูด (................................................) , (.....................................................)

๒) ผู้ฟัง

๓) หัวข้อเรื่อง

๔) สถานที่

แบบของการอภิปราย

การอภิปรายมีหลายแบบ แบบที่นิยมกันทั่วไป คือการอภิปรายแบบธรรมดา และการอภิปรายเป็นคณะ

1.การอภิปรายแบบธรรมดา เป็นการร่วมประชุมของกลุ่มบุคคลซึ่งไม่มากนัก โดยมีผู้หนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย เพื่อปรึกษาหารือหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยประชุมสัมนาหรือการประชุมของสโมสร สมาคมและหน่วยงานต่างๆ

2.การอภิปรายเป็นคณะ เป็นการประชุมให้ความรู้หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในคณะผู้อภิปรายซึ่งจัดขึ้นโดยเฉพาะประมาณ ๕ คน และมีผู้หนึ่งทำหน้าที่ดำเนินการอภิปราย ผู้เข้าร่วมประชุมนอกนั้นเป็นผู้ฟัง ผู้อภิปรายแต่ละคนได้รับมอบหมายให้พูดในเวลาต่างๆ กัน เป็นการพูดและซักถามระหว่างคณะผู้อภิปรายเพื่อผู้ฟังต่อหน้าผู้ฟัง แต่ไม่ได้พูดกับผู้ฟังโดยตรง แต่ก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถามผู้อภิปรายคนใดคนหนึ่งได้ในตอนท้าย

หน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย

๑) ผู้พูด ผู้พูดประกอบด้วยบุคคลที่ทำหน้าที่แตกต่างกัน ๒ ลักษณะ คือ

๑.๑ .....................................................................................มีจำนวน....................................

๑.๒......................................................................................มีจำนวน...................................

ผู้ดำเนินการอภิปราย จะทำหน้าที่คือ

๑. นำผู้อภิปรายขึ้นสู่เวทีการพูด

๒. กล่าวทักทายผู้ฟัง อารัมภบทและแนะนำผู้อภิปราย

๓. กล่าวถึงวิธีการอภิปราย เช่น การอภิปรายที่ประกอบด้วยคณะของผู้อภิปรายจะ

อภิปรายกันคนละกี่นาทีคนละกี่รอบถ้าผู้ฟังจะซักถามได้ตอนไหนและอย่างไร เป็นต้น

๔. กล่าวนำเข้าสู่หัวข้อที่จะอภิปราย จำกัดขอบข่ายของเรื่องวิเคราะห์ แยกแยะประเมิน สำหรับการอภิปราย

๕. เสนอประเด็นที่จะอภิปรายแสดงความรู้ความคิดเห็นพร้อมทั้งกล่าวเชิญผู้อภิปราย ให้อภิปราย

๖. ช่วยซักถามแทนผู้ฟัง ในกรณีที่คิดว่าเป็นข้อสงสัยไม่ชัดเจนสำหรับผู้ฟังหรือ

ผู้อภิปรายแสดงไว้ไม่ชัดเจนให้ผู้อภิปรายกล่าวเพิ่มเติม

๗. ควบคุมการอภิปรายให้ตรงเรื่อง ตรงประเด็น และรักษาเวลาการอภิปรายด้วย

๘. ช่วยสร้างบรรยากาศการอภิปรายให้รื่นเริงและรู้สึกเป็นกันเอง

๙. กล่าวสรุปการอภิปรายเมื่อผู้อภิปรายจบการอภิปรายทุกครั้งแล้วโยนประเด็นการ

อภิปรายให้ผู้อภิปรายคนต่อไปจนหมดตามกำหนดเวลาการอภิปราย

๑๐. ในกรณีที่มีคำถามจากผู้ฟังผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่พิจารณาคำถามและ

มอบให้ผู้อภิปรายคนใดคนหนึ่งตอบตามความเหมาะสม

๑๑. สรุปผลการอภิปรายทั้งหมด และกล่าวขอบคุณคณะผู้อภิปรายบางโอกาสกล่าว

ขอบคุณผู้ฟังด้วย

๑๒. กล่าวอำลาผู้ฟัง

๑๓. รักษามารยาทในการพูดอย่างเคร่งครัด

หลักเกณฑ์สรุปการอภิปราย

ผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่สรุปในตอนท้ายของการอภิปราย ควรปฏิบัติดังนี้

๑. กล่าวถึงจุดประสงค์ในการอภิปราย

๒. กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่มีผู้อภิปราย

๓. กล่าวถึงผลของการอภิปราย

๔. สรุปจากข้อเท็จจริงและความคิดเห็นของผู้อภิปรายทุกคน ไม่สรุปตามความคิดเห็นของตนเอง

ผู้อภิปรายมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

๑. เตรียมความรู้และความคิดเห็นตามหัวข้อเรื่องให้ละเอียดและทำความเข้าใจ

ให้ชัดเจน

๒. เตรียมอุปกรณ์หรือสื่อต่าง ๆ ที่จะใช้ประกอบการพูดให้พร้อม

๓. คารวะผู้ฟัง เมื่อผู้ดำเนินการอภิปรายแนะนำตัวให้ผู้ฟังรู้จัก

๔. อภิปรายในประเด็น ปัญหา หรือเรื่องที่ผู้ดำเนินการอภิปรายกำหนดให้ โดยอภิปราย อยู่ในประเด็นปัญหา หรือเรื่องอย่างละเอียดชัดเจน ไม่นอกเรื่อง

๕. รักษาเวลาในการพูดอย่างเคร่งครัด

๖. รักษามารยาทในการพูด

ผู้ร่วมอภิปรายควรปฏิบัติดังนี้

๑. เตรียมตัวที่จะพูดตามหัวข้ออภิปรายไว้ล่วงหน้า โดยศึกษาหาข้อมูลและเตรียมข้อคิดเห็นในเรื่องที่จะอภิปรายไว้ให้เพียงพอ

๒. พยายามพูดให้อยู่ภายในหัวข้อของการอภิปราย

๓. พยายามฟังและติดตามคำอภิปรายของผู้ร่วมอภิปราย

๔. พยายามพูดให้รวบรัดแต่ได้ใจความสมบูรณ์

๕. ต้องไม่ขัดจังหวะหรือท้วงติงผู้ที่กำลังอภิปราย

๖. ถึงแม้จะมีความเห็นแย้งกับผู้อื่น ก็ยินดีรับฟังและยอมรับสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น

๗. แสดงความสนใจในการอภิปราย

๘. พูดให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง

๒) ผู้ฟัง ในการอภิปรายบางครั้งผู้ฟังกับผู้พูดอาจเป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น การอภิปราย ในที่ประชุม การสัมมนา การอภิปรายแบบโต๊ะกลม เป็นต้น และบางครั้งผู้ฟังกับผู้อภิปราย แยกกลุ่มกัน อย่างไรก็ตามเมื่ออยู่ในฐานะของผู้พูด ก็ทำหน้าที่อย่างผู้พูดที่ดีและเมื่ออยู่ใน ฐานะผู้ฟังก็ทำหน้าที่เป็นผู้ฟังที่ดีลักษณะของผู้ฟังที่ดีมีดังนี้

๑. ปรบมือต้อนรับเมื่อมีการแนะนำผู้พูด

๒. รักษามารยาทในการฟัง คือ

๒.๑ ฟังด้วยความตั้งใจ

๒.๒ ตามองดูผู้พูด

๒.๓ ไม่พูดคุยขณะฟัง

๒.๔ ไม่นั่งเกร็งตัว ขาไขว่ห้าง เหยียดแขนขา หรือเอนเอกเขนก ควรนั่งตัวตรงตามสบาย

๒.๕ ไม่รับประทานสิ่งของใด ๆ ในขณะฟัง

๒.๖ ไม่สูบบุหรี่

๒.๗ ไม่ควรดื่มสุราแม้ก่อนเข้าประชุม

๒.๘ ไม่วิพากษ์วิจารณ์ผู้พูด

๒.๙ ไม่โห่ ฮาป่า เมื่อผู้พูดพูดถูกใจ ควรปรบมือให้แทน

๓. ฟังอย่างมีวิจารณญาณ คือคิดพิจารณาไตร่ตรอง ควรเชื่อหรือไม่ เหตุผลมีน้ำหนัก มากน้อยเพียงใด

๔. นำความรู้ที่ได้ ความคิดและเหตุผลที่ดีมีประโยชน์ไปใช้ในโอกาสต่อไปควรจด

บันทึกไว้กันลืม

๕. ไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย หรือทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้พูด

๖. มีความอดทนและสามารถควบคุมสมาธิได้ดี ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์แบบใด

๗. แสดงอาการตอบสนองเป็นกำลังใจแก่ผู้พูด เช่น ยิ้มรับ ผงกศีรษะแสดงความ เข้าใจ ซักถามเมื่อมีโอกาส ฯลฯ

๓) หัวข้อเรื่อง เป็นสิ่งสำคัญมากในการอภิปรายผู้จัดดำเนินอภิปราย จะต้อง กำหนดให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ฟังส่วนใหญ่ทั้งนี้เพื่อเรียกร้องความสนใจของผู้ฟัง และเป็นหน้าที่ของผู้จัดการอภิปรายจะหาบุคคลที่เหมาะสมสำหรับการอภิปรายในหัวข้อนั้น ๆ ขณะเดียวกันเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้อภิปรายเตรียมการพูดได้ถูกต้อง ควรให้คณะผู้อภิปรายได้ทราบหัวเรื่องหรือญัตติในการอภิปรายเป็นระยะเวลาล่วงหน้าพอสมควรเพื่อศึกษาค้นคว้า

ปัญหาหรือหัวข้อเรื่องที่จะนำมาอภิปราย

๑.ไม่ควรเน้นปัญหาที่กว้างเกินไปจนสรุปผลไม่ได้ หรือต้องใช้เวลายาวนาน

๒.ควรเป็นปัญหาที่มีสาระและเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

๓.ควรเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ได้ประสบและเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยๆ

๔.ควรเป็นปัญหาที่สังคมส่วนใหญ่เข้าใจยากหรือเข้าใจไม่ถูกต้อง

๔) สถานที่ ในการจัดหาสถานที่ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมสำหรับการพูดในครั้ง นั้น

การอภิปรายและวิธีการอภิปรายแบบต่าง ๆ

ในการอภิปรายนอกจากจะประกอบด้วย ผู้พูด ผู้ฟัง หัวข้อเรื่อง และสถานที่แล้วรูปแบบ

ของการดำเนินการอภิปรายก็ต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนด้วยซึ่งรูปแบบของการอภิปรายที่มี

ต่างๆ กัน ดังนี้

๑) การอภิปรายกลุ่ม

การอภิปรายกลุ่ม คือ การอภิปรายที่ประกอบด้วยบุคคลประมาณ ๕ - ๒๐ คน ทุกคน ผลัดกันพูดและฟัง มักอภิปรายในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อหาทางแก้ปัญหา กำหนดนโยบาย

วางแผนหรือหาข้อตกลงร่วมกันมีบุคคล ๑ คน ทำหน้าที่ประธาน และอีก ๑ คน ทำหน้าที่

เลขานุการ

บุคคลที่ทำหน้าที่ประธาน คือ หัวหน้างานนั้น ๆ และเลขานุการก็คือคนที่ทำหน้าที่

เลขานุการให้หัวหน้างานนั้นอยู่แล้วเช่นกัน แต่ถ้าเป็นบุคคลที่มาจากสถานที่ต่าง ๆ ไม่มีใคร

เป็นหัวหน้า ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันในกลุ่มต้องตกลงเลือกใครคนหนึ่งขึ้นทำหน้าประธาน ส่วนเลขานุการอาจเลือกกันในกลุ่ม หรือให้ประธานเป็นผู้เลือกก็ได้ ประธานทำหน้าที่เหมือน ผู้ดำเนินการอภิปรายเลขานุการทำหน้าที่จดบันทึกการประชุม หัวข้อเองเป็นไปตามที่

กำหนดไว้ในกลุ่ม ส่วนสถานที่อาจจัดเป็นรูปวงกลม สี่เหลี่ยม หรือรูปตัวยู (U) ก็ได้ โดยมี จุดมุ่งหมายให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมองเห็นกันได้

๒) การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้

การอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ คือ การอภิปรายที่ประกอบด้วยบุคคล ๒ ฝ่าย

ฝ่ายหนึ่งคือ คณะผู้อภิปราย อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ฟัง คณะผู้อภิปรายจะมีประมาณ ๒ - ๕ คน

ในคณะผู้อภิปรายประกอบด้วยผู้ดำเนินการอภิปรายและผู้อภิปราย ลักษณะการอภิปราย มุ่งให้ความรู้และความคิดอย่างละเอียดแก่ผู้ฟังผู้อภิปรายแต่ละคนได้รับมอบ ให้อภิปราย ส่วนใดส่วนหนึ่งของปัญหาเดียวกันเป็นตอน ๆ ติดต่อกันจนจบเรื่อง ในตอนท้ายผู้ฟัง มีส่วนร่วมการอภิปรายหรือซักถามปัญหาด้วย

การจัดสถานที่อภิปรายอาจจัดเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือแถวตรงดังในรูปนี้ก็ได้

๓) การอภิปรายแบบแพนเนล

การอภิปรายแบบแพนเนลคล้ายกับการอภิปรายแบบแลกเปลี่ยนความรู้ต่างกันที่การ

อภิปรายแบบแพนเพล ผู้อภิปรายแต่ละคนแสดงความรู้ความคิดเห็นในหัวข้อหรือประเด็น

เดียวกันไม่แยกเป็นส่วน ๆ หรือเป็นประเด็น ๆ แบบการอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ผู้อภิปราย แบบแพนเนลสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดเฉพาะประเด็นใด ประเด็นหนึ่งเท่านั้น บางโอกาสสามารถซักถามข้อข้องใจสงสัยจากผู้อภิปรายด้วยกันได้ นอกจากนี้บรรยากาศการอภิปรายแบบแพนเนลยังเป็นกันเองมากกว่าการอภิปรายแบบ แลกเปลี่ยนความรู้ ผู้ดำเนินการอภิปรายจะเสนอปัญหาเดียวกันให้ผู้อภิปรายทุกคนแสดง

ความคิดเห็น จนกว่าจะหาข้อสรุปได้ วิธีการอื่น ๆ ตลอดจนการจัดสถานที่ เหมือนการอภิปราย แบบแลกเปลี่ยนความรู้ทุกประการ

๔) การอภิปรายแบบโต๊ะกลม

การอภิปรายแบบโต๊ะกลมคล้ายกับการอภิปรายกลุ่มต่างกันที่การจัดสถานที่ซึ่งการ

อภิปรายแบบนี้จะจัดเป็นรูปวงกลมเท่านั้น และเป็นการประชุมผู้ใกล้ชิดที่เป็นผู้บริหารงาน ภายในหน่วยงาน เดียวกัน ในลักษณะการปรึกษาหารือกันในการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เป็นประธาน หรือผู้ดำเนินการอภิปรายจะเป็นผู้รวบรวมปัญหาและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ไว้ก่อนเปิดการอภิปราย เพื่อขอความคิดเห็นและสรุปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

๕) การอภิปรายแบบฟอรัม

การอภิปรายแบบฟอรัมเป็นการอภิปรายที่ประกอบด้วยคณะบุคคลที่มีความรู้ทางด้าน วิชาการสาขาใดสาขาหนึ่งสาขาเดียวกัน ประมาณ ๕ - ๖ คน มีบุคคลอื่นอีก ๑ คน เป็นตัวแทน

ของผู้ฟังทำหน้าที่ประธานหรือผู้ดำเนินการอภิปราย ประสานงานการอภิปรายโดยชักนำหรือ

ซักถามคณะผู้อภิปรายแทนผู้ฟัง ผู้ฟังมีโอกาสร่วมแสดงความรู้ ความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำ

ต่าง ๆ แก่คณะผู้อภิปรายได้

การอภิปรายแบบนี้มักไม่ค่อยพบในที่ทั่วไปนัก ผู้เรียนจะได้เห็นรูปแบบการอภิปราย

เช่นนี้จากทางรายการทางโทรทัศน์หรือได้ฟังจากรายการทางวิทยุบ้าง การจัดสถานที่อาจจัด

ดังนี้

๖) การอภิปรายแบบสัมมนา

การอภิปรายแบบสัมมนาคือ การอภิปรายหลังจากผู้เชี่ยวชาญสาขานั้น ๆ ให้ความรู้

ผ่านไปแล้วผู้อภิปรายแต่ละคนแยกกันค้นหว้าหาความรู้ หรือประชุมปรึกษาหารือกันเป็น

กลุ่มย่อย บางครั้งอาจมีวิทยากร (ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้น ๆ) เป็นที่ปรึกษาประจำกลุ่ม สรุปผลการค้นคว้า หรือปรึกษาหารือกันในกลุ่มย่อยนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ผู้นำเสนอจะทำหน้าที่ประธานหรือดำเนินการอภิปรายในกลุ่มใหญ่ไปโดยปริยาย เมื่อผ่าน

ที่ประชุมทั้งหมดแล้ว ผลนั้นใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานต่อไปนี้

ในที่ประชุมกลุ่มย่อย คือ การประชุมตามรูปแบบการอภิปรายกลุ่มดังกล่าวแล้วในแบบ

การอภิปรายแบบที่ ๑ นั่นเอง

๗) การอภิปรายแบบสนทนา

การอภิปรายแบบสนทนา มีลักษณะคล้ายกับการอภิปรายแบบฟอรัม แต่ผู้อภิปรายมี

๒ คน คนหนึ่งเป็นผู้ซักถาม อีกคนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ตอบปัญหา มักเป็นการอภิปราย

ในรูปของการแถลงข่าวสารหรือผลงานต่อคนจำนวนมาก พบมากทางวิทยุและโทรทัศน์

๘) การอภิปรายในที่ประชุม

การอภิปรายในที่ประชุม คือการอภิปรายเมื่อมีการประชุมครั้งหนึ่ง ๆ ของหน่วยงาน

หน่วยงานหนึ่งเมื่อดำเนินงานผ่านไปแล้วหรือจะดำเนินงานต่อไปมีการประชุมประเมินผล

หรือหาลู่ทางข้อตกลงเป็นแนวปฏิบัติต่อไป ประธานที่ประชุมซึ่งมัก ได้แก่ หัวหน้าหน่วยงาน

นั้น ๆ เปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความคิดเห็น การอภิปรายแบบนี้คล้ายกับการอภิปรายกลุ่ม

แต่จำนวนผู้ฟังอาจมากกว่า ๒๐ คน

๙) การอภิปรายแบบโต้วาที

การอภิปรายแบบโต้วาทีที่เป็นการอภิปรายโต้เถียงกันอย่างเป็นระเบียบตามหัวข้อที่

กำหนดไว้ มีผู้เสนอฝ่ายหนึ่งและผู้ค้านฝ่ายหนึ่ง และมีประธานเป็นผู้รักษาระเบียบการโต้

ทั้งฝ่ายเสนอและฝ่ายค้านต่างก็ยกเหตุผล หลักฐานอ้างอิงต่าง ๆ มาหักล้างกัน ฝ่ายใดมี

เหตุผลดีย่อมเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายชนะจะยึดถือเป็นข้อปฏิบัติต่อไป

การอภิปรายแบบนี้ส่วนใหญ่ใช้ในการประชุมสภาและในที่ประชุมที่ต้องเลือกอย่างใด

อย่างหนึ่ง หรือนโยบายใดนโยบายหนึ่งไปปฏิบัติ

การอภิปรายแบบต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องเตรียมไว้ด้วย เช่น

กระดานดำ ชอล์ก (ดินสอสี) แปรงลบกระดาน ดินสอ ปากกา โต๊ะ เก้าอี้ กระดานป้ายชื่อ

(สำหรับติดชื่อสมาชิก) แผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ฯลฯ

มารยาทการพูดอภิปราย

การพูดอภิปรายเป็นการสื่อสารที่เป็นการแสดงแนวคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน แสดงข้อมูล ข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหา หาแนวทางหรือข้อยุติ เป็นสิ่งที่ใช้แทบทุกวงการ ดังนั้นจึงควรมีมารยาทการพูดดังต่อไปนี้

๑) วางแผนในการพูดให้แน่นอน พูดให้ถูกต้องชัดเจน เสียงดังพอควร

๒) พูดด้วยน้ำเสียงหนักแน่น จริงจัง น่าเชื่อถือ ไม่พูดเชิงดูหมิ่นผู้ฟัง

๓) ไม่ต้องโอ้อวดตัวเอง ใช้ท่าทางประกอบการพูดเป็นธรรมชาติ ไม่มากเกินไป

๔) พูดด้วยใบหน้ายิ้มน้อยๆ นั่งหรือยืนตัวตรงสง่าผึ่งผายแต่ไม่วางท่าหยิ่ง

๕) พูดถึงสาเหตุการอภิปราย เพื่อให้เห็นความจำเป็นที่ต้องมีการอภิปรายครั้งนี้

๖) ทำให้ผู้ฟังเกิดศรัทธาในการพูดอภิปราย โดยเล่าเรื่องประสบการณ์ที่ผ่านมา

๗) เมื่อเห็นผู้ฟังเครียด หรือเบื่อหน่ายในการฟังอาจใส่มุขตลกบ้างเล็กน้อย

๘) พูดให้ผู้ฟังเกิดสำนึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบและเกิดความคิดริเริ่มที่ดี

๙) ใช้คำพูดเชิงจูงใจให้เห็นประโยชน์ของการพูดอภิปราย เพื่อการยอมรับและเต็มใจปฏิบัติตามเมื่อเกิดเป็นข้อยุติ

๑๐) ใช้ภาษาสุภาพ แต่งกายสุภาพ อาจตอบคำถามโดยยกย่องว่าเป็นคำถามที่ดีก่อนตอบให้ตรงประเด็น และแสดงความปรารถนาดีต่อผู้ฟังทุกคน ผู้เข้าร่วมประชุมคนใดจะอภิปรายก่อนหรือหลังก็ได้ มักใช้กับเรื่องทางวิชาการในชั้นเรียน การ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท