นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ


นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

 

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ

ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

๒๕ มกราคม ๒๕๕๕
.................................................................

เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๕
เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๐.๐๐ น.
ชมรายการถ่ายทอดสด
การมอบหมายนโยบาย
ของศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
แก่ผู้บริหารระดับสูง
และข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ
รวมทั้งประชาชนทั่วไป
ทาง สทท. หรือ NBT
มีความประทับใจในความ
เป็นนักบริหารและนักวิชาการ
มืออาชีพของท่านรัฐมนตรี
เป็นอย่างมาก
ท่านเป็นนักบริหารและนักวิชาการ

ที่ติดดิน
เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ข้าราชการ
กระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างยิ่ง

คนเกือบทั้งประเทศชื่นชมท่าน
ใครที่ได้รับชมการถ่ายทอดสด
การแถลงนโยบายของท่าน
เชื่อแน่ว่าต้องชื่นชอบท่านอย่างแน่นอน
ขอนำเสนอนโยบายของท่าน
ดังต่อไปนี้
...................................................................

ปรัชญา

พ...ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวถึงการศึกษาไว้ว่า
"การศึกษาจะนำไปสู่
การสร้างความเข้มแข็งของประชาชน

ประชาชนที่เข้มแข็งและมีความรู้ คือทุนที่มีพลังใน
การต่อสู้กับความยากจน"
"
ต้องมุ่งการกระจายประโยชน์อย่างเท่าเทียม และต้องมอง
ประชาชนที่ลำบากเพื่อจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน"
การศึกษาคือกุญแจ
สำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นที่จำเป็นในการทำ

ให้ความยากจนกลายเป็นอดีต
รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะดูแลพี่น้องประชาชน
เหมือนคนในครอบครัว เราจะไม่
ทำร้ายประชาชน
เราจะไม่โกงเงินประชาชน ในด้านการศึกษา เรา
"ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
" เราดูแลลูกหลานประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา
เราดูแลครูบาอาจารย์
เหมือนญาติพี่น้องเรา
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ
จะดูแลประชาชนประหนึ่งญาติในครอบครัว
จะต้องไม่มีคอร์รัปชั่น
ไม่โกงนักเรียน ไม่บังคับขู่เข็ญครูบาอาจารย์
ต้องไม่เกณฑ์ครูและ
นักเรียน
ไปตอนรับผู้ใหญ่โดยไม่จำเป็น
ต้องไม่ปล่อยให้ยาเสพติดแพร่กระจายในหมู่
ลูกหลานของเราเราต้องลดกฎระเบียบ
และงานนอกเหนือการเรียนการสอนของครู
เราต้องขจัด
การเรียกร้องเงินทองจากครูตอนย้ายตำแหน่ง
ตอนย้ายคืนถิ่นที่อยู่ กฎเกณฑ์การประเมิน
ครูในกรณีต่างๆ ต้องชัดเจน ลดการใช้ดุลพินิจลง
เราต้องลดการชักจูงให้ครูเป็นหนี้เป็น
สินล้นพ้นตัว
ในการพัฒนาการศึกษา รัฐบาลพรรคเพื่อไทย
เน้นปรัชญา
ความเท่าเทียม
และการนำ
เทคโนโลยี มาใช้ เราจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่มีคุณภาพสำหรับ
เยาวชนทุกคนทุกพื้นที่"
เราจะจัดการอุดมศึกษาโดย
ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมือ
อาชีพ

นโยบาย

1. "จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทุกคน"
คำว่า เยาวชน คือเด็กตั้งแต่อนุบาล
จนถึงมัธยมศึกษาปีที่6 เยาวชนต้องได้รับโอกาส
ทางการศึกษาเท่าเทียมกันทุกแห่งไม่
ว่าในเมืองหรือชนบท ไม่ว่าจะเป็นโดยรัฐหรือเอกชน
การประกอบอาชีพเมื่อจบ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6
ต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ รัฐบาลประกันรายได้ 300 บาท
ต่อคน
ต่อวัน
2. “ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ
คำว่า นักศึกษา คือ อุดมศึกษา อาชีวศึกษา หรือ
สูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่6 ขึ้นไป นักศึกษาจบแล้วต้องเป็นมืออาชีพ
พร้อมกับรัฐบาล
ประกันรายได้ปริญญาตรี
15,000 บาท ต่อเดือน โดยกำหนดเป้าหมายให้
นักเรียนและ
นักศึกษา เติบโตเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย
มีทักษะหลากหลาย มีความสามารถในการ
แข่งขันในตลาดโลกได้ และอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
ที่วางอยู่บนฐานความรู้
การขยายโอกาสทางการศึกษา 4 ด้าน
1)โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก
เพื่อสามารถได้รับการศึกษา
อย่างเท่าเทียม
เนื่องจากความเป็นเลิศมักอยู่ในเมือง
แต่นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในชนบท
และมีฐานะยากจน รัฐบาลจึงมีโครงการ เช่น
-โครงการ One Tablet per Child เด็กไทยฉลาด
ต้องมี
Tablet PC ถือไป
โรงเรียน จะดำเนินการแจก
Tablet PC ให้เด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปโรงเรียน
ให้มี
สัญญาณวายฟาย(Wi-Fi) ฟรี ในที่สาธารณะ
-สร้างห้องการเรียนรู้ ในพื้นที่ต่างๆ
โดยมีครูมาเปิดสอนพิเศษ
(โดยให้รัฐจ่าย
ค่าจ้างให้)
แก่นักเรียนประถมศึกษา โดยติดตั้งซอฟแวร์การศึกษา
และ
e-Book ซึ่งจะมา
แทนหนังสือเรียนตามปกติ
ทำให้เกิด
e-Learning เพื่อสร้าง Knowledge-basedSociety
-โครงการ e-Education พัฒนาโปรแกรมและ
เนื้อหาที่จะพลิกโฉมโรงเรียนให้
เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตและส่งเสริม
การศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ระบบ
การศึกษาที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง
-โครงการโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในฝัน
สู่อุดมศึกษาชั้นยอด ให้มี
คณะกรรมการโรงเรียน
(School Board) ที่สามารถจัดจ้างคุณครูใหญ่และครูที่มี
ความสามารถเป็นเลิศ สามารถอำนวยความสะดวก
แก่นักเรียน เช่น หอพัก รถโรงเรียน
จักรยาน ฯลฯ
-โครงการพลังครู พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
แก้ไขปัญหา
หนี้สินครู โดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
ขยายโอกาส ด้วยการอบรมคุณธรรม
ทำบัญชี
ครัวเรือน ปรับโครงสร้างหนี้
นำหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบ
และเพิ่มรายได้พิเศษให้
เพียงพอ
และขยายโอกาสใหม่ๆ
-โครงการศูนย์การศึกษานานาชาติ
-หนึ่งโรงเรียนหนึ่งพยาบาล เพื่อดูแลเด็กๆ
และสามารถสอนหนังสือได้ด้วย
-โรงเรียนตัวอย่างในทุกอำเภอ พัฒนาศักยภาพ
ของโรงเรียนให้เป็นเลิศ โดยใช้
การติดต่อ
สื่อสารด้วยวิทยาการที่ทันสมัย
2)โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน
นักเรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยที่ผู้ปกครอง
และ
นักเรียนไม่ต้องมีความกังวลในเรื่องทุนการศึกษา
รัฐบาลจึงมีโครงการ เช่น
- Smart Card เพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-โครงการเรียนก่อนผ่อนทีหลัง ส่งคืนเมื่อมีรายได้
(Income Contingency
Loan Program)
-ทุนการศึกษาสานฝันนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศ
(โครงการหนึ่งอำเภอ
หนึ่งทุน)
-กองทุนตั้งตัวได้ ประชาชนชาวไทย
จะต้องตั้งตัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี
คนอยากตั้งตัวมักไม่รู้ว่าจะตั้งตัวอย่างไร
แต่คนที่จะตั้งตัวมักไม่มีทรัพย์สินติดตัว
การที่จะทำให้ตั้งตัวได้ก็คือ
ตั้งกองทุนในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน
ตั้งกรรมการ มาควบคุม
ประกอบด้วยอาจารย์ ศิษย์เก่า
ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต
ตัวแทนภาครัฐ และเอกชน
เราใช้แนวคิดนี้ เพราะที่มหาวิทยาลัย
ประกอบด้วยนักศึกษาที่กำลังจะจบ องค์ความรู้อยู่
ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด
การเป็นนักธุรกิจที่มีฐานความรู้ได้เปรียบกว่า
จึงสร้าง
ผู้ประกอบการได้มากกว่า
3)โอกาสในการเพิ่มพูนและฝึกฝนทักษะ
นักเรียนทุกคนสามารถเติบโตได้ในโลกที่เป็น
จริง
การเรียนรู้บนการทำกิจกรรม
(Activity-Based Learning)
-ส่งเสริมอาชีวศึกษา ให้มีความสำคัญมากขึ้น
มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เป็น
มืออาชีพ
-ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center)
ตั้งเป้าหมายให้มีเพียงพอ เพื่อ
ให้บริการทุกชุมชน
เป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์จากทักษะ
ของนักเรียนอาชีวศึกษา
เพื่อให้บริการซ่อม
ราคาประหยัดแก่ประชาชนในชุมชน
-โครงการอัจฉริยะสร้างได้ ให้นักเรียนค้นหาความถนัด
ของตนเอง ในทุกๆ สาขา
-โครงการ 1 ดนตรี 1 กีฬา 2 ภาษา
สนับสนุนให้เยาวชนได้มีความสามารถ
ที่จะ
เข้าร่วมแข่งขัน เพื่อความเป็นเลิศ
ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
วิชาภาษาอังกฤษ
ภาษาจีน
ต้องอยู่ในบรรยากาศของเจ้าของภาษาให้มากที่สุด
วิชาคณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ จะต้องสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง
-ปรับปรุงหลักสูตร เลิกการท่องจำ ใช้การเรียนรู้
เนื้อหาวิชาที่เด็กสามารถเรียนรู้
ได้เหมือนกัน
เช่น ผ่าน
Video Link รวมถึงมีการวัดผลที่มีมาตรฐานทันสมัย
-คนไทยที่อายุ 25 ปีขึ้นไปสามารถเทียบประสบการณ์
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6
ได้ สามารถเรียนในเวลา
และนอกเวลา เพื่อให้ทันโลก และทันลูกหลาน
-สถาบันการศึกษาราชภัฎและอาชีวศึกษา
ค้นหาตัวเองให้รู้ว่าเก่งด้านไหน
ส่งเสริมอาชีวศึกษา ให้มีความสำคัญมากขึ้น
มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เป็นมือ
อาชีพ
จากนั้นเปิดให้ประชาชนไปพัฒนาเพิ่มเติม
ทักษะด้านต่างๆ ตามที่ต้องการตาม
ความถนัด เรียนก่อนผ่อนทีหลัง
หลังจากทำงานแล้วค่อยผ่อนใช้
-จัดศูนย์ฝึกอบรม จะจัดศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษา
ให้ประชาชนเข้าไปเรียนรู้เรื่องที่
สนใจ พัฒนาทักษะให้คนไทยเป็นผู้ชำนาญในสาขาต่างๆ
ใช้ระบบเรียนก่อน ผ่อนทีหลัง
4)โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ
(โดยใช้ห้องสมุด
พิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ)
-โครงการ Internet ตำบล และ Internet หมู่บ้าน
(ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน) เพื่อ
เปิดโอกาสให้ประชาชนค้นหาความถนัดของตนเอง
เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อการต่อ
ยอดในสิ่งที่ต้องการทำ และสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนวิชาชีพ
-สถานที่รวมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์แก่เด็กวัยเรียน
โดยมีคอมพิวเตอร์ให้ใช้
มีวายฟาย(Wi-Fi)
ให้ มีครูที่จะสอนการบ้าน

...................................................................................................

 

.......................................................................................

นโยบายของท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
(ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช)
มีความชัดเจนเป็นอย่างยิ่ง
สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง
เพื่อความสุขของปวงชนชาวไทยถ้วนหน้า

.......................................................................................

โปรดอ่านรายละเอียด
เพิ่มเติมได้ที่
เวปไซด์ของกระทรวงศึกษาธิการ

                   http://www.moe.go.th/moe/th/home/home.php

 

 

.

 

 

หมายเลขบันทึก: 476315เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2012 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท