ปฏิบัติธรรมแบบนอกคอก( ตอน ๗...ดื่มเหล้าเข้าสมาธิ)


พวกพระธิเบตบางกลุ่มก็อ้างว่าการดื่มทำให้ทำสมาธิได้ดีขึ้น ซึ่งบางท่านอาจหาว่าเป็นการพึ่งปัจจัยภายนอก แต่ผมว่าแล้วใครล่ะไม่พึ่ง?

ปฏิบัติธรรมแบบนอกคอก( ตอน ๗...ดื่มเหล้าเข้าสมาธิ)

 

ศีลห้าของศาสนานิกชนนั้น น่าสนใจว่า สามในห้าข้อนั้นเป็นอาบัติรุนแรงของพระภิกษุ (เรียกว่า ปาราชิก ถ้ากระทำแล้วต้องพ้นจากความเป็นพระ คือ การฆ่ามนุษย์ การเสพเมถุน และการลักทรัพย์)   แต่อีกสองข้อคือการโกหกและการดื่มสุรานั้น ถือเป็นความผิดสถานเบา (ปาจิตตีย์)

 

การโกหกนั้นผมไม่แน่ใจด้วยซ้ำไปว่ามีบัญญัติไว้ในศีล ๒๒๗  ของพระ  ส่วนการดื่มสุรานั้นถือเป็นความผิดเบา  สามารถปลงอาบัติได้  ไม่ได้เป็นความผิด “ปาราชิก”  (หนักสุด) หรือ “สังฆาทิเสส” (หนักปานกลาง)

 

เมื่อก่อนผมก็คิดเหมือนคนทั่วๆไปว่า การดื่มเป็นบาปหนักมากของพระ แต่พพจ. ทรงบัญญัติให้เป็นโทษ “จิ๊บจ้อย” เท่านั้นเอง  ซึ่งคิดให้ลึกๆแล้วก็เห็นด้วย เพราะการดื่มนั้นว่าไปแล้วถ้ารู้จักดื่มให้ดี อาจเป็นคุณต่อการทำให้แจ้งซึ่งนิพพานด้วยซ้ำไป  (สติดี สมองโปร่งโล่งสบาย)

 

อิทธิพลของ Lกฮ ต่อสมองนั้นยังวิจัยกันไม่สิ้นสุด แต่ที่รู้แน่ๆ คือ ในบางคนมันส่งเสริมอารมณ์ศิลปิน เช่น สุนทรภู่นั้นแต่งกลอนรื่นก็เมื่อได้เสพ  ว่ากันว่า ชาบางชนิดนั้นดื่มแล้วทำให้สุขุมก็มี  พวกพระธิเบตบางกลุ่มก็อ้างว่าการดื่มทำให้ทำสมาธิได้ดีขึ้น ซึ่งบางท่านอาจหาว่าเป็นการพึ่งปัจจัยภายนอก แต่ผมว่าแล้วใครล่ะไม่พึ่ง? เช่น การบวช ห่มผ้าเหลืองนั้น ถือเป็นการพึ่งปัจจัยภายนอกไหม?  การนั่งสมาธิ การเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม ..พึ่งไหม? การกราบพระพุทธรูปล่ะ?

 

 

ภาษาบาลีที่ใช้ในศีลข้อห้า (หรือแม้แต่ข้ออื่นๆนั้น) เคยมีคนโต้แย้งว่า ไม่ได้เป็นไปตามที่นิยมแปลกันหรอก แท้จริงแล้วไม่ได้ห้ามดื่มเหล้า แต่ห้าม “เสียสติ”  ต่างหาก

 

อ๊ะ..ถ้าแปลแบบนี้ก็เข้าทางสิ แสดงว่าดื่มได้หากไม่เสียสติ (แถมถ้าได้สติเพิ่มก็จะยิ่งดีไปอีก) ส่วนพวกไม่ดื่มแล้วสติแตกทั้งวัน ด่าคนอื่นแว้ดๆทั้งวัน พวกนี้อาจผิดศีลข้อห้ายิ่งเสียกว่าไอ้ขี้เมาริมถนนอีก  (พวกนี้ต้องมอมเหล้าให้เมาทั้งวัน จะได้หลับ ไม่เสียสติด่าคนอื่น อิอิ)

 

...คนถางทาง (๒๖ มกราคม ๒๕๕๕)

คำสำคัญ (Tags): #ศีลข้อห้า#สมาธิ
หมายเลขบันทึก: 476293เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2012 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท