ปฏิบัติธรรมแบบนอกคอก (ตอน ๖ เดินสมาธิ)


ปฏิบัติธรรมแบบนอกคอก (ตอน ๖ การเดินจงกรม)

 

นั่งสมาธินานๆ ก็อาจเมื่อย และ เบื่อได้เหมือนกัน  (ยกเว้นคนที่ลึกไปแล้ว นั่งสามวันสามคืนก็ได้ ...กลายเป็นพวกติดสุขไปเสียอีก...วิปัสนูกิเลส)  ก็อาจเปลี่ยนอิริยาบถมาเป็นเดิน

 

ความจริงแล้ว จะไม่เดินแต่ทำอะไรก็ได้ ขอเพียงให้มีสติอยู่ในอิริยาบถ เช่น อาจรำไทเก้ก ก็ได้ แต่การเดินนั้นมั่นง่ายดี และก็เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์อยู่แล้ว ไม่ต้องไปฝึกเดินให้ยุ่งยากมากความ

 

ถ้าจะให้ดีควรถอดรองเท้าเดิน  สายวัดมหาธาตุมักให้กำหนดบริกรรมว่า ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ เป็นสามจังหวะในการเดินคือยกเท้า ก้าวย่าง และเหยียบเท้าลง สายพุทโธก็กำหนดพุทโธไป

 

สำหรับสายคนถางทาง ก็บริกรรมว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (หรือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วแต่กรณี) คือ พอจรดเท้าลงพื้น(สัมผัสรู้ที่ปลายเท้าหรือส้นเท้าแล้วแต่เดินกระบวนท่าไหน) ก็บริกรรมว่า “เกิดขึ้น” พอฝ่าเท้าแนบพื้นหมดก็บริกรรมว่า “ตั้งอยู่” พอยกเท้าพ้นพื้นก็ว่า “ดับไป”

 

การเดินนั้นบางค่ายก็นิยมเดินเร็ว บางค่ายปานกลางเป็นธรรมชาติ ส่วนผมนิยมเดินช้าครับ อาจเห็นว่าไม่เป็นธรรมชาติก็แล้วแต่ แต่ผมว่ามันเร็วกว่าการนั่งสมาธิตั้งมากแล้ว เดินเร็วเกินไปก็เสียพลังงานมากนะ เดินช้าๆ มีเวลาพิจารณาการเกิดดับได้มากกว่านะ ผมว่า

 

พอเดินสุดเส้นทาง (ประมาณ 10 เมตร) ก็หยุด กลับตัว มีสติอยู่กับอิริยาบถการกลับตัว สำหรับผมชอบยืนนิ่งๆนานๆ ก่อนกลับตัว พอกลับตัวแล้วก็ยืนนิ่งๆอีก เป็นการยืนสมาธิ ในขณะยืนนิงก็สุดแล้วแต่ บางที่ก็พิจารณาอาการยืน บางที่ก็ทำอานาปานสติพร้อมบริกรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป คือทำให้มันหลากหลายเพื่อจะได้ไม่เบื่อหน่ายในวิธีเดียวแบบซ้ำๆ มากเกินไป

ในระหว่างเดินนั้นมือทั้งสองจะกุมไว้ด้านหน้า หรือไพล่หลัง ก็ย่อมได้ หรือจะห้อยข้างตัวก็ย่อมได้อีกแหละ แต่สำนักส่วนใหญ่จะให้กุมไว้ข้างหน้า ซึ่งผมว่ามันบังคับกันเกินไป แต่จะเดินเร็วๆ มือแกว่ง พร้อมเกาหัวไปด้วยแบบนักธุรกิจเดินครุ่นคิด นั่นก็อาจเว่อไปหน่อย

 

มือจะอย่างไรก็ตาม แต่ขอเสนอว่า หลังต้องตรง ไม่เช่นนั้นสมาธิเกิดยาก ดังที่ได้อธิบายไว้ก่อนนี้แล้วในตอนนั่งสมาธิ

 

เส้นทางเดินจงกรม บางสำนักมีการกำหนดว่าต้องกว้างยาวเท่านั้นนี้ แต่สำหรับผม ยังไงก็ได้ ไม่มีทางเลยก็ยังได้ ในกรณีนี้ก็ยืนสมาธิ หรือ ซอยเท้าสมาธิอยู่กับที่ก็ได้  เพื่อสลับกับการนั่งสมาธิ

 

การรำไท้เก้กก็ดีนะครับ ทำให้ดีๆ มีสติกำกับก็ถือเป็นสมาธิเคลื่อนไหว  (dynamic meditation)  แถมได้ออกกำลังกาย  ทำไปทำมาเกิดฤทธิ์เหาะข้ามกำแพงไปซื้ออาหารจีนมากินได้ อิอิ (มีอาหารจีนชื่อนี้จริงเสียด้วย “พระกระโดดกำแพง”  นัยว่าอร่อยมากจนพระตบะแตก ต้องปีนกำแพงวัดหนีมากิน)

 

....คนถางทาง (๒๕ มกราคม ๒๕๕๕)

หมายเลขบันทึก: 476238เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2012 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 09:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เขียนครบ 8 หมื่น 4 พัน บันทึกเมื่อไหร่ ก็ก่อตั้งเป็น สำนัก คนถางทาง เป็นอีกสายปฎิบัติธรรม ได้เลย :)+

คุณทวิช เคยได้ยิน เรื่องราวของ ลามะปาเดนโดรเจ ไหม ? เด็กหนุ่มเนปาลคนหนึ่ง ที่อดข้าวอดน้ำเพื่อนั่งบำเพ็ญเพียรสมาธิตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี โดยไม่ได้ขยับตัว ไม่ยอมลุกไปไหน ไม่แม้แต่จะทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือขับถ่ายเหมือนคนทั่ว ๆ ไป ไม่รู้เค้าทำได้ไง อาหารจีนที่ว่า น่าขันจริง มันอร่อยขนาดนั้นเลยเชียวหรือ 55+

"พระกระโดดกำแพง"...น่าจะเป็น..พระ..ตุ้ด...บ้านเรา..แฮะ....เพราะเมื่อไม่นาน..(ฝรั่ง)แอบไปถ่ายหนังมา..ประจานใน..ยุโรป..กำลังไล่ยิงเ่ล่นเอาเถิดเจ้าล่อกันในสวนมะพร้าวในวัดแอบไปซื้อในตลาด(ปืน..พลาสติคของเด็กเล่น)มาเล่นกันในหมู่เณรตุ้ดและไม่ดุ้ด..แถม.(ฝรั่ง).บอกว่า..วัดไทย..คนไทย..คนพุทธ มี..อภัยแลอดทน..ซึ่งกันและสูงมาก...อิอิ..(เผลอ.ๆคงจาเป็นสมาธิแบบ..ดายยนามิก เมดีเตฉันน..ก็ว่าได้มั้งง....(ยายธี)...

คุณ nop ครับ เรื่องเด็กเนปาลเคยได้ยินอยู่ ซึ่งผมว่าไม่ใช่เรื่องแปลก คือการ "จำศีล" ลึกๆ นั่นเอง แมลงบางชนิดจำศีลนาน 17 ปีนะครับ (จั๊กจั่นชนิดหนึ่ง) พวกหมี กบ จำศีลก็ลักษณะเดียวกัน คือ อัตราการเผาผลาญอาหารต่ำ หัวใจเต้นช้ามาก ก็อยู่ได้นาน ไม่ต้องกินอะไร เพราะร่างกายเรามีอาหารสำรองไว้อยู่แล้ว รวมทั้งไขกระดูก (bone marraow)

คุณยายธีครับ พระกระโดดกำแพงเนี่ย ผมเคยกินที่ usa แต่จำไม่ได้เสียแล้วว่าเป็นอะไร ประมาณผัดผักใส่ซ่อสอะไรสักอย่างนี่แหละ อีกจานที่มีในเมนูตือ Buddha delight จำไม่ได้เหมือนกันครับว่าคืออะไร เดี๋ยวลองหาเสริชดู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท