องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาความพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 จ.แพร่


สวัสดีชาว Blog ทุกท่าน

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 ผมได้รับเกียรติจากสันนิบาตเทศบาลจังหวัดแพร่ร่วมกับเทศบาลตำบลร้องกวาง บรรยายในโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นในหัวข้อ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาความพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ให้แก้ ผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ เทศบาลเมืองแพร่ เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่จังหวัดแพร่

ผมจึงใช้ Blog นี้ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนะครับ

................................................

ภาพบรรยากาศการเดินทางและการเรียนรู้ 

เดินทางสู่แพร่โดยลงเครื่องที่สนามบินพิษณุโลก - เห็นป้ายประชาสัมพันธ์น่าสนใจครับ

(ทดลองเส้นทางใหม่ คือ พิษณุโลก - อุตรดิตถ์ - แพร่ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า ๆ )

ถึงอุตรดิตถ์ถือโอกาสแวะเยี่ยมลูกศิษย์ที่สหกรณ์การเกษตรลับแล ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น และยังได้ชิม "หมี่พัน" อาหารว่างขึ้นชื่อของลับแลครับ

ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกันกับคณะผู้บริหารของสหกรณ์การเกษตรลับแล..ดีใจที่ได้พบลูกศิษย์ถึง 2 คนที่นี่


นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับ AEC หน้างาน

บรรยากาศการลงทะเบียนมีผู้บริหารงานระดับท้องถิ่นสนใจเข้าร่วมกว่า 350 คน

พูดคุยกับผู้บริหารท้องถิ่นระดับสูงของจังหวัดแพร่ที่มาต้อนรับและร่วมฟังการบรรยาย

ขอบคุณ ปลัดเทศบาลตำบลร้องกวาง.. คุณบุณณพล กันนา หัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดโครงการครั้งนี้ให้เกิดขึ้น เป็นตัวอย่างของข้าราชการที่มีคุณภาพ..น่าชื่นชมครับ

ผู้บริหารท้องถิ่นระดับสูงส่วนใหญ่สนใจและอยากเห็นการพัฒนาความรู้เรื่อง AEC 2015 สู่ข้าราชการและประชาชนอย่างจริงจัง

เริ่มต้นการบรรยายเปิดประเด็น.. เรื่องอาเซียนเสรีกับจังหวัดแพร่สำคัญอย่างไร?

รับฟังความคิดเห็นจากผู้ฟังในช่วงแรกเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่ได้เรียนรู้..

บรรยากาศของการระดมความคิด ค้นหาช่องว่างและโอกาสเรื่อง AEC กับจังหวัดแพร่

ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ...ตอบโจทย์ WORKSHOP อย่างน่าสนใจ

นายกเทศมนตรีฯ ร่วมแสดงความคิดเห็น

ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน

ระหว่างทางกลับแวะรับประทานอาหารที่ร้าน "ลมเย็น" บรรยากาศดีมากครับ..

ขอบคุณคุณกุสุมามาลย์ ปัจฉิมสวัสดิ์ คุณรัตนาภรณ์ กิตติขจร คุณรุ่งทิวา พิมพ์สงวน กรรมการของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศร่วมเป็นเกียรติกับการทำงานของผมในครั้งนี้ครับ

อัพเดทข้อมูลให้กับเพื่อนใน facebook ของผม

สำหรับเนื้อหาของการ WORKSHOP - AEC กับ แพร่โมเดล ทีมงานผมกำลังสรุปและจะนำมาแบ่งปันกับทุกท่านเร็ว ๆ นี้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #aec
หมายเลขบันทึก: 475884เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2012 18:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ไม่ทราบว่า ทางคณะอาจารย์จะมีโอกาสมาบรรยายในเขตจังหวัดระยองบ้างมั้ยครับ?

กลุ่มที่  1

ข้อ1.        จุดแข็ง

  1. ทุนทางจริยธรรม

-         คนแพร่เป็นคนที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีวิถีชีวิตที่พอเพียง

-         เป็นเมืองที่มีปัญหาทางสังคมในระดับต่ำมาก

  2. ทุนแห่งความสุข

คนแพร่มีอัธยาศัยดี

  3.  ทุนแห่งทางวัฒนธรรม

-      การแต่งกาย

-       ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น

                จุดอ่อน

        1.     คนแพร่ไม่เก่งด้านภาษา

        2.     แหล่งท่องเที่ยว ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน

        3.     ควรสร้างทัศคติของคนแพร่ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

        4.     ไม่มีองค์ความรู้ที่ยั่งยืนทางอาชีพ

        5.     ปัญหาวัยรุ่น

ข้อ 2  เสนอจุดแข็งของท้องถิ่น ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน

  1. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่น พระธาตุช่อแฮ
  2. การแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองชุดม่อฮ่อม

ข้อ 3

  1. ศักยภาพของคนแพร่ก่อนก้าวย่างสู่ความเป็นอาเซียน
  2. วิถีชุมชนกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
  3. การยกหรือพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ ก่อนย่างก้าวเข้าสู่ความเป็นอาเซียน

 

 

กลุ่ม 2

ข้อ 1 จุดแข็ง

1. มีการทำการเกษตรปลอกสารพิษ

2. การท่องเที่ยวและวัฒนธรรมมีแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เช่น วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง วัดพระธาตุจอมแจ้ง วัดพระธาตุดอยเส็ง

3. มีสินค้า OTOP ที่ได้รับมาตรฐาน คือผลิตภัณฑ์ผ้าด้นมือ

จุดอ่อน

1. ด้านการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว คือขาดมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ

วิธีการพัฒนาจุดอ่อน

มีการจัดฝึกอบรมมัคคุเทศก์และเสนอในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนและแผนของเทศบาล

ข้อ 2 เสนอจุดแข็งของท้องถิ่น ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน

มีปูชนียสถานที่สำคัญ คือ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวงซึ่งเป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล จากสถิติการเข้ามาท่องเที่ยวในแต่ละปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน/ปี มีเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เส้นทางลอยฟ้า หลังคาเมืองแพร่ สู่ภูพญาพ่อ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์มีบ้านพักแบบโฮมสเตย์ไว้บริการนักท่องเที่ยว

กลุ่ม 3

ข้อ 1 จุดแข็ง

1. มีทุนทางสังคมและวัฒนธรรม เช่นคอบครัวอบอุ่น วัฒนธรรม การแต่งกาย ดนตรี ภาษาพูด

จุดอ่อน

1. ทาง IT

2. ทุนแห่งการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

3. ภาษาในการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ

วิธีการพัฒนาจุดอ่อน

1. ทาง IT

1.1 อบรมให้ความรู้ด้านIT ให้ประชาชนในท้องถิ่น

2. ทางการสร้างสรรค์และนวัตกรรม

2.1 นำนวัตกรรมที่มีในท้องถิ่นมาพัฒนาให้ได้มาตรฐานและใช้ประโยชน์ได้สูงสุด

2.2 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. ภาษาในการสื่อสาร

3.1 จ้างครูต่างประเทศมาสอนภาษาแก่เยาวชนและประชาชน

ข้อ 2 เสนอจุดแข็งของท้องถิ่น ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน

1. การท่องเที่ยวเชิงสังคมและวัฒนธรรม เชิงนิเวศวิทยา

2. พัฒนาสินค้า OTOP ที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้มีมาตรฐานระดับสากล

ข้อ 3 ถ้าจะทำวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนกับท้องถิ่นของเราว่าจะเน้นเรื่องอะไรต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. ความพึงพอใจของบุคคลในท้องถิ่นเกี่ยวกับการค้าเสรีอาเซียน

2. แนวทางการพัฒนาประเทศในกลุ่มอาเซียนในอนาคต

กลุ่ม4

ข้อ 1

จุดแข็ง

1. ท่องเที่ยว

2. วัฒนธรรม ประเพณี

3. สังคมเอื้อเฟื้อ

จุดอ่อน

1. ด้าน IT ระบบสารสนเทศ

2. ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร

3. การตลาด

4. รูปแบบของผลิตภัณฑ์

การแก้ไขปัญหา

1. การส่งเสริมการพัฒนาด้าน IT

2. การอบรมให้ความรู้ด้านภาษา

3. หน่วยงานรับผิดชอบ

4. อบรมการส่งเสริมให้มีความรู้ในการจัดทำผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบเป็นสากล

กลุ่ม 5

ข้อ 1.

จุดแข็ง

1. ม่อฮ่อมไม้สัก

2. ถิ่นรักพระลอ

3. ช่อแฮศรีเมือง

4. ลือเลื่องแพะเมืองผี

จุดอ่อน

1. IT อินเตอร์เนต และสารสนเทศ

2. ภาษาสากลทีใช้ในอาเซียน

ข้อ 2 เสนอจุดแข็งของท้องถิ่น ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน

1. การท่องเที่ยว จัดสร้างผังเมืองและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

2. วัฒนธรรม ผ้าดิ้นจก ผ้าม่อฮ่อม

ข้อ 3 ถ้าจะทำวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนกับท้องถิ่นของเราว่าจะเน้นเรื่องอะไรต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

2. วัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

กลุ่ม 6

ข้อ 1

จุดแข็ง

1.1 ทุนมนุษย์ (Human Capital)

คือ การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์ของข้าราชการท้องถิ่น ประชาชน และธุรกิจภายในท้องถิ่น

1.2 ทุนทางสังคม (Social Capital)

คือ เน้นท้องถิ่นที่มีมากที่สุดในประเทศไทย เครือข่ายมากจนได้สมยาว่า ท้องถิ่นเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน

จุดอ่อน

1.1 ด้อยเรื่องภาษาต่างประเทศ ไม่เรียนรู้เรื่องของภาษา IT ในการพัฒนาตนเอง กลัวภาษา อายที่จะใช้ภาษา เพราะท้องถิ่นไม่มีการส่งเสริม สนับสนุนการใช้ภาษาต่างประเทศ มากเท่าที่ควร

1.2 ไม่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายท้องถิ่น มากเท่าที่ควร ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนาต่างๆ เช่นพัฒนาบุคลากร,องค์กร,การท่องเที่ยว เป็นต้น

1.3 ขาดทุนทาง IT และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ของคนในท้องถิ่น

การพัฒนาจุดอ่อน พัฒนาทุนทาง IT และทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติของคนในท้องถิ่น

กลุ่ม7

ข้อ 1 ในทฤษฎี 8k’s และ 5k’s จุดอ่อนและจุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง

1. มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

2. มีการประกอบอาชีพดั้งเดิมจากภูมิปัญญา เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ ทอผ้า ม่อฮ่อม

จุดอ่อน

1. ทักษะในการสื่อสาร

2. ความรู้ความสามารถในเรื่องของการสื่อสาร

การพัฒนาจุดอ่อน

1. ส่งเสริมและพัฒนาในเรื่องของการใช้ภาษาต่างประเทศ

2. สร้างความรู้และเพิ่มทักษะด้านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย โดยการสนับสนุนให้โรงเรียนในสังกัดได้พัฒนาอย่างจิงจัง

ข้อ 2 เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขัน และร่วมมือกับประชาคมอาเซียน

1. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

2. ส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ระดับมาตรฐานสากล

ข้อ 3 ถ้าจะทำวิจัยเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนกับท้องถิ่นของเราจะเน้นเรื่องอะไรต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. ความพึงพอใจของประชาชนชาวจังหวัดแพร่ต่อการก้าวสู่ AEC

2. มาตรฐานฝีมือแรงงานชาวจังหวัดแพร่ ต่อการก้าวสู่ AEC

3. การเตรียมความพร้อมกับการก้าวสู่ AEC

กลุ่มที่ 8

ข้อ 1

จุดอ่อน

1. ทุนมนุษย์

2. ทุนแห่งความยั่งยืน

3. ทุนทาง IT

4. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5. ทุนทางอารมณ์

วิธีการเสนอการพัฒนาจุดอ่อน

1. ทุนทางปัญญา ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม

2. ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข

3. ทุนแห่งความสุข

4. ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม

5. ทุนแห่งการสร้างสรรค์

6. ทุนทางนวัตกรรม

7. ทุนทางวัฒนธรรม

ข้อ 2 เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขัน และร่วมมือกับประชาคมอาเซียน

1. ทุนทางปัญญา – ผลิตภัณฑ์ไม้/ เสื้อม่อฮ่อม

2. ทุนทางวัฒนธรรม – ของกินพื้นเมือง (ขนมเส้น)

ข้อ 3 ทำวิจัยเรื่อง

1. การจัดการผลิตภัณฑ์ไม้สัก เข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กรณีศึกษา: ไม้สัก จ.แพร่

2. ปัจจัยที่มีผลต่อการยกระดับอาหารพื้นเมืองสู่ประชาคมอาเซียน

กรณีศึกษา: จ.แพร่

3. การศึกษาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจ.แพร่ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กลุ่มที่ 9

ข้อ 1

จุดแข็ง

1. ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. ลักษณะทางภูมิศาสตร์

3. วิถีชีวิตทางการเกษตรพอเพียง

4. คนมีคุณภาพ

5. แหล่งท่องเที่ยว

จุดอ่อน

1. ภัยธรรมชาติ

2. สารเคมี

3. ภาษาอังกฤษ

4. เส้นทางคมนาคม

5. ยาเสพติด

6. การทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7. ความยากจน/ด้อยโอกาส

ข้อ 2 เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขัน และร่วมมือกับประชาคมอาเซียน

1. การอนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. เส้นทางการคมนาคมเพื่อส่งสินค้า/การบริการ

ข้อ 3 หัวข้อการวิจัย

การพัฒนาคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

กลุ่ม 10

ข้อ 1.

จุดแข็ง

- ด้านโบราณสถาน

- วัฒนธรรมประเพณี ปีใหม่ ลอยกระทง

- ธรรมชาติ แพะเมืองผี

- น้ำตก วนอุทยาน

1.2 วัฒนธรรมการแต่งกาย เสื้อหม้อฮ่อม ผ้าตีนจก ผ้าดิ้นมือ

1.3 คนแพร่มีอัธยาศัยไมตรี

หัวข้อวิจัย 3ข้อ

1. เรื่องความเป็นไปได้ในการพัฒนาด้านการเมืองให้แก่บุคลกรทุกระดับ

2. เรื่องปัญหาการเรียนการสอนด้านภาษาการสื่อสาร

3. ปัญหาการตลาด OTOP

จุดอ่อน

1. ภาษา

2. เทคโนโลยี

3. ไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบ

แนวทางแก้ไข

1. ส่งเสริมให้มีการศึกษาในเนื้อหาวิชาในภาคอาเซียนในโรงเรียนและชุมชน เช่น ภาษาจีน อังกฤษ ญี่ปุ่น

2. ส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณให้กับองค์กรและชุมชน เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และจัดการฝึกอบรม

3. ควรมีการแต่งตั้งและมอบหมายให้มีหน่วยงานข้อมูลข่าวสารโดยตรง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท