สิ่งที่ได้เรียนรู้2


สิ่งที่ได้เรียนรู้ (21-22 มกราคม 2555)

   บทบาทภาคเอกชนในการดูแลสุขภาพ

          องค์กรภาคเอกชน  เป็นบทบาทที่ได้รับการยอมรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ  เนื่องจากเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน  และมีความคล่องตัวในการทำงาน  ด้วยธรรมชาติ  วิธีคิด  วิธีการทำงานที่มีความแตกต่างและหลากหลาย  จึงทำให้องค์กรภาคเอกชนกลายเป็นพลังนอกระบบภาครัฐที่มีศักยภาพ

          ในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข  องค์กรภาคเอกชนได้เข้ามามีบทบาทในการร่วมงานกับภาครัฐอยู่หลายลักษณะ  ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนนโยบายของภาครัฐ  และการดูแลสุขภาพของประชาชน  ซึ่งในบทเรียนได้เรียนรู้บทบาทของมูลนิธิฉือจี้ของประเทศไต้หวัน  ที่โดดเด่นในกิจกรรม "จิตอาสา"  และ "การดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์"  และนอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งของวัดคำประมง  จังหวัดสกลนคร  ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่าจะไปศึกษาดูงานเพิ่มเติมเป็นอย่างยิ่ง

         ดังนั้นในการพัฒนางานด้านสาธารณสุข  เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาประสบผลสำเร็จและมีควมยั่งยืน  ควรที่จะมีการแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรภาคเอกชนด้วย

 การบริหารเงิน(Financial Management)

           เงิน เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบต่างๆ รวมถึงในระบบบริการสาธารณสุขด้วย  ซึ่งในระบบทุนนิยมจะต้องใช้เงินในการดำเนินกิจการต่าง ๆ หากการบริหารเงินมีปัญหาอาจส่งผลต่อการทำงานได้ การบริหารเงินจึงเป็นเรื่องที่กว้างและมียุ่งยากแตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละองค์กร

หลักในการบริหารเงิน สรุปคร่าวๆได้ดังนี้

๑.รู้สถานการณ์ขององค์กรและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก คนในองค์กรต้องสามารถวิเคราะห์ตนเองได้อย่างถ่องแท้ รู้เขารู้เรา

๒.รู้องค์ประกอบสำคัญ  และเทคนิคที่ใช้บริหารด้านการเงิน การคลัง เครื่องมือที่สำคัญคือหลักการวิเคราะห์หาต้นทุนรายรับรายจ่าย รู้ระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งระเบียบการเงิน พัสดุ ทั้งหลาย

๓.ยึดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  กลยุทธ์  และสามารถกำหนดนโยบายเพื่อการพัฒนาได้สอดคล้องกับภารกิจและฐานะทางการเงินการคลัง

๔.สามารถกำหนดแผนปฎิบัติการทั้งรายรับ รายจ่าย ต้องสามารถรู้ว่าจะมีรายรับจากแหล่งใดบ้าง และมีรายจ่ายใดบ้างทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายอื่น ๆ  

๕.รู้วิธีวัดและวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินทั้งระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว

๖.รู้วิธีการบริหารจัดการความเสี่ยง

 

การบริหารคน (Human resource management)

        “คน”  เป็นหนึ่งในปัจจัยทางการบริหารที่สำคัญและยอมรับกันทั่วไป เรียกย่อ ๆ ว่า “4  M’  s”     อันประกอบด้วย บุคลากร หรือทรัพยากรมนุษย์ (Man)  เงิน (Money)  วัสดุ  อุปกรณ์ (Materials)  และการจัดการ (Management) จะพบว่าคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในการบริหาร เพราะหากขาดกำลังคน ก็จะไม่มีตัวขับเคลื่อนปัจจัยอื่น ๆ นั่นเอง เพราะฉะนั้น ในแต่ละองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญในการบริหารคนในองค์กรเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันคือ การบริหารงานบุคคล

หลักในการบริหารคน

๑.รู้สถานการณ์ขององค์กรและความต้องการด้านสุขภาพ  ความต้องการสิทธิของบุคคล  ตลอดจนความสามารถของสถานศึกษาและแหล่งผลิตกำลังคน  รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อม  และด้านคุณภาพมาตรฐานต่าง ๆ

๒.รู้องค์ประกอบสำคัญ  เช่นโครงสร้างองค์กร  การออกแบบการจัดบริการ  ระบบการพัฒนาบุคลากร  ระบบการให้รางวัลและสิ่งจูงใจ  ระบบคุณธรรมจริยธรรม

๓.ยึดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  กลยุทธ์  และสามารถกำหนดนโยบายในการพัฒนาคนได้สอดคล้องกับภารกิจขององค์กร

๔.สามารถกำหนดแผนการปฏิบัติงานได้เชื่อมโยงครอบคลุมทุกด้าน  ทั้งแผนคน  แผนงาน  และแผนเงิน 

๕.รู้วิธีวัดและวิเคราะห์สถานการณ์ทางกำลังคน  เช่น การใช้ Balanced Score Card  การใช้ดัชนีวัดด้านบุคคล  ประกอบด้วย  ความสุข  อัตราการย้าย-ลาออก  คุณภาพชีวิต  เป็นต้น

๖.รู้ความเสี่ยงด้านบุคคล  เช่น  การโยกย้าย  ไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน  เกิดความขัดแย้ง  ขาดความรู้  ไม่ให้ความร่วมมือ  ปัญหาสุขภาพ  เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 475853เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2012 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท