EGA
สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์(องค์การมหาชน) สรอ. Electronic Government Agency(Plublic Orgenization)

UN e-Government Readiness


United Nation e-Government Survey คืออะไร ?

  -"-"-"-"-"-"-"-"-"-'-"-"-"-"-"-"-"-"

Phase:1

            ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทที่สำคัญในการปฏิบัติงานทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งจะทำให้กระบวนการทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดียิ่งขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศด้านต่างๆเข้ามา

มีส่วนช่วยในการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ในระดับหนึ่ง เช่น  ระบบบริการยื่นชำระภาษีออนไลน์ ของกรมสรรพากร ระบบการจดทะเบียนพาณิชย์ออนไลน์ของกรุงเทพมหานครและการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐในระดับกรม กระทรวงเป็นต้น.

ทำไมต้องเป็น e-Government.? คุณเคยมีคำถามเช่นนี้บ้างหรือไม่

คำตอบคือ ในการที่จะก้าวเข้าสู่ ประเทศที่มีศักยภาพ เราจำเป็นจะต้องใช้วิทยาการและแนวคิดสมัยใหม่เป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อลดช่องว่างและระยะห่างระหว่างประเทศที่กำลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะช่องว่างนี้จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งตัวเทคโนโลยีจะเป็นตัวเชื่อมโยงระบบระหว่างชุมชนและสังคม เพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสาร ในวิถีเศรษฐกิจแนวใหม่ e-Government จึงเป็นกระบวนการปฏิรูประบบการปฏิบัติงานภาครัฐที่ต้องยึดเอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง และสร้างสังคมสารสนเทศ  เพื่อให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงข้อมูล บริการต่างๆของภาครัฐได้อย่างสะดวก ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการใช้บริการ และเพิ่มความโปร่งใสในการทำงานของภาครัฐ          จากการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของสหประชาชาติ (UN e-Government Readiness) เมื่อปี ค.ศ. 2010 ที่ผ่านมาพบว่า ไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 76 จากจำนวนประเทศทั้งหมด 192 ประเทศ ซึ่งในปี ค.ศ. 2008 ไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 64 ปี ค.ศ. 2005 ไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 46 นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึง สิ่งที่จะต้องปรับปรุงและพัฒนาในจุดที่ด้อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถที่จะยืนอยู่บนเวทีโลกได้อย่างภาคภูมิ

จากข้อมูลข้างต้น UN e-Government Readiness มีความน่าสนใจอย่างไรและ เกี่ยวข้องกับ e-Government ในบ้านเราอย่างไรนั้น เรามาหาคำตอบกันในส่วนถัดไปค่ะ.

United Nation e-Government Survey คืออะไร ?

United Nation e-Government Survey คือ รายงานการจัดอับดับความพร้อมของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government Readiness) ขององค์การสหประชาชาติ โดยได้จัดทำตัวชี้วัดขึ้นมาเรียกว่า e-Government Development Index (EGDI)  ซึ่งทำการเผยแพร่รายงานผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2003 จนถึงปัจจุบัน โดยได้ดำเนินการจัดทำรายงานทุกๆ 2 ปี จากประเทศสมาชิกจำนวน 192 ประเทศทั่วโลก โดยวัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อ (1) ประเมินเปรียบเทียบความสามารถของประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติในการเปลี่ยนแปลงภาครัฐโดยการนำ ICT มาใช้เพื่อให้บริการผ่านสื่อออนไลน์แก่ประชาชน (2) เพื่อเป็นเครื่องมือในการ Benchmark ความก้าวหน้าในการให้บริการ e-Services ของภาครัฐ

            ดัชนีการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์สหประชาชาติ

(e-Government Development Index :EGDI) เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นการวัดผลที่ได้รับความน่าเชื่อถือต่อกำลังการผลิตของภาครัฐ และยังเป็นตัวกำหนดทิศทางของการพัฒนา e-Government เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Connected Government) ให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการนำนวัตกรรมใหม่ๆมาใช้เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ในการให้บริการในด้านต่างๆ

United Nation e-Government Development Index ประกอบด้วยดัชนีย่อย 3 ด้าน

1. Telecommunication Infrastructure Index ซึ่งประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัดหลักๆ คือ

- จำนวนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลต่อประชากร 100 คน

- จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 100 คน

- จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านต่อประชากร 100 คน

- จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้งานโทรศัพท์มือถือต่อประชากร 100 คน

- จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงต่อประชากร 100 คน

2. Online Service Index ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ e-Government Model ที่แบ่งระดับของการให้บริการทางออนไลน์ของ e-Government เป็น 4 ขั้นตอน (อ้างอิงตาม United Nations e-Government Survey 2010)

ประกอบด้วย

- Emerging Online Services

- Enhanced Services

- Transactional Services

- Connected Services

3. Human Capital Index  ประกอบด้วย

- อัตราการรู้หนังสือในผู้ใหญ่

- อัตราส่วนของผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน

นอกจากนี้ ในรายงานยังมีการจัดทำดัชนีที่สำคัญอีก 1 ตัวคือ

e-Participation Index ซึ่งทางองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสนใจ และนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดอันดับการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน ถึงแม้ว่า จะไม่ได้เป็นดัชนีที่นำมาใช้ในการจัดอันดับโดยตรง แต่ดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน e-Participation Index) เป็นการประเมินการมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพและเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการให้บริการแก่ประชาชน แบ่งระดับของการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประชาชน (e-Participation Index) ออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย

-          E-Information

-          E-Consultation

-          E-Decision making

Connected Government คืออะไร รายละเอียดเจาะลึกของดัชนีย์แต่ละตัวและConnected Governmentมีความเกี่ยวข้องกับ e-Government อย่างไรนั่น จะมาเล่าในครั้งต่อไปนะค่ะ...

               "-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-"-                                                                                  

 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน EGA
หมายเลขบันทึก: 475777เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2012 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

  ขอบคุณค่ะ อาจารย์จัน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท