XIII


ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่วิ่งไล่กวดไขว่คว้าเพื่อให้ได้มาซึ่ง “อิสรภาพ” ในการดำรงชีวิตในทุก ๆ ด้าน แต่กาลผ่านไปกลับกลายเป็นว่า อิสรภาพถูกกำกับและบังคับไว้ด้วยปัจจัยภายนอกคือ “วัตถุ” นัยคือ

              - เมื่อหาวัตถุเสพได้มากขึ้น จะทำให้ได้รับความสุขเพิ่มขึ้น

              - เมื่อหาวัตถุเสพได้น้อยลง จะทำให้ได้รับความสุขลดลง

“อิสรภาพที่ถูกพันธนาการรอบด้านไปด้วยวัตถุ จะบรรลุซึ่งอิสรภาพแท้จริงได้อย่างไร”

“ความกล้าที่ยิ่งใหญ่ในการปลดปล่อยอิสรภาพก็คือ “กล้าที่จะก้าวออกมาจากกับดักของทัศนะคติและพฤติกรรม” ที่ถูกพันธนาการด้วย “วัตถุ” นั่นต่างหาก”

 

 

 

 

“การที่มนุษย์ไม่สามารถมีความสุขด้วยตัวเองและต้องคอยเพิ่มปริมาณของวัตถุภายนอกมากขึ้น เพื่อให้ตนเองมีความสุข อันนี้ในแง่ของพระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์สูญเสียอิสรภาพ กลายเป็นผู้ขึ้นต่อสิ่งภายนอก ความสุขของเขาขึ้นต่อวัตถุ เป็นการมองสวนทางกันกับแนวคิดตะวันตก ซึ่งมองว่า เป็นความยิ่งใหญ่หรือความมีอิสรภาพของมนุษย์ที่สามารถไปเอาวัตถุมาบำรุงบำเรอตนให้พรั่งพร้อมได้ แล้วตนก็จะมีความสุขเต็มที่ แต่พุทธศาสนากลับมองว่า การรอความสุขจากวัตถุบำเรอพรั่งพร้อมเต็มที่นั้นคือ การสูญเสียอิสรภาพ”

จากหนังสือ “วาทะธรรมเพื่อการพัฒนาตนของ พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) หน้า. ๓๙๗




คำสำคัญ (Tags): #ข้อคิด
หมายเลขบันทึก: 475371เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2012 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท