กฏหมาย SOPA / PIPA


กฏหมาย SOPA / PIPA ของประเทศสหรัฐอเมริการ กลายเป็นประเด็นสำคัญของบรรดาผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต เพราะจะเป็นกฎหมายที่ส่งผลกระทบให้กับเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายให้อำนาจในการจัดการเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธ์ และปิดเว็บไซต์ได้โดยการบล็อกไอพี

กฏหมาย SOPA / PIPA ของประเทศสหรัฐอเมริการ กลายเป็นประเด็นสำคัญของบรรดาผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต  เพราะจะเป็นกฎหมายที่ส่งผลกระทบให้กับเว็บไซต์มากมายที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากกฎหมายให้อำนาจในการจัดการเว็บไซต์ที่ละเมิดลิขสิทธ์ และปิดเว็บไซต์ได้โดยการบล็อกไอพี

SOPA ย่อมาจาก  Stop Online Piracy Act  หมายถึง กฎหมายป้องกันการละเมิดลิขสิทธ์ออนไลน์

PIPA ย่อมาจาก Protect Intellectual Property Act  หมายถึง กฏหมายป้องกันลิขสิทธิ์ทางปัญญา

สองกฎหมายต่างกันตรงที่กฎหมายป้องกันการละเมินลิขสิทธิ์ออนไลน์ (SOPA) จะเน้นที่การละเมิดลิขสิทธิ์ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่นำเอาข้อมูล หรือบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่มีลิขสิทธิ์ไปเผยแพร่โดยไม่รับอนุญาต   จะต้องหยุดการกระทำ  โดยฟ้องที่เว็บไซต์ได้โดยตรงเน้นที่สื่อออนไลน์ต่าง ๆ   ขณะที่กฎหมาย PIPA จะแรงกว่าโดยการใช้กฎหมายปิดเว็บไซต์ด้วยการปิด IP ของผู้ให้บริการโดยไม่ต้องรอผ่านกระบวนการขั้นตอนของศาล   ทำให้เชื่อว่าน่าจะดำเนินการต่อผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ได้รวดเร็วขึ้น

มองในแง่ความถูกต้องชอบธรรมในสังคม   ก็ต้องยอมรับว่ากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ คุ้มครองผู้ผลิตและมีสร้างสรรค์ผลงาน    เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งและสมควรกระทำเพื่อให้นวัตกรรมและสารสนเทศต่าง ๆ ได้รับคามคุ้มครอง   

ขณะที่มุมมองบรรดาเว็บไซต์ทั้งหลาย  เป็นเรื่องที่ลำบากมากในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์ที่ตนเองให้บริการ  โดยเฉพาะบรรดาเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ที่มีข้อมูลเข้าสู่เว็บมากมายมหาศาลในแต่ละวัน   จะตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างไร  

หลายเว็บไซต์จึงออกมาต่อต้านกฎหมาย SOPA / PIPA อย่างหนัก   เพราะทุกเว็บไซต์จะได้รับผลกระทบในการให้บริการ  การโฆษณาในเว็บไซต์  การตรวจสอบข้อมูลในเว็บ  การปิดเว็บไซต์ได้ทันที่ถ้าเห็นว่ามีการกระทำผิด ฯลฯ 

เป็นอีกกรณีศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

...........................................................................................................

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 475358เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2012 00:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท