ข้าวโพดสีม่วงต้านมะเร็ง-ชะลอแก่


ข้าวโพดสีม่วง

สำเร็จ! ไทยพัฒนาข้าวโพดสีม่วงต้านมะเร็ง-ชะลอแก่ (กรมประชาสัมพันธ์)

         ศูนย์ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง ประสบความสำเร็จในการพัฒนาและปลูกข้าวโพดเหนียวพันธุ์แฟนซีสีม่วง 111 และพันธุ์สีขาวม่วง 212 พบคุณสมบัติเยี่ยมด้านการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดโอกาสการเกิดโรคมะเร็ง เตรียมเก็บเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้รุ่นแรก เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรที่สนใจ

 ทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดตรัง ประสบความสำเร็จ ในการปลูกข้าวโพดเหนียว พันธุ์แฟนซีสีม่วง 111 และพันธุ์แฟนซีสีขาวม่วง 212 จากการพัฒนาสายพันธุ์มาจาก ข้าวโพดสีม่วงผสมกับข้าวโพดเหนียว ทำให้ได้ข้าวโพดเหนียวสีม่วง ที่มีฝักใหญ่ รสชาตินุ่มลิ้น หวานและเหนียว 

    โดย สีม่วงเข้มในเมล็ดนั้น เป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งชนิดเนื้องอก เสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรคและสมานแผล เสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง ชะลอการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและชะลอความแก่

         นอกจากนี้ ข้าวโพดพันธุ์ดังกล่าว ยังให้ผลผลิตสูงถึง 2,500-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 60-70 วัน โดยขณะนี้ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง จะทำการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้รุ่นแรก เพื่อนำไปทำการขยายพันธุ์เพิ่ม ให้ได้ในปริมาณที่มากขึ้น ก่อนนำไปแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้สนใจ ทั้งในจังหวัดตรังและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อเผยแพร่การปลูกข้าวโพดพันธุ์ดังกล่าว สร้างรายได้เสริม โดยเฉพาะตลาดคนรักสุขภาพให้การตอบรับอย่างมาก ซึ่งหลังทดลองจำหน่ายฝักสดแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชม ภายในศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง ปรากฏว่าปริมาณสินค้า มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยวเลยทีเดียว

         ทั้งนี้ ข้าวโพดแฟนซีสีม่วง กำลังได้ความสนใจจากเกษตรกร ซึ่งทางศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดตรัง จะส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปปลูกในไม่ช้านี้ ซึ่ง เชื่อว่าข้าวโพดเหนียวสีม่วงนี้ จะเป็นที่นิยมรับประทานเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีรสชาติดี คุณค่าทางอาหารสูง และเหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณที่มาจาก www.postjung.com

คำสำคัญ (Tags): #kmanw2
หมายเลขบันทึก: 475190เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลและภาพ น่าปลูกจังนะคะ เสียดายที่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดตรังหรือจังหวัดใกล้เคียง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท