Outliers: “คนจน” ก็รวยได้ ?


“ไอคิว 150 ก็เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงโลกแล้ว” ที่เหลือล้วนแต่เป็นทักษะประเภทอื่น เช่น ศิลปะการเล่าเรื่อง ซึ่งกลายเป็นปัจจัยตัดสินที่โน้มน้าวใจให้เครือข่ายรอบตัวสนับสนุนทรัพยากรให้ตัวเราใช้เป็นทุนรอนในการสร้างฝันให้เป็นจริง

โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์

 

Outliers คือ สุดยอดหนังสือ How to ที่ช่วยเปิดโปงให้เห็นว่า เหตุใดคนที่ฉลาดเฉียบแหลมที่สุด จึงยังไม่ใช่ผู้ชนะตัวจริงของทุกสมรภูมิการแข่งขัน และหากชัยชนะเป็นสิ่งหอมหวานยั่วยวนสำหรับคุณ ก็ต้องรู้จักเปิดหูเปิดตาเพื่อค้นหา “ปัจจัยซ่อนเร้น” ที่บางครั้งก็ธรรมดาสามัญมากๆ จนทุกคนมองข้ามไป และเมื่อสามารถเข้าไปยึดกุมปัจจัยทั้งหลายได้แล้วเทพีแห่งโชคย่อมยืนอยู่ เคียงข้างคุณ

Malcolm Gladwell ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ คือ อัจฉริยะในการเล่าเรื่อง ที่ร้อยปียากพบพาน แต่น่าเสียดายที่ผู้เขียนเพียงแต่ชี้ให้เห็นถึง ปัจจัยมากมายที่มีผลต่อความสำเร็จ โดยไม่ได้บอกกล่าวถึงวิธีการในการครอบครองปัจจัยเหล่านั้น ซ้ำร้ายกว่านั้น ผู้เขียนยังมักจะโยนความผิดให้กับโชคชะตาที่ดลบันดาลให้คนบางคนได้รับปัจจัย เหล่านั้นมาโดยบังเอิญ

 

Outliers จึงเป็นเสมือนสุดยอดคัมภีร์แห่งความสำเร็จเพียงครึ่งเล่ม ซึ่งเมื่ออ่านจบลงแล้ว บางคนอาจจะยิ่งท้อแท้หนักกว่าเดิม เพราะหลงเชื่อว่าปัจจัยชี้ขาดถูกกำหนดโดยโชคชะตาให้กับคนพิเศษเพียงบางคน เท่านั้น

เพื่อไม่ให้นิทานเรื่องนี้จบลงอย่างเศร้าสร้อยเกินไป จึงอยากนำเสนอ “Outliers ฉบับแฮปปี้เอนดิ้ง” ที่สร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยได้มองเห็นว่า ความสำเร็จทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นได้ หากรู้จักวางกลยุทธ์

1. คัดเลือก “สนามรบ” เพื่อฝึกฝนให้ครบ 10000 ชั่วโมง

Outliers ได้เผยให้เห็นว่า นักกีฬาและนักดนตรีที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าอาศัยพรสวรรค์เป็นใบเบิกทางนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากโอกาสทั้งโดยบังเอิญและจงใจที่เอื้อให้พวกเขาได้รับสิทธิ พิเศษในการฝึกฝนจนครบ 10000 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำของผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

แต่หากเราเกิดในช่วงปลายปีซึ่งทำให้เสียเปรียบในการคัดเลือกตัวนักกีฬา และยังไม่มีโอกาสในการฝึกซ้อมดนตรีร่วมกันวันละ 8 ชั่วโมงในเมือง ฮัมบูรก์เหมือนวงดนตรี The Beatles เราควรจะทำอย่างไรกับชีวิตที่เต็มไปด้วยความเสียเปรียบเช่นนี้ ?

โชคดี ! ที่ฟ้าประทานโลกาภิวัตน์ทำให้คนธรรมดามีทางเลือกในการแข่งขันได้มากมายเช่น นี้ คนที่เสียเปรียบในสนามแข่งขันอันหนึ่ง จึงสามารถเลือก “สนามอื่น” เพื่อฝึกฝนตนเองให้ครบ 10000 ชั่วโมง

กีฬาบางประเภทต้องเล่นเป็นทีม ดังนั้นจึงต้องพึ่งพาการคัดตัวของโรงเรียน เพื่อสร้างโอกาสในการฝึกฝนลับคมฝีมือ แต่ก็ยังมีกีฬาอีกมากมายที่สามารถฝึกฝนโดยใช้ความขยันหมั่นเพียรส่วนบุคคล เพื่อแซงหน้าเข้าสู่ทีมชาติในอนาคตได้

หากไม่มีโอกาสที่เอื้ออำนวยให้ฝึกซ้อมวงดนตรีอย่างเอาเป็นเอาตายเหมือน The Beatles แต่ยุคสมัยนี้ก็สามารถฝึกฝนเพียงลำพังเพื่อให้ครบ 10000 ชั่วโมง เพื่อเป็นศิลปินเดี่ยวได้ไม่ยากนัก

แน่นอนว่า Bill Gates คือ ผู้โชคดีที่ได้เกิดในช่วงปี 1952-1958 ทำให้เหมาะสมในการบุกเบิกตลาดคอมพิวเตอร์ซึ่งจะเติบโตยิ่งใหญ่ในอนาคต แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่เกิดในช่วงเวลาที่ไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ จะไม่สามารถร่ำรวยมหาศาลได้โดยการสร้างตัวจากอุตสาหกรรมประเภทอื่นที่ตนเอง มีความถนัดมากกว่า

สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การมองหางานที่รักเพื่อให้สามารถจดจ่อตัวเองในการฝึกฝนฝีมือจนครบ 10000 ชั่วโมง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยหากตัวเราไม่มีความหลงใหลอย่างเพียงพอ

ตัวเลข 10000 ชั่วโมง ยังมีความหมายที่ลึกซึ้งว่า มนุษย์มีความจำกัดที่จะเชี่ยวชาญได้เพียงไม่กี่เรื่อง ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจที่จะเติบโตในอาชีพใด ก็ควรที่จะคำนวณทางหนีทีไล่ให้ดีเสียก่อน หากค้นพบว่า ยังขาดคุณสมบัติที่เหมาะสม ก็ควรจะถอนตัวออกมาจากกิจกรรมนั้น เพื่อรักษาเวลา สำหรับฝึกฝน 10000 ชั่วโมงที่ตัวเราสามารถเป็นเจ้าสนามได้อย่างแท้จริง

2. สร้างประโยชน์จาก “เครือข่ายรอบตัว”

Chris Langan มีไอคิว 195 ซึ่งเหนือกว่าไอนสไตน์ที่มีไอคิว 150 แต่คนทั้งโลกกลับรู้จักและยกย่องความอัจฉริยะของไอนสไตน์ ในขณะที่แทบจะไม่มีใครเคยได้ยินชื่อของ  Chris Langan หากเขาไม่ได้คัดเลือกมาเล่นเกมโชว์ที่โด่งดังของอเมริกา

Chris Langan โชคร้าย ! ที่เกิดมาในสภาพแวดล้อมแห่งความยากไร้และขาดแคลน เขาจึงไม่มีโอกาสได้ฝึกฝนศิลปะการเล่าเรื่อง (Story Telling) ที่ทำให้ Oppenheimer นักฟิสิกส์อัจฉริยะรุ่นเดียวกับไอนสไตน์ รอดพ้นจากการถูกไล่ออกจากโรงเรียน และสามารถใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวให้ผู้มีอิทธิพลในโครงการสร้างระเบิด ปรมาณูแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่งตั้งเขาเป็นหัวหน้าโครงการ ทั้งๆที่อาจจะมีนักฟิสิกส์คนอื่นที่เหมาะสมกว่าก็ตาม

“ไอคิว 150 ก็เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงโลกแล้ว” ที่เหลือล้วนแต่เป็นทักษะประเภทอื่น เช่น ศิลปะการเล่าเรื่อง ซึ่งกลายเป็นปัจจัยตัดสินที่โน้มน้าวใจให้เครือข่ายรอบตัวสนับสนุนทรัพยากร ให้ตัวเราใช้เป็นทุนรอนในการสร้างฝันให้เป็นจริง

หากว่า Chris Langan ได้รับรู้สัจธรรมที่ล้ำลึกนี้ ตั้งแต่สมัยเป็นนิสิตนักศึกษา โลกใบนี้ก็อาจมีไอนสไตน์คนที่ 2 ก็เป็นได้

Bill Gates ไม่ใช่ยอดฝีมืออันดับ 1 ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่เขามี “ทักษะอื่นๆ” ที่จำเป็นในการสร้างไมโครซอฟต์ให้กลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ของโลก และยังทำให้เขาเป็นเศรษฐีอันดับ 1 ของโลกติดต่อกันหลายปี

ไมโครซอฟต์ไม่ได้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดในโลก แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำเงินที่สุดในโลก

ไทเกอร์ วูดส์ ในสมัยที่ยังไม่ได้ขึ้นแท่นเป็นนักกอล์ฟอันดับ 1 ของโลก ก็ยังสามารถทำเงินได้มากกว่าคนที่มีอันดับสูงกว่า เนื่องเพราะวงสวิง ที่สวยงามของไทเกอร์วูดส์ถูกใจผู้ชมมากกว่านักกอล์ฟอื่นใด

ไมค์ ไทสัน ในยามตกอับก็ยังสามารถได้รับค่าตัวที่สูงกว่าแชมป์โลกบางคน เนื่องเพราะลีลาการชกที่ดุดันและชื่อเสียงในอดีตของเขานั้น ได้ติดตราตรึงใจแฟนมวยมิรู้ลืม

10000 ชั่วโมงแรก ต้องเลือกที่จะทุ่มเทให้ทักษะเฉพาะทาง หากทว่า 10000 ชั่วโมงถัดจากนี้ จะต้องบริหารให้ดีระหว่างทักษะเฉพาะทาง หรือทักษะสนับสนุน เพื่อให้ตัวเราสามารถบรรลุความฝันในสนามแข่งขันที่ได้เลือกเฟ้นมาอย่างดี แล้ว

3. สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการทำงานเป็นทีม

The Beatles โชคดี ! ที่ได้ไปเล่นดนตรีในเมืองฮัมบูร์ก จึงสามารถฝึกฝนทักษะการเล่นดนตรีร่วมกันจนครบ 10000 ชั่วโมง

แต่เบื้องหลังความสำเร็จในการปลุกปั้น “4 เต่าทอง” จนบรรลุพรสวรรค์ล้ำเลิศในการเล่นดนตรีร่วมกัน คือ ยอดชายเหนือชายที่ชื่อ Brian Epstein ซึ่งรับหน้าที่ผู้จัดการทีม ตั้งแต่ The Beatles ยังเป็นวงดนตรีข้างถนนอยู่ในเมืองลิเวอร์พูล

ภายหลังการเสียชีวิตของ Brian Epstein ในปี 1967 ได้ทำให้ The Beatles เกิดความระส่ำระสายครั้งใหญ่ ทั้งในเชิงการบริหารจัดการเงินและความรู้ด้านธุรกิจ แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การเป็นพี่เลี้ยงที่เปรียบเสมือนเพื่อนและพ่อของ  Brian Epstein ที่คอยเป็นกาวใจประสานให้ 4 หนุ่มแห่งเมืองลิเวอร์พูลสามารถทำงานกันได้อย่างรื่นรมย์

แน่นอนว่า The Beatles ได้ผ่านชั่วโมงบินมาเกิน 10000 ชั่วโมงไปไกลโขแล้ว จึงสามารถใช้ทุนรอนทางดนตรีส่วนตัวในการผลิตผลงานยิ่งใหญ่ไปได้อีกหลายเพลา แต่ถึงที่สุด พรสวรรค์ทางดนตรีของแต่ละคนก็ไม่สามารถที่จะเจิดจ้าถึงที่สุดในฐานะThe Beatles ได้อีกต่อไป จึงต้องอำลาจากกันอย่างขมขื่นในปลายปี 1969

สายการบิน Korean Air ได้ชื่อว่าเป็นสายการบินที่ประสบอุบัติเหตุสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งๆที่ทักษะของนักบินไม่ได้ด้อยกว่าสายการบินอื่นๆเลย

Outliers ได้สรุปให้เห็นอย่างน่าเชื่อว่า “วัฒนธรรมอำนาจ” ได้ขัดขวางการทำงานเป็นทีมของเหล่านักบิน จึงทำให้ความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละคนไม่สามารถแสดงศักยภาพได้ตามที่ควรจะ เป็น

การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร เช่น การบังคับให้พนักงานทุกคนใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ได้ทำให้ลดช่องว่างในการสื่อสารตามลำดับชั้นตามแบบวัฒนธรรมเกาหลี จึงทำให้ความเชี่ยวชาญของแต่ละคนสามารถทำงานประสานเสริมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

อัจฉริยภาพที่เกิดจากการฝึกฝน 10000 ชั่วโมง จะไม่สามารถบรรลุศักยภาพสูงสุดได้ หากไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะมองเห็น “สายใยเล็กๆ” ที่เชื่อมร้อย 10000 ชั่วโมงของเรา ให้สั่นพ้องกับ 10000 ชั่วโมงของผู้อื่นในทีมงานเดียวกัน

โชคร้าย ! คือ ทีมงานที่ดีมีจำกัด และบางครั้งเราอาจเป็นนักบินที่ต้องสังเวยชีวิต ก่อนที่ Korean Air จะเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาง่ายๆเช่นนี้ ดังนั้น วิธีที่ฉลาดกว่า คือ การย้ายจาก Korean Air ไปทำงานในสายการบินที่มีสถิติของอุบัติเหตุน้อยกว่านี้

จงใช้ 10000 ชั่วโมงแห่งความชำนาญ ในการเจรจาต่อรองเพื่อพาตัวเองเข้าไปสู่ทีมงานที่มีสายใยเล็กๆ ซึ่งแข็งแกร่งเหนียวแน่นที่สุด

4.  จงเป็น Outliers ในสาขาที่ Outliers

โชคร้าย ! ที่ภาษาอังกฤษ ไม่เอื้ออำนวยในการฝึกฝนวิชาคณิตศาสตร์ จึงทำให้คนจีนมีความสามารถด้านคณิตศาสตร์เหนือล้ำกว่าคนตะวันตก

แต่ความโชคร้ายนี้ ก็ไม่ควรทำให้ใครต้องท้อถอย เพราะจะเห็นว่า การประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น ไม่ได้ตัดสินชี้ขาดที่คณิตศาสตร์

แน่นอนว่า Bill Gates ยอดชายที่รวยที่สุดในโลกอาจจะมีทักษะทางคณิตศาสตร์ดีเยี่ยม แต่สิ่งที่ทำให้เขารวยที่สุดในโลก คือ การเป็น Outliers ในอุตสาหกรรมไอที ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ Outliers ในการเติบโตและทำเงินที่สุดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

ยิ่งกว่านั้น เนื้อหาที่นำเสนอในหนังสือ Outliers ยังถูกโจมตีจากผู้รู้ในหลายสาขาวิชาว่าอาจจะไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงทั้งหมด

ดังนั้น คุณูปการของหนังสือเล่มนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่ความถูกต้องของเนื้อหา แต่อยู่ที่ “วิธีคิด” ในการมองโลกด้วยสายตาที่แตกต่างเพื่อจะค้นหาปัจจัยเล็กๆ ที่ถูกละเลยมองข้ามไป ซึ่งอาจจะกำหนดชะตากรรมความสำเร็จล้มเหลวของชีวิตคุณ

หน้าที่ในการมองหากลยุทธ์เพื่อนำพาชีวิตเข้าสู่การเป็น Outliers ไม่ใช่หน้าที่ของหนังสือ Outliers แต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา หากปรารถนาจะลิ้มรสอันหอมหวานในการยกระดับชีวิตธรรมดาที่แสนน่าเบื่อให้กลาย เป็น Outliers ที่คนทั้งโลกต้องจับตามองอย่างชื่นชม

หมายเลขบันทึก: 474976เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2012 18:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับอาจารย์

หนังสือชวนอ่านมากขึ้น

เพราะอาจารย์เขียนได้ชวนอ่านเช่นกันครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ คุณเจริญชัย

ขอบคุณมากๆ นะคะ สำหรับบทความนี้ที่เปิดมุมมองในการอ่านหนังสือของปรางให้เปิดกว้างอีกหนึ่งมิติ

ขอบคุณค่ะ ^_^

เล่มนี้ดีมากๆครับ

ผมเอาไปใช้เรื่อง 10000 ชั่วโมงครับ

เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์

ขอบคุณครับ ถ้าหากฝึกฝนอย่างถูกวิธี ก็อาจใช้เวลาไม่ถึง 10000 ชั่วโมงได้ครับ

อยากแนะนำอีกเล่มครับ ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยอ่านแนวฝึกฝนความเป็น Talent มานะครับ

http://www.amazon.com/Talent-Code-Greatness-Born-Grown/dp/055380684X

มาทวงบันทึกใหม่จากอาจารย์ครับ

เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์

รอสักนิดครับ เดี๋ยวจัดให้ "ชุดใหญ่"

ถ้าผมลืมอีก ก็ทวงได้นะครับ ช่วงนี้ยุ่ง แต่ก็มีผลงานออกมามากทีเดียวครับ

ครับ ตั้งตารอครับอาจารย์

  • ตามมาอ่าน
  • มีเล่มอื่นอีกไหมครับ
  • หายไปนานมาก
  • จะได้พบในงาน HA ไหมครับ

ขอบคุณที่ติดตามอย่างใกล้ชิดอบอุ่นนะครับ

ผมจะไปพูดในงาน HA วันที่ 14 มีนาคม 2555 เวลา 13.00-14.30 ที่ห้อง Sapphire 203

หากท่านใดสะดวกก็ไปฟังและทักทายกันได้นะครับ

ซาบซึ้งในมิตรภาพครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท