ให้คะแนนนักเรียนอย่างไรจึงจะยุติธรรม


มีครูหลาย ๆ ท่านที่จัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความสามารถของนักเรียนที่ลดหลั่นกันไป ทำให้นักเรียนที่เรียนดีไม่มีความเบื่อหน่ายที่จะต้องรอนักเรียนที่เรียนอ่อน และนักเรียนที่เรียนอ่อนก็เรียนรู้อย่างมีความสุข

 

คนเรามีศักยภาพแตกต่างกัน  ระดับความสามารถที่แตกต่างกัน  ทำให้ครูผู้สอนมีความยากลำบากในการจัดการเรียนรู้ให้เท่าเทียมกัน  ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ที่นักเรียนจะรับจากครูได้เท่ากันเช่นกัน

ดังนั้นครูต้องศึกษานักเรียน  ที่เรียกกันว่า  ศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล  ครูจึงสนใจนักเรียนมากขึ้น  เรียนรู้ชีวิต  ความสนใจ  ความถนัด  และความต้องการของนักเรียน  นอกจากรู้ความสามารถของพวกเขาแล้ว 

ในจำนวนนักเรียน 40 คน  จะมีนักเรียนที่เรียนดีเพียงร้อยละ 20  เรียนปานกลางจำนวนร้อยละ  30 - 50  นอกนั้นเป็นนักเรียนที่เรียนอ่อนจำนวนร้อยละ 30 - 50

มีครูหลาย ๆ ท่านที่จัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความสามารถของนักเรียนที่ลดหลั่นกันไป  ทำให้นักเรียนที่เรียนดีไม่มีความเบื่อหน่ายที่จะต้องรอนักเรียนที่เรียนอ่อน  และนักเรียนที่เรียนอ่อนก็เรียนรู้อย่างมีความสุข

แต่วันนี้จะเจาะบันทึกถึงการให้คะแนนนักเรียนในการทำงานทุกประเภท

นักเรียนส่งงานครูทุกครั้ง  ครูจะมีเกณฑ์การให้คะแนน  ซึ่งมีตัวชี้วัดระดับความสามารถ  จึงจะให้คะแนนที่มีความเป็นธรรม  ซึ่งการทำเช่นนี้ทำให้นักเรียนมีความสุข  อย่างน้อยก็ได้คะแนนจากความสามารถของตนเอง

และที่สำคัญไปกว่านั้น  นักเรียนได้หยั่งรู้ถึงความสามารถของตนเอง  ยอมรับในความสามารถของตนเอง  ยอมรับความสามารถของเพื่อนด้วย  คุณสมบัตินี้ต้องฝึกให้นักเรียนมากๆ  เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคมในอนาคต

เช่น  นักเรียนสอบอ่านออกเสียง

เกณฑ์การให้คะแนน  น่าจะตั้งมีเกณฑ์ดังนี้

อ่านออกเสียงดัง  มีความมั่นใจ  มีความถูกต้องทุกคำ  ออกเสียงท้ายคำได้ชัดเจน  ได้คะแนน 8-10

อ่านออกเสียงอย่างไม่มั่นใจ  อ่านคำผิดบ้างเล็กน้อย  ออกเสียงท้ายคำได้ชัดเจนบ้าง  ได้คะแนน  5-7

อ่านออกเสียงไม่ดัง  อย่างไม่มั่นใจ  อ่านคำผิดมาก  ออกเสียงท้ายคำได้ชัดเจนบ้าง ไม่ชัดเจนบ้าง  ได้คะแนน  3-4

หรือตามความเหมาะสมของความสามารถ  และการสอบในแต่ละครั้ง

ในการสอบแต่ละครั้ง แต่ละเรื่อง  ครูผู้สอนตั้งเกณฑ์  และตัวชี้วัดไว้ จะทำให้การสอบง่าย  บริสุทธิ์  ยุติธรรม  นักเรียนก็ประจักษ์แก่ตนเองในเรื่องความสามารถ

ทำไว้เป็นหลักฐาน  ผู้ปกครองมาขอดูคะแนนของบุตรหลาน  ครูก็มีให้ดูอย่างชัดเจน 

นอกจากนั้น  หลักฐานคะแนนยังใช้เป็นหลักฐานในการทำวิจัยในชั้นเรียนได้อีกด้วย

คำสำคัญ (Tags): #student#classroom#teacher
หมายเลขบันทึก: 47460เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2006 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
กลับมาอ่านบันทึกเก่าๆของตัวเอง  แต่รายละเอียด  ไม่ได้เก่าเลย  หมายความว่า  ยังใช้..ได้ดีอยู่เสมอ  ยุติธรรมสำหรับนักเรียนด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท