มาตรฐานกิจกรรมบำบัด (KM นศ.กบ.)


ขอบคุณอ.วัฒนารี นักศึกษากิจกรรมบำบัด (นศ.กบ.) ม.มหิดล ชั้นปีที่ 2 และ 4 ที่ระดมความคิดตอบโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับมาตราฐานการประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัดฯ

คณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัด สำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำ "มาตราฐานการประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด" เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 คลิกอ่านได้จาก http://www.mrd.go.th/AC/view-info.asp?informationid=12

โจทย์หลัก: เราจะพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัดไทยได้อย่างไร

โจทย์ย่อยที่ 1: พัฒนาการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ในผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายอย่างไร

  • ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบในการทำกิจกรรม มากกว่า การทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิต
  • ให้ตระหนักถึงความสามารถและการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตมากกว่า (Top down approach)
  • การประเมินหรือดูความสามารถของผู้รับบริการ ที่สามารถทำได้โดยการคงความสามารถ หรือปรับกิจกรรม สิ่งแวดล้อม ให้สามารถทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ ได้ โดยกิจกรรมที่ทำจะต้องเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เพื่อให้ผู้รับบริการเกิด self-esteem (ความภาคภูมิใจในตนเอง)
  • คำนึงถึงการทำกิจกรรมในช่วงวัยนั้นๆ เช่น การทำงาน
  • แผนการปฏิบัติงานทั้งเชิงรับและเชิงรุก เช่น การทำงานในโรงพยาบาล ควรมีการติดตามผล   การเยี่ยมบ้าน  การปฏิบัติงานในชุมชน ทั้งการประเมิน การให้การบำบัดฟื้นฟู และการประเมินซ้ำ 
    • ระบบการทำงานในโรงพยาบาล จะต้องประสานงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอื่น เช่น พยาบาล โดยให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมจริงในโรงพยาบาล เช่น การช่วยเหลือตนเอง  
    • การจัดระบบให้ความรู้ เกี่ยวกับการดูแลผู้รับบริการให้ผู้ดูแล หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดในครอบครัว
  • นักกิจกรรมบำบัดต้องหาความรู้  เทคนิคที่ทันสมัย หรือสอดคล้องกับทีม
  • นักกิจกรรมบำบัดประชาสัมพันธ์วิชาชีพของตนเองให้กลุ่มผู้รับบริการ และทีมสหวิชาชีพอื่นได้ทราบข้อมูล
  • มีกระบวนการผลักดันการมีส่วนร่วมการทำงานกับชุมชน community participation
  • มีการสร้าง Clinical Practice Guideline, CPG ในกลุ่มผู้รับบริการอื่นๆ ซึ่งต้องรวมถึง EBP
  • ใน CPG ควรมี Frame of Reference, FoR  ที่ใช้ควบคู่กัน

โจทย์ย่อยที่ 2: พัฒนาการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ในผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตใจอย่างไร

  • Occupational Therapist, OT หรือ Occupational Therapy students, OTs ปรับมุมมองและทัศนคติ เจตคติ จะต้องมองผู้รับบริการเป็นบุคคลคนหนึ่งที่นักกิจกรรมต้อง/ตั้งใจให้ความช่วยเหลือ
  • ประเมินสิ่งแวดล้อม ที่อยู่หรือบุคคลรอบข้าง เช่น ครอบครัว (social support system)
  • OT เข้าไปมีบทบาทในครอบครัว ชุมชน ให้เข้าใจและยอมรับ ซึ่งเป็นการปรับทัศนคติของสังคม
  • OT มีส่วนร่วมในการนัดพบญาติ หรือการลงสู่ชุมชน  รวมทั้งการทำงานเป็นทีมร่วมกับวิชาชีพอื่น เช่น แพทย์ พยาบาล ผู้รับบริการ ญาติ
    • OT จะลดข้อจำกัดการทำงานในโรงพยาบาลจิตเวชได้อย่างไร
      • ระบบที่ทำงานประจำมากเกินไป อาจต้องเปลี่ยนเป็นรูปแบบการทำงานสู่ชุมชนเพิ่มขึ้น
      • การเก็บข้อมูลพื้นฐานทางกิจกรรม เพื่อนำเสนอผลแก่วิชาชีพอื่น (เพิ่มการวิจัย)
  • การทำงานร่วมกับชุมชน โดยให้ชุมชนเป็นผู้ดูแลผู้รับบริการในชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เช่น อสม รพสต

โจทย์ย่อยที่ 3: พัฒนาการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ในผู้ที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ (เด็ก) อย่างไร

  • เริ่มจากการดำเนินของโรคในผู้ป่วยเด็ก การเลี้ยงดูของพ่อแม่ การสืบค้นข้อมูลที่จำเป็นต่อการฟื้นตัวของโรคจากผู้ดูแลของเด็ก
  • การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองและนักกิจกรรมบำบัด ในหัวข้อ ความต้องการ ความคาดหวัง และความพร้อมในการพัฒนาความสามารถของเด็ก ซึ่งมีความสำคัญต่อกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด ตัวอย่าง คือ นักกิจกรรมบำบัด/ผู้ปกครองบันทึกทักษะการทำกิจกรรมของเด็ก/ลูกในสมุด เพื่อติดตามการพัฒนาที่มีความก้าวหน้าตามลำดับ 
  • สร้างแนวทางการสื่อสารให้พ่อแม่เข้าใจ เชื่อถือ ไว้ใจ และฝึกกิจกรรมบำบัดที่บ้านด้วยตนเอง

(Child & family approach – goal setting, home program & cooperative intervention plan)

  • กระบวนการช่วยเหลือผู้ปกครอง (Psychological support) ให้เกิดการยอมรับทางจิตวิทยาและปรับความคิดในการพัฒนาเด็กร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด รวมทั้งการสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เช่น ฝึกให้เห็นว่าเด็กใส่รองเท้าได้ หลังจากที่ไม่เคยทำมาก่อน
  • ควรอธิบายเหตุผลทางคลินิกที่ชัดเจนของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด เช่น การฝึกทักษะและบทบาทการเล่นของเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจบทบาทที่แตกต่างกันระหว่างนักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา ครูการศึกษาพิเศษ และวิชาชีพอื่นๆ
  • นักกิจกรรมบำบัดควรใส่ใจในการสร้างกิจกรรมแบบเพิ่มแรงจูงใจสู่ความภาคภูมิใจในตัวเด็กด้วย รวมทั้งการกระตุ้นบทบาทในชีวิตของเด็กได้อย่างมั่นใจ เช่น เด็กมีบทบาทเป็นลูก นักเรียน และคนดี โดยมีการติดตามการแสดงความสามารถของเด็กในบริบทจริง เช่น ในโรงเรียน
  • การส่งเสริมการพัฒนาเด็กในชุมชนนั้น นักกิจกรรมบำบัดควรประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบงบประมาณในการพัฒนาเด็กในชุมชน และเปิดโอกาสให้เกิดศูนย์การเรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมบำบัดด้วยตนเอง (Self-management programs) ในชุมชนผ่านความร่วมมือในผู้ปกครองแต่ละครอบครัว พร้อมติดตามความก้าวหน้าของเด็กโดยสร้างเครือข่ายชุมชน เช่น กลุ่มพ่อแม่ของเด็กที่มีความบกพร่องเหมือนกันเกิดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงวิธีการ วางแผน ให้ความรู้ ในการพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
  •  การประชาสัมพันธ์งานกิจกรรมบำบัดกับการพัฒนาเด็กในชุมชนก็เป็นโครงการที่สำคัญ อาจเริ่มเครือข่ายจากกลุ่มพ่อแม่ของเด็กสู่การป้องกันโรคในระดับชุมชน – พัฒนานักกิจกรรมบำบัด พัฒนาผู้รับบริการทางกิจกรรมบำบัด และพัฒนาการมีส่วนร่วมในชุมชน

โจทย์ย่อยที่ 4: พัฒนาการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ในผู้ที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ (ผู้สูงอายุ) อย่างไร

  • นักกิจกรรมบำบัดมุ่งเน้นการเพิ่มกำลังใจ ความเชื่อมั่นในสมรรถนะ ความมั่นใจ (องค์ประกอบของสุขภาพจิต) ในผู้สูงอายุ
  • ในบริบทของกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกัน เช่น รพ. ชุมชน เป็นต้น แต่นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทในระบบการสนับสนุนทางสังคม (Social Support System, SSS) การมีกิจกรรมยามว่าง การมีบทบาทของผู้สูงอายุในสังคม
  • แนวโน้มของประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น นักกิจกรรมบำบัดจะมีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long term care) โดยส่งเสริมการทำกิจกรรมยามว่างสู่อาชีพที่ชอบ มีคุณค่า และเป็นผลิตผล (Productivity) จากทักษะความสามารถที่ผู้สูงอายุมีอยู่ และนำมาสู่การเล่าความรู้แก่ลูกหลาน
  • การทำกิจกรรมจะลดลงตามอายุที่มากขึ้นเกิน 80 ปี นักกิจกรรมบำบัดควรสังเกตรูปแบบของกิจกรรมที่ไม่ออกแรงมาก แต่มีการคิดทบทวนอดีตที่ประสบความสำเร็จ พร้อมๆ กับการบอกเล่าสู่ลูกหลาน อาจบอกให้ลูกหลานช่วยกันทำกิจกรรม
  • การส่งเสริมเปิดชมรมผู้สูงอายุ เช่น การสนับสนุนกลุ่มทำอาหารภายใต้การดูแลของนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งผู้สูงอายุอาจไม่มีโอกาสได้ทำอาหารที่บ้าน เนื่องจากญาติกลัวอันตราย
  • กลุ่มกิจกรรมอาจปรับตามสมาชิกที่มีอายุใกล้เคียวกัน มีอาการของโรคคล้ายกัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับรุ่นถ่ายทอดสู่รุ่นอื่น ๆ เช่น Baby Boomer สู่ Generation X
  • ควรประเมินระดับความคิดความเข้าใจที่แตกต่างกันในผู้สูงอายุ (Cognitive Levels) เพื่อจัดกิจกรรมการดำเนินชีวิตได้เหมาะสม
  • ควรนำเสนอกรอบอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ เช่น Psycho-Spiritual Integration, PSI เน้นจิตวิญญาณและคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุก่อนใกล้อำลาโลกนี้
  • ผู้สูงอายุจะมีความเชื่อ ความคิด ศาสนา วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้นก่อนตายของผู้สูงอายุ นักกิจกรรมควรเพิ่ม Well-being จนวาระสุดท้าย เช่น ผู้สูงอายุท่องบทสวดและคิดสิ่งดีๆ เพื่อไปเกิดในภพภูมิที่ดี (บทบาทผู้ดูแล และสหวิชาชีพ) แต่นักกิจกรรมบำบัดพยายามจัดกิจกรรมการดำเนินชีวิตตามความต้องการสุดท้ายของผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมจิตใจให้พร้อมต่อการสูญเสียของญาติด้วย
หมายเลขบันทึก: 474444เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2012 14:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจจากคุณหมอ ป.

ขอบคุณมากครับอาจารย์ ดร. จันทวรรณ

ขอ อนุญาต เอาเนื้อหาบางส่วนไปเป็นแนวทางในการทำข้อสอบ นะค่ะ อาจารย์ :)

ขอโทษนะคะอ.ป๊อป คือ อยากอ่านรายละเอียดของมาตรฐานวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ซึ่งที่อ.ลงเว็บไว้ให้ ไม่สามารถเปิดดูได้ค่ะ

เราสามารถค้นได้จากที่ไหนคะ

ขอบคุณมากค่ะ

นักกิจกรรมบำบัด 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท