สถานการณ์ทางการเมืองในปี ๕๕


ผู้บริหารประเทศ นักการเมือง และข้าราชการ จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สังคมสามารถตรวจสอบในการทำงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินได้ในฐานะเป็นบุคคลสาธารณะ และได้รับค่าตอบแทนซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชนโดยทั่วไป.
สถานการณ์ทางการเมืองในปี ๕๕ สถานการณ์บ้านเมืองในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ เป็นที่น่าจับตาและเป็นที่สนใจของประชาชนโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก เพราะมีปัจจัยเกื้อหนุนหลายๆ ด้านที่อาจทำให้สถานการณ์บ้านเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์ทางการเมืองพลิกผันเปลี่ยนแปลงหรืออุณหภูมิทางการเมืองร้อนระอุขึ้น เป็นต้นว่า การเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๑๒ โดยเนื้อหาสาระมีอยู่ว่า "มาตรา ๑๑๒ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี" ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและร้อนมากเพราะเป็นการแก้ไขสาระสำคัญของมาตรา ๑๑๒ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มสีเสื้อต่าง ๆ ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านในการแก้ไขในมาตรานี้ เพราะเป็นความรู้สึกและผลกระทบต่อจิตใจของประชาชนที่ไม่ยากให้แก้ไขในมาตรานี้ การเรียกร้องให้มีกฎหมายนิรโทษกรรมนักโทษในคดีการเมือง การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมไปถึงอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน ๑๑๑ คน (พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร รวมอยู่ด้วย) หรือบ้านเลขที่ ๑๑๑ ที่หลุดพ้นการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา ๕ ปีในเดือนพฤษภาคม๒๕๕๕ นี้ ตามคำวินิจฉัยในคดียุบพรรคการเมือง เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๐ ของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งกระทำรัฐประหาร ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ อย่างไรก็ตาม บ้านเมืองจะอยู่อย่างสงบสุข เกิดความสามัคคีปรองดองกันได้ ก็ต้องอาศัยประชาชนคนไทยทุกคน ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมไทยให้ได้โดยยึดหลักของกฎหมายของบ้านเมืองเป็นหลัก เคารพสิทธิของคนอื่น ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ผู้มีอำนาจหรือผู้บริหารบ้านเมือง ก็จะต้องยึดหลักความถูกต้อง ให้ความเป็นธรรมในการใช้กฎหมายบังคับอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำนาจทั้งสามตามรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ เป็นอำนาจสูงสุดที่จะชี้ชตากรรมของประเทศว่าจะพัฒนาไปในทิศทางไหน ให้เจริญก้าวหน้าเทียบเท่ากับอารยประเทศ ฉะนั้นผู้บริหาร นักการเมืองและข้าราชการ จะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารราชการบ้านเมือง ให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้วยความซื่อสัตย์ และสุจริต คือ ความประพฤติดีประพฤติชอบ และประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มีอยู่ ๓ คือ ๑.กายสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยกาย คือการทำความดีทางกาย เช่น เป็นผู้เสียสละทรัพย์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม และเสียสละความสุขส่วนตน เพื่อความสุขของผู้อื่น ๒.วจีสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยวาจาคือ การทำความดีทางวาจา พูดจาไพเราะ พูดแต่ความจริง พูดยกย่องเพื่อน พูดให้กำลังใจผู้อื่น และไม่ควรพูดสิ่งที่จะเป็นการสร้างประเด็นความขัดแย้ง ที่เป็นบ่อเกิดให้สังคมเกิดความแตกแยกมากยิ่งขึ้น เป็นต้น ๓. มโนสุจริต คือ ประพฤติชอบด้วยใจคือการทำความดีทางใจ เช่น ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข คิดแต่สิ่งที่ดีงามถูกต้อง เป็นต้น กล่าวโดยสรุป ผู้บริหารประเทศ นักการเมือง และข้าราชการ จะต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้สังคมสามารถตรวจสอบในการทำงานเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินได้ในฐานะเป็นบุคคลสาธารณะ ได้รับค่าตอบแทนซึ่งเป็นภาษีอากรของประชาชนโดยทั่วไป. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารประเทศ นักการเมืองทุกระดับ และข้าราชการ จะต้องเป็นผู้บริหาร ที่อยู่ในฐานะที่เป็น ครู เป็นเพื่อน เป็นพี่เลี้ยง และเป็นแบบอย่างที่ดี
หมายเลขบันทึก: 474341เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2012 14:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท