ดำ เด็กข้างบ้าน 8 ชาตรี สำราญ


การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า เรียนรู้แบบ “สุตมยปัญญา” คือ เรียนจากการฟัง การอ่าน การดู แล้วจำนำมาเขียน มาพูด มาบรรยาย หาได้เข้า (ไปอยู่ใน ) ใจ ไม่

๘.

                 จากพื้นฐานของดำที่สังเกตผ่านมา  ดำขาดประสบการณ์การอ่านเรื่องราวต่าง ๆ  การท่องเที่ยวที่จะมาช่วยเสริมจินตนาการให้ดำเขียนเรื่องยาวแบบความเรียงหลายตอนได้  จึงคิดนวตกรรมขึ้นมาให้ดำได้เรียนคือ  หนังสือเรื่อง “นายขนมต้ม”  เพราะชื่อนี้เชื่อแน่ว่า ดำชอบ  ได้นำหนังสือภาพและการ์ตูนชุดอมตะ  ขององค์การค้าคุรุสภา  เรื่อง วีรชนในประวัติศาสตร์  ซึ่ง ปยุต  เงากระจ่าง เป็นผู้เขียนเรื่องและภาพ  ดำอ่านแล้วเขียนว่า

 1.

นายขนมต้ม

คนไทยคนเก่ง

ยุคกรุงศรีอยุธยา ก่อน พ.ศ. 2310

 

แผ่นดินขุนหลวงสุริยาบรินทร์

กษัตรย์กรุงศรีอยุธยา องค์ที่  33

ซึ่งเป็นยุคที่บ้านเมืองอ่อนแอ

 

ประชาชนมีความคิดแตกแยก

ข้าราชการไม่มีความสามัคคีกัน

ทหารขาดการฝึกอาวุธป้องกันแผ่นดิน

  

2.

ช่วงนี้เอง

นายขนมต้มก็มาพบครูสอนมวยไทยชื่อ ทัด

ครูทัดมีฝีมือการชกมวยเก่งมาก

นายขนมต้มจึงขอสมัครเป็นลูกศิษย์

แรก ๆ  นายขนมต้มถูกฝึกความอดทน

โดยใช้ผ้าชุบน้ำแล้วฟาดตามลำตัว  จนเป็นรอยไหม้

ต่อมาก็ฝึกซ้อมชกผลมะนาวผูกเชือก

ชกผ้าที่ผูกห้อยชายไว้กับกิ่งไม้

และซ้อมกับคู่ซ้อม

ครูทัดให้นายขนมต้มกินว่าน

เพื่อความคงกระพัน

 

3.

นายขนมต้มไปต่อยมวยตามที่ต่าง ๆ

ได้รับชัยชนะทุกครั้ง

เพราะนายขนมต้มหมั่นฝึกซ้อม

จนขึ้นชื่อลือฝีมือทั่วกรุงศรีอยุธยา

 

4.

พ.ศ. 2309

พม่ายกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา

นานถึงหนึ่งปีสองเดือน

กรุงศรีอยุธยาก็ถูกพม่าตีแตก

พม่าจับต้อนคนไทยไปเป็นเชลย

นายขนมต้มต่อสู้กับพม่า

แต่ต้องแพ้เพราะพม่ามีจำนวนมาก

จึงถูกจับตัวไปเป็นเชลยด้วย

 

5.

ที่เมืองพม่า

นายขนมต้มต่อยกับพม่า

หน้าพระที่นั่งกษัตริย์พม่า

นายขนมต้มชนะพม่าถึงสิบคน

 

6.

ผมอยากเป็นนักมวยเหมือนนายขนมต้ม

ผมต้องฝึกหัดแบบนายขนมต้ม

และผมต้องฝึกซ้อมทุกวัน

จะได้ไปต่อยมวยเหมือนนายขนมต้ม

ผมจะฝึกให้เก่ง

ผมจะไปต่อยมวยที่สนามต่าง ๆ

พอผมชนะ ผมจะเก็บเงินไปเลี้ยง พ่อแม่ พี่ น้อง   13/8/54

               

                สังเกตดูว่า ตอนที่  1  ถึงตอนที่  5  ดำไม่ได้เขียนจากสิ่งที่ดำรู้  แต่ดำเขียนสิ่งที่ดำอ่านมาเล่าต่อ  จึงทำให้ความเรียงของดำแข็ง  ขาดวิญญาณ  ไม่ชวนอ่าน  ถ้อยคำส่วนใหญ่เป็นถ้อยคำเชิงประวัติศาสตร์ตามประวัติศาสตร์ที่ดำอ่าน  บทเรียนอย่างนี้ผู้เรียนจะลืมเร็ว  เพราะขาดความประทับใจ  ความรู้ที่รู้จึงเป็นความรู้ที่ฉาบฉวย  รู้แล้วลืมไม่เป็นความรู้ที่ฝังแน่น  หรือรู้แบบลึกซึ้ง  รู้แบบฝังใจ

                การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า  เรียนรู้แบบ “สุตมยปัญญา”  คือ เรียนจากการฟัง  การอ่าน  การดู  แล้วจำนำมาเขียน มาพูด  มาบรรยาย  หาได้เข้า (ไปอยู่ใน ) ใจ ไม่

                                                                                                13/8/54

 

 อ่านเป็นเล่มได้ที่นี่ครับ https://docs.google.com/docume...



 

หมายเลขบันทึก: 474208เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2012 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2018 14:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นายขนมต้มเป็นตัวอย่างที่ดีในนายดำ

ไอดอล เลยนะครับ

  • ไม่ได้ข่าวอาจารย์ชาตรี สำราญเลยครับ
  • อาจารย์ไปทำอะไรแล้ว
  • เด็กน้อยเรียนแบบนี้มีแรงจูงใจที่ดีนะครับ

อ.ชาตรี อยู่ที่บ้านครับ อ่านหนังสือ ปฏิบัติธรรม เขียนหนังสือน้อยลง บรรยายน้อยลงแล้วครับ เข้ากรุงเทพเพื่อพบแพทย์ 3-6 เดือนครั้งครับ

หากต้องการอ่านแบบเต็มบันทึก หรือ พิมพ์ เข้า link นี้ได้ครับ https://sites.google.com/site/chatreesamran/hnangsux/-doc-15

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท