เรื่องเล่าจากครูเพื่อศิษย์ "เรื่อของหนูสู่นิทานฝึกอ่านเขียน" (3)


นักเรียนมีความสุขกับการเรียนและรักการเรียนมากขึ้น

บันทึกของวันนี้นำเรื่องเล่าจากเวทีครูเพื่อศิษย์ ครั้งที่ 1 มาลงต่อคะ เรื่องเล่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าของคุณครูโรงเรียนบ้านห้วยไทร จ.นครศรีธรรมราช คุณครูสอนนักเรียนระดับประถมศึกษา 

คุณครูใช้ เทคนิคการสอนภาษาไทย (การฟัง พูด อ่าน เขียน ด้วยนิทาน)

"การสอนภาษาไทย การฟัง พูด อ่าน เขียนด้วยนิทาน  คุณครูแต่งเรื่องมาสอนเด็ก โดยใช้เด็กเป็นตัวละคร  ฝึกให้นักเรียนอ่านให้เพื่อนๆฟัง  แล้วนำเด็กมาแสดงตามเรื่องที่เพื่อนๆ อ่านให้ฟัง  เช่นคุณครูพบว่าเด็กหญิงแตน เป็นเด็กมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ และคุณยายซึ่งไม่ค่อยสบาย  คุณครูก็ตั้งชื่อนิทานเรื่อง “แตนเด็กดี”  แล้วนำมาสอนเพื่อนๆ ในห้องเรียน  โดยให้เด็กนักเรียนผลัดการอ่านเรื่องที่คุณครูแต่งขึ้นมาจากเรื่องจริงในชีวิตประจำวันของเขา  เด็กก็จะมีความรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่คุณครูสนใจรับทราบ  ความเป็นอยู่ในชีวิตของนักเรียนแต่ละคน  นักเรียนจะเรียนด้วยความสุขและจะมาเล่าเรื่องของตนเองให้คุณครูฟังเพื่อที่ครูจะได้นำไปแต่งนิทานให้พวกเขาอ่าน และนักเรียนคนอื่นก็อ่านให้เพื่อนฟัง  และได้แสดงบทบาทสมมุติไปด้วย ทำให้นักเรียนสนุกสนานไปกับการเรียนรู้ สามารถประเมินผ่านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ไปได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญนักเรียนมีความสุขสนุกกับการเรียน  และรักการเรียนมากขึ้น" 

สรุปเทคนิค และสิ่งที่นักเรียนได้รับ 

                1 สอนด้วยนิทานแต่งจากเรื่องจริงชีวิตของนักเรียน

                2 นำเด็กมาแสดงบทบาทตามนิทาน

                3 เด็กได้รับความภาคภูมิใจในตนเองที่คุณครูนำเรื่องของตนเองมาแต่งเป็นนิทาน

                4 เด็กเรียนด้วยความสุขสนุกสนาน

                5 เด็กสามารถ ฟัง พูด อ่าน เขียน ได้เป็นอย่างดี

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้แบบนี้

                1 เพื่อต้องการพัฒนาเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

                2 ต้องการให้นักเรียนมีความสุข

                3 เพื่อพัฒนานักเรียนตามศักยภาพ

                4 นักเรียนอ่านออกเขียนได้

ผู้บันทึก จากโรงเรียนวัดท่าไทร(ดิตถานุเคราะห์) จ.สุราษฎร์ธานี

เทคนิคที่คุณครูได้ใช้ในการสอนทำให้นักเรียนได้ "ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" คือทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องจริงในชีวิตประจำวัน โดยผ่านการนำเรื่องในชีวิตประจำวันมาเป็นนิทาน ทำให้นักเรียนรู้จักการมองสิ่งรอบตัวหรือในชีวิตประจำวัน แล้วนำมาเชื่อมโยงกับวิชาที่เรียนได้

ทักษะด้านการคิดสร้างสรรค์ ถือว่าเป็นทักษะที่คนไทยขาดที่สุด สิ่งสำคัญของการคิดสร้างสรรค์ คือ"คิดนอกกรอบ"  เพียงแค่คุณครูไม่ติดกรอบที่มีอยู่หรือวิธีดำเนินการแบบเดิมๆ "การแบบท่องจำ"

เราสามารถเห็นการคิดอย่างสร้างสรรค์จากเด็กในศตวรรษที่ 21 อย่างแน่นอน

หมายเลขบันทึก: 473537เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2012 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2013 00:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาเชียร์
  • คุณครูชื่ออะไรครับ

คุณครูสุชาดา สุขพิทักษ์ ค่ะอ.ขจิต

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท