จดหมายจากนายหลำ


การเสียดสี การยั่วล้อ

เนื่องจากวันนี้ลาเพราะน้ำท่วม ผมเลยมีเวลาว่างมาเขียนถึง (ไม่ว่าใช้คำว่าวิจารณ์หรือประเมินค่า) เพลง “จดหมายจากนายหลำ” (ใครยังไม่ฟังดูข้างล่างนะครับ ผมได้ลิงค์เอาไว้แล้ว ถ้าดูไม่ด้เปิดยูทูปฟังดูครับ) เพลงนี้เป็นเพลงที่วิจารณ์เสียดสีและยั่วล้อผู้หญิงที่เริ่มทำตัวเป็นคนภาคกลาง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ (แถมยังมีแขวะเรื่องความเป็นอยู่และเรื่องค่าใช้จ่ายในตอนสุดท้ายด้วย) เพลงนี้ถ้าว่าไปแล้วก็เหมือนกับเพลง “อย่าขอหมอลำ” เพราะว่าในเพลงบอกว่าอย่าขอหมอลำ แต่ใช้ทำนองหมอลำเป็นทำนองในเพลง หรือเพลงนี้ก็เหมือนกับ “ดาวมหาลัย” เพราะเป็นเพลงที่ยั่วล้อผู้หญิงที่อยากมาเป็น พรีเซนท์เตอร์ใหญ่ อยากเป็นเชียร์ลีดเดอร์ อยากเป็นดาวมหาลัย มากกว่ามาเป็นฟาร์เมอร์ที่บ้านของตัวเอง ผิดแต่ว่าจดหมายจากนายหลำเสียงร้องเป็นผู้ชาย (ซึ่งก็คงมีน้ำเสียงและอคติอย่างผู้ชายเข้าไปด้วย ส่วนดาวมหาลัยเป็นเสียงร้องผู้หญิงล้อผู้หญิงด้วยกันเอง ท่วงทำนองเพลงจดหมายจากนายหลำก่อนที่จะพูด มีเสียงตะตึมตระตรึมโต๊ะ คล้ายเป็นเพลง “ตี๋สักมังกร” ของเพลิน พรมแดน ถ้าจะไม่ผิดก็ต้องกล่าวว่าเพลงนี้รับประเพณีการพูดประกอบเพลงน่าจะมาจากเพลิน พรมแดนหรือ สุรพล สมบัติเจริญ ซึ่งพัฒนาต่อมาเป็น One Stand Comedy คนพูดเพลงของพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ หรือโน้ส (ซึ่งตอนนี้เป็นเดี่ยว 9 แล้ว) โดยเนื้อหาแล้วการเสียดสีและยั่วล้อนี้ผ่านมาทางหนังตะลุง หรือวายังกูเละของอินโดนีเซีย ไม่ว่าใครรับอิทธิพลของใคร แต่เข้าใจว่าทางใต้น่าจะรับวายังกูเละมาจากอินโดนีเซียมากกว่าเพราะที่อินโดนีเซียเล่นเป็นเรื่องราวเช่น มหาภาระตะ แต่คนใต้เล่นเรื่องพื้นบ้านเช่นโครงเรื่องเจ้าชายไปช่วยเจ้าหญิง ระหว่างไปช่วยก็มีเรื่องให้เสียดสียั่วล้อไปตลอดคืน เรื่องยั่วล้อเสียดสีนี้ฟังไปก็เหมือนเรื่องเซียงเมี่ยง หรือศรีธนญชัยเลย ซึ่งทั้งสองเรื่องมักจะเสียดสี “ผู้ที่มีอำนาจ”  โดยเฉพาะกษัตริย์ชัดเจน ผิดแต่ว่าเซียงเมี่ยงหรือศรีธนญชัยมีเรื่องราวที่จะให้เล่า แต่หนังตะลุงของคนใต้ไม่มีเรื่องที่ให้แขวะได้ชัดเจนมากนัก หากหยิบเอาสถานการณ์ในขณะนั้นมาแขวะได้เสมอ (ซึ่งก็เหมือนกับเพลงพื้นบ้านภาคอื่นๆ และอาจมาเป็นแนวทางให้แอ้ด คาราบาว หยิบยกมาแต่งเพลงสถานการณ์ได้ด้วย) อย่างไรก็ตามหนังตะลุงแตกต่างจากเพลงพื้นบ้านคนอื่นๆ ตรงที่เพลงพื้นบ้านภาคอื่นๆ เล่นกันเป็นเทศกาล แต่หนังตะลุงได้ทุกเทศกาลตามวัดตามบ้าน นายหนังก็ร่อนเร่ไปแสดงหนัง หยิบยกเอาเรื่องจากที่โน้นมาสู่อีกที่หนึ่ง และหยิบไปได้เรื่อยๆด้วย  นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่คนใต้ชอบยั่วล้อและเสียดสี ที่คนใต้ชอบพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพรรคนี้ นอกจากจะมีคนใต้ไปอยู่เป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังมีคนที่พูดเก่ง พูดได้เฉือดเฉือน พูดได้หัวหมอ  ประมาณว่า “แขวะได้ใจ” นั่นเอง  (นี่ตอนนี้ยังได้ยินเสียงข้างบ้านเขายั่วล้อกันว่า “น้ำท่วมคราวนี้ท่านนายกฯจะให้เล่นสัก 5000 หรือเปล่าหนอ เราไม่ใช่คนภาคกลางไม่ใช่พวกเสื้อแดงเราคงไม่ได้ตังค์หรอก”) ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ผมได้เอาแนวคิด “ศิลปะส่องทางให้แก่กัน” ของอาจารย์เจตนา นาควัชระ มาทดลองใช้ในการพูดถึงเพลงดูครับ แต่ไม่ลึกเท่าอาจารย์แน่นอน แต่ก็พูดก็พูดเถอะในเนื้อหาทางเพลง แม้ว่าจะเก่าสัก 20 ปีแล้วก็ตาม คนใต้เริ่มมาก่อนภาคอื่นๆ ขนาดผมไม่ภาคนิยมนะเนี่ย 555 

  "http://www.youtube.com/embed/8UQG42b-Oyk"

 

หมายเลขบันทึก: 473408เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2012 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท