One Stop Crisis Center : OSCC โรงพยาบาลชุมพร (5)


ก่อนสิ้นปี 2554 ผู้เขียนได้รับการติดต่อจากจังหวัดชุมพร ให้ช่วยเขียนเรื่องของ OSCC ส่งประกวดในโครงการ UN Public Service Award 2012 โดยการตอบ 9 คำถามสำคัญ

5. What were the key development and implementation steps and the chronology ?

พัฒนาการและการปฏิบัติที่สำคัญเรียงตามลำดับเวลาของ OSCC มีดังนี้

ปี 2542 เริ่มจัดตั้ง OSCC โรงพยาบาลชุมพร โดยมีมูลนิธิเพื่อนหญิงเป็นที่ปรึกษา มีการจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ จัดประชุมเครือข่ายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็ก

ปี 2543 ศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลขอนแก่น และศูนย์พิทักษ์เด็กและเยาวชน สภ.อ.เมืองสงขลา

ปี 2544 จัดการรณรงค์วันยุติความรุนแรงในวันที่ 25 พ.ย.ขึ้นเป็นครั้งแรกและจัดต่อเนื่องทุกปี เริ่มขยายเครือข่ายอาสาสมัครจิตอาสาในชุมชนโดยจัดการอบรมผู้นำชุมชนใน 6 อำเภอ จัดเวทีเสวนา เรื่อง ความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กข้อเท็จจริงที่ไม่อาจปฏิเสธ เผยแพร่สัญลักษณ์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก “ริบบิ้นสีขาว”

ปี 2545 จัดการอบรมผู้นำชุมชนเพิ่มอีก 2 อำเภอทำให้เกิดการจัดตั้งเครือข่ายครบ 8 อำเภอ สรรหาพ่อบ้านดีเด่นภายใต้สโลแกน ไม่ยอม ไม่นิ่งเฉย และไม่กระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก OSCC ได้รับการยกย่องให้เป็นหน่วยงานต้นแบบมีองค์กรที่มาศึกษาดูงาน ได้แก่ กองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี (United Nations Development Fund for Women) สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ปี 2546 ในงานรณรงค์ยุติความรุนแรงชูประเด็น “ความรุนแรงลดเพิ่มเริ่มที่ชาย” เชิญผู้ชายต้นแบบ นายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ พิธีกรรายการทีวี “คนค้นคน” จัดทำโครงการบ้านพักใจโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

ปี 2547 จัดกิจกรรมทัวร์ดาราโดยคำแนะนำของ นางกรวิภา บุญซื่อ จากกองทุนสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาสตรี

ปี 2548 ได้รับทุนจากสโมสรโรตารี่ ยานนาวา ไปศึกษาดูงานที่ประเทศสิงคโปร์ ขยายเครือข่าย ลด-ละ-เลิกเหล้า เพิ่มขึ้นอีก 4 พื้นที่ โดยพัฒนาต่อเนื่องจากผู้นำชุมชนที่ได้รับการอบรมยุติความรุนแรงในปี 2544 - 2545

ปี 2549 สรรหาบุคคลต้นแบบ ลด-ละ-เลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก เผยแพร่กิจกรรมในวันรณรงค์ยุติความรุนแรงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2549

ปี 2550 เกิดการรวมกลุ่มผู้หญิงที่ผ่านพ้นจากการทำ Group support กลับมาเป็นอาสาสมัครจิตอาสา

ปี 2551 จัดกิจกรรมโครงการวันสตรีสากล โดยการสนับสนุนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร เกิดเครือข่ายเยาวชน ลด-ละ-เลิกเหล้า มีกิจกรรมการแสดงในชุมชนต่าง ๆ

ปี 2552 จัดทำโครงการจัดบริการผสมผสานระหว่างความรุนแรงต่อผู้หญิงและการติดเชื้อ HIV โดยการสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดล โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความช่วยเหลือแบบทีมสหวิชาชีพแก่ผู้ประสบปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก โดยใช้งบพัฒนาจังหวัดชุมพร

ปี 2553 จัดทำโครงการประชุมสัมมนาการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุขร่วมกับสมาคมผู้ปกครองโรงเรียนสวีวิทยา จัดกิจกรรม “เรื่องเล่าจากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์สู่โรงพยาบาลชุมพร” ทำโครงการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อสร้างพลังความเข้มแข็งทางใจแก่ผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรง จัดการสัมมนาทีมสหวิชาชีพในการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็ก จัดเวทีเสวนาบุคคลต้นแบบ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ กิจกรรมยอวาทีเรื่อง “ชายไทย หัวใจสุภาพบุรุษ” ในวันรณรงค์ยุติความรุนแรง 25 พฤศจิกายน 2553

ปี 2554 ทำกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในการช่วยเหลือผู้หญิงและเด็ก   โครงการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องทางการเรียนและพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน “โรงเรียนสร้างฝัน” เกิดการตั้งกลุ่ม Group support ในคุณแม่วัยใส

  

  

คำสำคัญ (Tags): #oscc
หมายเลขบันทึก: 472949เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2011 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท