การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สมดุล "คนกับงาน"ในระบบสุขภาพ


ความขัดแย้งระหว่างผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ ที่ได้รับแรงกดดันจากการให้บริการเนื่องจาก ความคาดหวังที่สูงขึ้นของภาคประชาชน แต่มีบุคลากรทางการแพทย์ลดลง

        " ปัญหาของระบบบริการสาธารณสุขกับการประกันสุขภาพ จากชุดโครงการวิจัย การจัดทำข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และคณะ เมื่อปี 2548 รายงานว่าบุคลากรทางการแพทย์ลดลง มีการสูญเสียแพทย์โดยเฉลี่ย 42%ของจำนวนที่เพิ่มมาใหม่ในแต่ละปี ในขณะที่มีจำนวนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น โดยจำนวนผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น 63% ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้นต่ำกว่าปีละ 10% นอกจากนี้ ยังมีการร้องเรียนเรียกค่าชดเชยผ่านกองทุนที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปรากฏการณ์ที่พบ คือ กลุ่มผู้ให้บริการมีความเครียดมากขึ้น"

เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนเห็นว่า คือการเสียสมดุลระหว่าง คนกับงาน

ทางแก้ทางออกคืออะไร  เพิ่มเงินเพิ่มค่าตอบแทน? 

                                เพิ่มคนจากไหน มากเท่าไหร่ ?

                                เพิ่มหรือขยายเวลาทำงาน? 

                                แล้วลดงานลงได้ไหม?

อะไรคือวิธีการแก้ปัญหาที่สร้างความสมดุลได้ดีที่สุด....ความท้าทายสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในระบบสุขภาพ ช่วยๆกันเสนอค่ะ....

โดยความเห็นของผู้เขียนแล้ว ความสำคัญอันดับหนึ่ง คือ ลดงาน งานที่ต้องพึ่งพิงบริการจากระบบบริการสาธารณสุขโดยตรง เช่น การเข้ารับการรักษาพยาบาล ด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลัง(empowerment)ให้ประชาชนมีความฉลาดทางสุขภาวะ(Health literacy) ซึ่งประเด็นนี้คงจะได้ช่วยกันต่อยอดในโอกาสต่อไปนะคะ

 

จุดประกายความคิดโดย รศ.ดร.มานพ คณะโต

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         


       


หมายเลขบันทึก: 472706เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2011 02:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับคุณ ภควรรณ ลดงานในการจัดการ เป็นเรื่องน่าคิด เพราะคิดและทำเรื่องการเพิ่มเงินแล้ว ยังมีปัญหา

(โดยความเห็นของผู้เขียนแล้ว ความสำคัญอันดับหนึ่ง คือ ลดงาน งานที่ต้องพึ่งพิงบริการจากระบบบริการสาธารณสุขโดยตรง เช่น การเข้ารับการรักษาพยาบาล ด้วยกระบวนการเสริมสร้างพลัง(empowerment)ให้ประชาชนมีความฉลาดทางสุขภาวะ(Health literacy) ซึ่งประเด็นนี้คงจะได้ช่วยกันต่อยอดในโอกาสต่อไปนะคะ)

ในประเด็นนี้ชาวช้านคนทำงานชุมชชนเขาก็ตั้งวงคุยกันว่า จะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

ยกระดับเป็นชุมชนจัดการตนเอง ก็ต้องทำให้ชุมเป็นชุมชนสุขภาวะ ซึ่งบางแห่งก็ขับเคลื่อนไปแล้ว

พัทลุงก็ขับภายใต้โครงการเมืองลุงน่าอยู่

จัดงานประเพณีปลอดเหล้า มาแล้ว

ขอบคุณค่ะ ได้ฟังความขยันขันแข็งของคนทำงานแล้วก็ชื่นใจค่ะ

ทำอย่างไร ผลน่าพอใจไหมคงจะได้ติดตามเรียนรู้จากคนพัทลุงนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท