ชีวิตที่พอเพียง : ๑๔๕๖. เกษตรกรผู้มั่งคั่ง


         หนังสือเคล็ดลับการตลาดเรียนรู้จากเกษตรกรไทยโดยโฆสิตปั้นเปี่ยมรัษฎ์สร้างแรงบันดาลใจให้ผมเขียนบันทึกนี้โดยในคำนำของผู้เขียนได้เอ่ยถึงคำกล่าวอ้างถึงเกษตรกร๒คำคือเกษตรกรผู้ยากไร้กับเกษตรกรผู้มั่งคั่งโดยคุณโฆสิตใช้คำที่สามคือเกษตรกรก้าวหน้า

          ชื่อหนังสือบอกชัดเจนแล้วว่าเษตรกรจะมั่งคั่งได้ต้องมีความรู้ด้านการตลาดและสามารถใช้กลไกตลาดสร้่างอำนาจต่อรองให้แก่ตนเองหรือกลุ่มของตนได้

          ทำให้ผมคิดย้อนเข้าหาตนเองว่าผมนี่แหละเป็นลูกของ "เกษตรกรผู้มั่งคั่ง"   คือบิดาของผมเป็นเกษตรกรที่ต่อสู้ดิ้นรนเรียนรู้เปลี่ยนแปลงตนเองจน "ตั้งตัวได้"  สามารถส่งลูกๆ๗คนเข้าไปเรียนหนังสือในกรุงเทพจนจบปริญญาทุกคนโดยเป็นหมอถึง๓คนแต่ท่านก็เล่าว่ามีอยู่ช่วงหนึ่งลูกๆไปเรียนที่กรุงเทพพร้อมกันถึง๔คนหาเงินส่งไปเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนแทบไม่ทัน

          บิดาของผมเป็นชาวสวนเน้นสวนมะพร้าวท่านแปลงที่นาเป็นสวนมะพร้าวโดยสอนผมว่า "ทำนาไม่พอกิน" ทำสวนดีกว่าตอนนั้นผมอายุยังไม่ถึง๑๐ขวบได้เป็นลูกมือขนหน่อมะพร้่าวและหน่อกล้วยไปปลูก

          สวนมะพร้่าวของเรามีหลายรุ่นเราเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากสวนมะพร้่าว๓ทางแล้วแต่ความต้องการของตลาดหากมะพร้าวห้่าวราคาดีก็ปล่อยให้ผลมะพร้่าวแก่และเก็บมาขายโดยนับจำนวนลูกสมัยผมเด็กๆราคาดีคือลูกละ๑บาทตอนผมมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพค่าใช้จ่ายของผมคือเดือนละ๓๐๐บาทเท่ากับมะพร้าว๓๐๐ลูก

          ช่วงไหนราคามะพร้าวห้าวตกต่ำเราก็ทำมะพร้าวย่างขายทำโดยปอกเปลือกแล้วกะเทาะกะลาเป็น๒ซีกเก็บน้ำมะพร้่าวไปเลี้ยงหมูเอาเนื้อมะพร้่าวติดกะลาไปตากแดดเรียงเป็นแผงถ้าแดดดีตากไม่กี่วันก็ได้มะพร้่าวแห้งใช้ "เหล็กคัดมะพร้าว" คัดเอาเนื้อมะพร้่าวแห้งออกจากกะลาแล้วตากอีกให้แห้งจริงๆหรือเอาไปผึ่งไฟ

          แต่บางช่วงไม่ค่อยมีแดด (ฝนตก) ก็ต้องเอามะพร้าวที่ผ่าซีกแล้วไปเรียงย่างไฟอ่อนๆให้แห้งแทนที่จะตากแดดชีวิตช่วงเด็กของผมจึงได้มีโอกาสเป็นพนักงานในอุตสาหกรรมย่างมะพร้าวในหลายขั้นตอนโดยขั้นตอนที่ทำมากที่สุดคือคัดมะพร้าวเอาเนื่อมะพร้าวแห้งออกจากกะลา

          ผมโชคดีได้มีโอกาสเป็นพนักงานฝึกหัด ทำมะพร้าวย่าง

          การทำมะพร้่าวย่างก็คือการแปรรูปวัตถุดิบเพื่อป้อนตลาดที่ให้ราคาดีกว่าขายเป็นมะพร้าวลูก

          นอกจากนั้นที่บ้านผมยังแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าวเป็นน้ำตาลมะพร้าวอีกด้วยโดยการ "ทำตาล"  เป็นกิจการที่ต้องใช้แรงงานและความชำนาญพิเศษผู้ชำนาญเหล่านี้มักเป็น "คนใน" คือเป็นคนที่ "พูดใน" ซึ่งหมายถึงพูดภาษากลางแต่สำเนียงเหน่ออย่างแรงคนเหล่านี้มาจากสมุทรสงครามหรือเพชรบุรีมากันเป็นครอบครัวและอยู่กันนานๆหลายปีจึงอพยพกลับพร้อมลูกเพิ่มอีกหลายคนหรือบางครอบครัวก็อยู่จนกลายเป็นคนท้องถิ่นไปเลยผมเคยเขียนบันทึกเล่าเรื่องการทำตาลไว้เมื่อนานมาแล้วตอนเริ่มเขียนบล็อกใหม่ๆ

          ช่วงไหนที่น้ำตาลราคาดีเราก็ทำตาลมากหน่อยช่วงไหนมะพร้าวลูกราคาดีเราก็ทำตาลน้อยลงเก็บไว้ขายลูก

          ชาวสวนมะพร้าวอย่างพ่อของผมจึงมี๓ตลาดไว้ให้เลือกเป็นการต่อรองกับตลาดอย่่างรู้เชิง

          เมื่อผมอายุได้สัก๑๓ - ๑๔ปีพ่อก็ทำโรงสีข้าวขนาดเล็กๆ (สีข้าวได้วันละ๓เกวียน)   และหาวิธีทำธุรกิจแบบคนไม่มีทุนโดยคิดระบบรับฝากข้าวเปลือก (ที่แห้งสนิทหรือไม่มีความชื้น)   โดยเป็นที่รู้กันว่าราคาข้่าวเปลือกตอนต้นฤดูเก็บเกี่ยวจะต่ำแล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆพ่อประกาศรับฝากข้าวเปลือกไว้ตอนต้นฤดูโดยเจ้าของข้าวจะมาขายเมื่อไรก็ได้ก็จะได้ราคาเท่ากับราีคาตลาดตอนขายเป็นที่พอใจกันทั้งฝ่ายโรงสีและฝ่ายเจ้าของข้าวผมคิดว่านี่คือการใช้ความรู้ด้านการตลาดในการทำธุรกิจอย่างยุติธรรมความซื่อสัตย์และคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นชื่อเสียงที่ขจรขจายของพ่อของผมทำให้มีลูกค้ามาจากที่ไกลๆ

          การมีโรงสีทำให้มีรำข้่่าวและปลายข้าวมากนอกจากขายปลายข้าวและรำแล้วเราก็เอามาสร้่างมูลค่าเพิ่มโดยการเลี้ยงหมูผมจึงได้สั่งสมทักษะในการหั่นและตำหยวกกล้วยเอาไปต้มกับรำและปลายข้่าวสำหรับเลี้ยงหมูได้ความรู้ติดตัวมาเมื่อไรหมูราคาดีเราก็เลี้ยงมากหน่อยเมื่อไรหมูราคาไม่ดีเราก็เลี้ยงน้อยลงเราไม่เก่งพอที่จะไปต่อรองกับตลาดแต่เราก็สามารถปรับการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดได้

          ผมไม่ได้ใช้ทักษะที่เรียนรู้ตอนเป็นเด็กในชีวิตเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เพราะผมออกมาทำงานแตกต่างออกไปแต่สิ่งที่เรียนรู้ชนิดฝังลึกจนเป็นสันดานตอนเป็นเด็กให้คุณแก่ชีวิตของผมมาตลอดคือความอดทนความขยันการมองการณ์ไกลและการปรับตัว

          การเป็นลูกของเกษตรกรผู้มั่งคั่งให้คุณค่าแก่ชีวิตในระดับวางรากฐานจิตใจและนิสัยใจคอหรือบุคลิกของความเป็นมนุษย์แก่ผม

 

วิจารณ์พานิช
๖ธ.ค. ๕๔
สกว.

 

หมายเลขบันทึก: 471932เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดูจำนวนผู้ชม blog แล้วมีกว่า 60 ประเทศ แล้วเรียกได้ว่า คุณลุง คุณหมอของผม โกอินเตอร์ แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท