คนไทยน้อมเกล้ารับพระราชดำรัส 3 เรื่องต้องใส่ใจนำไปปฏิบัติ ยั่งยืน อย่าแตกแยกและคุ้มค่า


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม 2554

ติดตามอ่านบทความย้อนหลังที่ลิงก์ข้างนี้ครับ

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

คนไทยน้อมเกล้ารับพระราชดำรัส 3 เรื่องต้องใส่ใจนำไปปฏิบัติ ยั่งยืน อย่าแตกแยกและคุ้มค่า (บทเรียนจากความจริง กับดร.จีระ)

 
วันที่ 5 ธันวาคม ผ่านไปด้วยความปลื้มปีติของคนไทย 65 ล้านคน ทั้งคนไทยชาวต่างประเทศด้วย คงจะจดจำพระราชดำรัสที่พระองค์ทรงเน้น :

* ยั่งยืน

* อย่าแตกแยก

* ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ทั้งนี้เกิดมาจากอุทกภัยอันใหญ่หลวงคือน้ำท่วมปีนี้สร้างทุกข์ให้ประชาชนคนไทยมากมาย พระองค์อยากให้รัฐบาลและทุกๆ ฝ่าย ในสังคมไทยหันหน้ากลับมาตั้งสติทำงานเพื่อคนไทยทั้ง 65 ล้านคนอย่างแท้จริง

บทความครั้งนี้ก็จะน้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าวขยายความให้เกิดความชัดเจนและหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนไทย 65 ล้านคน ได้คิด วิเคราะห์และศึกษาอย่างถี่ถ้วน

1. เรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่ายั่งยืน

* นโยบายต้องมีเอกภาพ

* ต้องไม่มีความขัดแย้งระหว่างกระทรวงต่างๆ กว่า 4 - 5 กระทรวงที่มีหน้าที่จัดการเรื่องน้ำท่วม

* รัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น (กทม.) ต้องสามัคคีกัน

* ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลต้องผนึกกำลัง และช่วยกันประคับประคองให้ประเทศอยู่รอด มีบทบาทแตกต่างกัน แต่ระยะยาวต้องดี

* ต้องใช้ปัญญา ความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะข้อเสนอแนะปี '38 ของพระองค์ท่าน ระดมให้คนไทยทุกหมู่เหล่ามาช่วยกันและประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศด้วย

* ทำงานโดยเน้น คุณธรรม จริยธรรม เป็นหลักใหญ่

* ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน



* ไม่ให้เหตุการณ์ดังกล่าวในปี 2555 เกิดขึ้นซ้ำรอย มีจำกัดแค่ 6 - 8 เดือนก่อนฤดูฝนจะมาอีกครั้ง

* สร้างความศรัทธาและความมั่นใจให้ทุกฝ่าย เน้นความตั้งใจในระยะยาว

* ต้องฟื้นฟูเยียวยาจิตใจของคนไทยทุกๆคนที่ถูกกระทบจากน้ำท่วม

2. ต้องไม่มีความแตกแยก เน้นความสามัคคี

* พักเรื่องการช่วยบุคคลใดบุคคลหนึ่งไว้ก่อน อาจจะหมายถึง "คุณทักษิณ" หันมาดูแลคนไทยที่ได้รับความทุกข์ยากเป็นสิบๆล้านคนก่อน

* นโยบายประชานิยมพักไว้ก่อน เศรษฐกิจดีค่อยว่ากัน

* กลุ่มเสื้อแดงดูสถานการณ์รอบด้านให้ดี อย่าให้นโยบายเดิมๆ เช่น ไม่พอใจใช้การข่มขู่และสำรวจคะแนนนิยมของกลุ่มตัวเองให้ดี

* ปัญหาใครฆ่าคน 91 ศพ ต้องใช้หลักฐานทางกฎหมายไม่ใช่กฎหมู่เปลี่ยนแปลงหลักฐานและสำนวน

* มีความสามัคคี ลดการแตกแยกต้องดูแลทั้ง 2 ฝ่าย ช่วงความรุนแรงในปี 2552 - 2553 มีประชาชนและทหารต้องเสียชีวิตด้วย คุณเฉลิมว่าอย่างไร?

* ประชาชนทั่วไปเสียชีวิตยุคนายกฯสมชายและระเบิดคนตายในทำเนียบ ใครรับผิดชอบ

3. คุ้มค่าในการลงทุน แก้ปัญหาน้ำท่วมหรือไม่?

* เงินในการใช้แก้ปัญหาน้ำท่วมต้องวางแผนให้รัดกุม อย่าซ้ำซ้อน อนุมัติใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง

* ประโยชน์สูงสุดต้องได้ คือลงทุน 1 บาท อย่างน้อยคืนกลับมาไม่น้อยกว่า 1 บาทหรือมากกว่านั้น

* ใช้หลักเศรษฐศาสตร์ในการใช้เงินให้คุ้มค่า โดยมองผลประโยชน์ต่อเนื่องระยะยาว

* ประชาชนพึ่งตัวเองเพื่อรอดพ้นจากภัยธรรมชาติ

* โครงสร้างพื้นฐานก็สำคัญแต่การมีความรู้ ติดอาวุธทางปัญญา พัฒนาทุนมนุษย์ให้ชาวบ้านจัดการกับภัยธรรมชาติก็สำคัญเท่าๆกัน

* อย่าให้การเมืองนำเศรษฐกิจอย่างเดียว ไม่คุ้มค่าในการใช้ทรัพยากร

* การวัดคุ้มค่าต้องวัดจาก

* ค่าเสียโอกาส

* วัดจากต้นทุนและผลตอบแทนที่มองไม่เห็นคือ Social cost and Social Benefit

ผมหวังว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะนำไปคิดและต่อยอดให้ได้ไม่ใช่เฉพาะช่วงน้ำท่วม แต่เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ได้ทุกสถานการณ์ของประเทศไทย

"ขอพระองค์ทรงพระเจริญ"

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 471134เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2011 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท