ผี กับ popular knowledge


บันทึก 5 ธันวาคม 2554

เมื่อมาเยือนจังหวัดเลย...สิ่งหนึ่งที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาในอันดับต้น ๆ คือ งานประเพณีผีตาโขน อ.ด่านซ้าย ซึ่งเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ที่มีมาตั้งแต่โบราณ และเป็นความน่าภาคภูมิใจ ที่มีงานประเพณีที่ดีงามเช่นนี้  การละเล่นผีตาโขนเป็นส่วนหนึ่งของงาน “บุญหลวง” (บุญพระเวส) ซึ่งรวมกับการขอฝน และการแห่บั้งไฟ ของชาวอำเภอด่านซ้ายเท่านั้น จึงมีการจัดขึ้นทุกๆ ปี จนมีชื่อเสียงกระฉ่อนไปทั่วโลก

 

ในภัตตาคารแห่งหนึ่ง...ก็มีการจัดโชว์หุ่นผีตาโขนมากมายหลายแบบ...นับเป็นการผสมผสานในการดีไซน์การแต่งกายที่ผสมผสานอย่างลงตัว...จนผมอดทึ่งในความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ของผู้ประดิษฐ์ประดอยไม่ได้

 

เมื่อพูดถึง “ผี” แม้เป็นสิ่งที่ไม่อาจพิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์ว่า เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงหรือไม่ ?

 

แต่ในมุมมองความเชื่อของชาวบ้าน “ผี” นับเป็นความความรู้ชาวบ้าน (popular knowledge)

ที่คนทำงานสุขภาพปฐมภูมิต้องเรียนรู้ เพื่อเข้าใจในวิธีคิด...ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น...ว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านล้วนมีผลต่อสุขภาวะของชาวบ้าน

 

ผมได้อ่านงานของอาจารย์อานันท์ กาญจนพันธุ์ ประเด็นมองข้ามวัฒนธรรมสู่การเรียนรู้ที่ชายขอบสังคมไทย ในหนังสือคนใน : ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษวิทยาไทย (2545)

 

 มีตอนหนึ่งเล่าว่า...

 

“...มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมได้เข้าร่วมในพิธีเซ่นไหว้ผีปู่ย่า ในกลุ่มตระกูลที่เรียกว่า ผีมดผีเม้งในตัวจังหวัดลำปาง

ลูกหลานเจ้าภาพเลิกจัดพิธีมาหลายหลายปี ...ครั้งนี้ ต้องจ้างผู้ชำนาญพิธี และค่าใช้จ่ายมากมาย แต่งานก็ให้ความมีชีวิตชีวาและอารมณ์ความรู้สึกร่วมผสมผสาน

เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีต่างตอบตรงกันว่า...พวกเขามีความสบายใจขึ้นที่ได้อยู่ร่วมหน้าร่วมตาระหว่างพี่น้อง

เพราะเจ้าภาพนั้นหมกมุ่นกับการทำธุรกิจ... จนห่างเหินจากญาติพี่น้อง แม้จะร่ำรวยแต่ก็ขัดแย้งกัน จนเกิดอาการปวดหัวที่รักษาไม่หาย

เมื่อประกอบพิธีแล้วเจ้าภาพก็รู้สึกจิตใจดีขึ้น...”

 

ผมเห็นด้วยว่า...ผี...มีนัยยะมากมายและลึกซึ้งแต่แตกต่างกันไปกับวิถีชีวิตและความรู้สึกของแต่ละคน

และเห็นด้วยอย่างมาก...ว่า...คนทำงานสุขภาพปฐมภูมิ...นอกจากมุ่งดูแลโรคทางกายที่บ่งบอกแล้ว ควรสนใจกระบวนการ พิธีกรรม และความเชื่อของชาวบ้าน

เพื่อทำความเข้าใจกับคำถาม และคำตอบของชาวบ้าน

 

และมองข้าม "ผี" สู่...การเรียนรู้.....

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 470957เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2011 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะคุณหมออิสาน

ความเชื่อเรื่องภูตผี ในแง่งาม ก่อให้เกิดสิ่งดีๆ เป็นพลังในหมู่บ้าน

บนดงดอยเวลากรอกข้อมูลศาสนา ยังมีการ นับถือภูตผี (spiritual religion)

และมองข้าม "ผี" สู่...การเรียนรู้...

.. ชอบประโยคนี้ ขอบคุณค่ะ

อ่านบันทึก ภาคสนาม คนทำงานปฐมภูมิ ของคุณหมออดิเรกทีไร

มาเติมความรู้ วิถีชุมชน พร้อมการวิเคราะห์แบบนักวิจัยเชิงคุณภาพ

..

เพื่อทำความเข้าใจกับคำถาม และคำตอบของชาวบ้าน

และมองข้าม "ผี" สู่...การเรียนรู้....

.

แม้วิทยาศาสตร์จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่า "ผี" มีจริงหรือไม่

อาจเพราะนิยามที่แตกต่างกันไป

อาจเพราะเครื่องมือที่มีในปัจจุบันยังจับไม่ได้

แต่ที่มีจริง คือ "จิตวิญญาณ - การมี ปฎิสัมพันธ์กับคนอื่น, โลก

"..พวกเขามีความสบายใจขึ้นที่ได้อยู่ร่วมหน้าร่วมตาระหว่างพี่น้อง"

ภาพสวยแต่แฝงด้วยความน่ากลัวค่ะ

ความเชื่อปนกับความจริง

บางครั้งเหมือนสัมผัสได้

และรับรู้ในบางทีค่ะ

ผี...มีนัยยะมากมายและลึกซึ้งแต่แตกต่างกันไปกับวิถีชีวิตและความรู้สึกของแต่ละคน

 

ผีทางอีสานอาจจะไม่ได้น่ากลัวเสมอไป ยังมีผีปู่ย่าตายายที่คอยปกปักรักษาดูแล...หรือแม้กระทั่งผีฟ้าเอง ที่ปัจจุบันอาจจะเชื่อลดน้อยลง แต่ความเชื่อเหล่านี้ก็ยังผสมผสานอยู่ในวิถีชีวิตของผู้คน

เคยเจอคนไข้ที่มา รพ. เพื่อฉีดยาบำรุงเพราะมีอาการเพลียหลังจากถูกผีเข้า (เค้าไปวัดทำพิธีไล่ผีมาเรียบร้อยแล้ว)...เขียน medical record ไม่ถูกเลยค่ะ ^^!

เห็นหุ่นผีตาโขนแล้ว น่าตื่นตาตื่นใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท