Multiple Generation in Workplace : Executive Program in Asian Business Leadership รุ่น 3 สถาบัน AKI


          วันนี้ 8 ธันวาคม 2554 ผมได้รับเกียรติจาก สถาบัน AKI บรรยายใน หลักสูตร Executive Program in Asian Business Leadership รุ่น 3 Managing in the Digital Era หัวข้อ Asian Business Leadership Development: Multiple Generation in Workplace  ณ AKI อาคารอินเตอร์เชนจฺ์ชั้น 34 อโศก-สุขุมวิท

           ผมขอใช้ Blog นี้เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนะครับ

           โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อทำแบบสอบถามครับ

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/774/502/original_Generationform.doc

 

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 470656เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2011 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Asian Business Leadership Development: Multiple Generation in Workplace   :  AKI

การคาดหวังในการเรียนรู้ 3 ชั่วโมง

ความคิดเห็นคนในห้องเรียน

  • ปัญหาทั้งหลายที่เกิดในองค์กรต่างเกิดจากคนทะเลาะกัน 
  • ทำงานเป็นลูกจ้าง 30 ปี มองว่าในหลายบริษัทมีความหลากหลายในการบริหาร หลายองค์กรมีคนเก่งเยอะแต่ไม่สามารถเอาคนเก่งมาทำงานร่วมกันได้ 
  • คนไทยรวมกันได้ แต่เราไม่สามารถทำรวมกันไปในแง่บวกให้ดี  ส่วนใหญ่จะรวมกันแบบหมาหมู่เพื่อไปทำร้ายคนอื่นมากกว่า 

 

ดร.จีระ บอกว่า

  • ทุนมนุษย์ทั้งหลายในประเทศไทยต้องมี Synergy ทำงานร่วมกัน
  • ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ Being yourself
  • วิชาการทำให้พฤติกรรม และความคิดดีด้วย
  • อยากให้ลูกศิษย์ในห้องนี้มีความใฝ่รู้
  • เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น

 

วัตถุประสงค์หลัก

  1. เปิดโลกทัศน์ ให้มองปัจจัยภายนอก โครงสร้างประชากรที่กระทบต่อการทำงานในยุคใหม่
  2. สร้างความเข้าใจในธรรมชาติ (Nature) ของคนใน Generation ต่าง ๆ ..รู้เขา – รู้เรา
  3. เรียนรู้วิธีการบริหาร “คนต่าง GEN” ให้ทำงานร่วมกันในองค์กรได้อย่างมีความสุข เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  4. สร้าง Value Diversity ใหได้ผล
  5. สร้างโอกาสจากการเรียนรู้ร่วมกันในวันนี้ เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ สร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
  6. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน

 

............................................................................

คาดว่าในรุ่นต่อไปคนที่จะเป็น Entrepreneur จะมีอายุน้อยลง แต่ต้องมี Advisor หรือมี Coach ถึงจะรอดได้

ยุทธวิธีการบริหารพฤติกรรมของคนต่าง Generation ในองค์กร ดร.จีระเสนอวิธีการมองแค่ 4 วิธี ดังต่อไปนี้

 

 

วิธีแรก–ความจงรักภักดี(Loyalty)กับผลงาน(Performance)

มีความเชื่อว่าความจงรักภักดีเป็น Norm ของคนรุ่นเก่า ไม่ใช่Normของคนรุ่นใหม่

ส่วนคนรุ่นใหม่ Norm จะเน้นผลงาน และการประเมินผลมากกว่า

ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดถ้า Gen YหรือX คือเก่งแต่ไม่จงรักภักดีในองค์กรจะทำอย่างไร

เสนอแนวคิดการบริหารคนในสิ่งที่มองไม่เห็น

สิ่งแรกที่จะศึกษาคือเวลาจะศึกษา Human Capital ให้ศึกษาจากข้างในของเขาอย่าศึกษาจากข้างนอก

วิธีที่ 2 เรียกว่าเป็นวิธีบริหาร Value Diversity ให้เกิด ความเป็นเลิศให้ได้ เป็นทฤษฎี Synergy

เราจะทำอย่างไรให้แต่ละกลุ่มทำงานร่วมกัน ให้ดูตัวอย่าง Obama ,จอมพลสฤษดิ์

การมองปัญหาเป็นอุปสรรค ไม่ได้มองว่าเป็นความสำเร็จ

ให้ยกตัวอย่างใน Case ที่เห็นอยู่ว่าทำไม Value Diversity จึงประสบความสำเร็จ

วิธีที่ 3 ทฤษฎีสร้างทุนมนุษย์ของดร.จีระ

8 K’s , 5K’s  เข้ากับ แต่ละ Gen ต่างกัน

 

ทำไมคนเรียนหนังสือเท่ากันแต่คุณภาพของคนไม่เท่ากัน

-          ความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาแต่ละคนไม่เท่ากัน

-          คุณธรรม จริยธรรม

-          การทำงานต้องมีเป้าหมายในการทำงาน ทุนแห่งความสุขคือ เรามีความพึงพอใจในงานที่เราทำหรือไม่

-          มีเครือข่าย

-          ทำวันนี้อนาคตต้องอยู่รอด หมายถึงทุนแห่งความยั่งยืน ความยั่งยืนคือการตัดสินใจวันนี้ ผลกระทบต่ออนาคตจะไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่

-          ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ

-          การควบคุมอารมณ์ สำคัญมาก

วิธีที่ 4 จาก Research ของ APM

 

  • ทฤษฎีที่จะช่วยเรื่องการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คนต่าง GEN” ดังต่อไปนี้

        1.ทฤษฎีการสร้างทุนแห่งความสุข (Happiness Capital Development) และ

        2. ทฤษฎี HRDS

  • เด็กรุ่นใหม่ไม่มี Job Enrichment แต่มี Job Performance
  • การทำงานแม้ไม่แตกต่างกันด้วยวัยวุฒิแต่ต้องยกย่องซึ่งกันและกัน
  • HR ในอนาคต ต้องจัดการกับสิ่งที่มองไม่เห็น คืออะไรที่คิดแล้วมี Value เราต้องเข้าใจเขา

เขาจะไปสนใจแรงจูงใจที่วัดออกมาได้

  • ต้องเข้าใจถึงศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
  • อยู่ร่วมกันอย่างระยะยาวให้ได้

ในโลกยุคปัจจุบันซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยง..

ü Change – การเปลี่ยนแปลง

ü Uncertainty – ความไม่แน่นอน

ü Unpredictability – ไม่สามารถคาดเดาได้

การสร้างทุนมนุษย์และเก็บเกี่ยวอย่างมีประสิทธิภาพจะให้เกิด..

q Standard คือ การมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

q Quality คือ มีคุณภาพ

q Excellent คือ มีความเป็นเลิศ

q Benchmarking คือ สามารถวัดและเปรียบเทียบกับคนอื่นได้

q Best Practices คือ การมีวิธีการทำงานที่ดีที่สุดในเรื่องนั้น ๆ

 

การเรียนวันนี้เป็น Version 4L’s

กระตุ้นให้เกิดการคิด, สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้,สร้างให้ปะทะกัน, ต่อไปให้เป็นสังคมการเรียนรู้

การเรียนแบบ 2R’s

คือการเรียนที่ตรงความจริงและที่ตรงประเด็น เป็นประเด็นที่อยู่ในประเทศไทย และเกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่

 

Workshop

¢ นำเสนอกรณีตัวอย่างที่เห็นว่า Value Diversity เกิดขึ้นในองค์กรของท่าน..

1)     ที่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

2)     ที่ไม่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

3)     ถ้าจะเสนอหัวข้อ Research เกี่ยวกับ Different Generation หัวข้อใดน่าสนใจ

 

กลุ่ม 1

¢ นำเสนอกรณีตัวอย่างที่เห็นว่า Value Diversity เกิดขึ้นในองค์กรของท่าน..

1)     ที่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

ยกตัวอย่างการเข้าทำงานในปีแรกขององค์กรหนึ่ง...พบว่ามี Gap ระหว่าง Manager กับพนักงาน  ดังนั้นการเข้าไปครั้งแรกจึงอยากเปลี่ยนความคิดก่อน ได้เสนอให้มีการนั่งคุยทีละ 5 คน  เพื่อให้เกิดความเป็นคุ้นเคยและเป็นกันเอง สร้างการแสดงความคิดเห็นร่วมกันให้เกิดขึ้น ให้เขาคิดโปรเจค มี one team one success ขึ้นมา ให้มีส่วนร่วม ให้ระดับล่างคิดแล้วให้ Manager เป็นที่ปรึกษา พอทำไปจะเลือกที่ 5 Top แต่สิ่งที่ขาดคือไม่มี Facilitator ดังนั้นจึงควรสร้าง Team Facilitator ขึ้นมา

ช่วง 4 ปีหลังจะเริ่ม Success มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึ้นมา แต่ไม่ได้มีคนที่จะทำต่อเนื่อง แล้วจึงวนกลับเข้าเหมือนเดิม

ดร.จีระ เสนอให้ทำละลายพฤติกรรมก่อน จะทำให้เกิด ideaใหม่ ๆ ขึ้นมา

ผู้นำ HR และ Non HR  ต้องคิดถึง Intangible มาก ๆ

2)     ที่ไม่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

ตัวอย่างจากบริษัท IT แห่งหนึ่ง...เจ้าของทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แล้วคิดว่าทฤษฎีของตัวเองประสบความสำเร็จทุกอย่าง ต่อมาบริษัทขยายใหญ่ขึ้นมา จ้างผู้บริหารรุ่นใหม่ซึ่งเป็น  GenX,Y แต่ความคิดเห็นขัดแย้งกับเจ้าของเวลาเสนอความคิดเห็น  ทำให้ผู้บริหารรุ่นใหม่เกิด Demotivation , ผู้บริหารรุ่นใหม่ย้ายไปทำงานบริษัทอื่น  ทำให้การบริหารในองค์กรบริษัทดังกล่าวมีปัญหา...บริษัทที่ว่าจะใหญ่ขึ้นก็กลับลดขนาดลงมา

3)     ถ้าจะเสนอหัวข้อ Research เกี่ยวกับ Different Generation หัวข้อใดน่าสนใจ

หาสูตรที่ Optimize ที่สุดในการจัดทีมของ Industry

ตัวบุคคล...เมื่อโตขึ้นความคิดจะเปลี่ยนแปลงไหม จะเปลี่ยนไปเป็น Baby boomers ?

 

กลุ่ม 2

¢ นำเสนอกรณีตัวอย่างที่เห็นว่า Value Diversity เกิดขึ้นในองค์กรของท่าน..

1)     ที่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

บริษัทขนส่งแห่งหนึ่ง สิ่งที่น่าสนใจคือ  เป็นบริษัทที่อยู่มานานเป็นระยะเวลา 40 ปีแล้ว และมีบริษัทที่เพิ่มขึ้นมาในด้านต่าง ๆ ที่สำเร็จคือ ใช้ Human Capital สูงสุด  มี Gen - Baby Boomers 2 คน มาจากชีวิตที่ติดลบ ไม่มีทุนอะไรนอกจากทุนทางความคิดและทุนทางปัญญา พวกเขาพยายามสร้างธุรกิจจากปัญญา ใช้ระบบกงสีคือทำแบบพี่น้อง แต่สิ่งที่เป็นตัวนำคือ Respect จะมีอาแป๊ะเป็นคนควบคุมบริหารสั่งการว่า OK ?  รุ่นที่ 2 เข้ามาก็เพื่อสร้างจะทำธุรกิจอะไรต่อไปโดยจะมองว่าธุรกิจใดจะดีก็ทำธุรกิจนั้น รุ่นที่ 2 เคารพรุ่นที่ 1 รุ่นที่ 1 ก็เคารพการตัดสินใจของรุ่นที่ 2 เช่นกัน ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ

ดร.จีระ บอกว่าเรื่อง Respect เป็น Intangible ที่น่าสนใจมากเพราะทำให้เกิดความสำเร็จมาหลายครั้ง ทฤษฎีนี้ฝรั่งไม่ได้มี

Gen เป็นของฝรั่งแต่ Apply กับ กงสีของไทยก็ได้

ในอนาคตสถาบันน่าจะทำ Professional family Business

2)     ถ้าจะเสนอหัวข้อ Research เกี่ยวกับ Different Generation หัวข้อใดน่าสนใจ

ทีมเวอร์ก กับ หมาหมู่ทำอย่างไรถึงพลิกได้  ปัญหาคือเราสามัคคีทำลายคนอื่นเก่ง แต่เพื่อสร้างสรรค์ทำได้ไม่ค่อยดี

ในตะวันออก เราค่อนข้าง Respect คนดีกว่าตะวันตก

Family Business กับ Professional Business ต่างกันอย่างไร

การทำวิจัย เรื่อง Third Wave ของธุรกิจเชื้อสายจีนในประเทศไทย

 

กลุ่ม 3

¢ นำเสนอกรณีตัวอย่างที่เห็นว่า Value Diversity เกิดขึ้นในองค์กรของท่าน..

1)     ที่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

CP all แต่ละ Genมีการทำงานร่วมกันได้ระหว่าง Generation มี Loyalty สูง เกิดการเรียนรู้ Sharing ระหว่างกัน 

การ Transfer knowledge เกิดระหว่าง Gen

มีการถ่ายทอดความรู้สำหรับผู้ที่ Early Retire

2)     ที่ไม่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

สไตล์ และทัศนคติการทำงานและเวลาการทำงานแตกต่างกัน แต่คนรุ่นใหม่ไม่ค่อยแคร์เรื่องเวลาเท่าไหร่

Gen Y – Talent แต่ไม่ค่อยอดทน

ส่วนในเรื่องความซื่อสัตย์คนรุ่นเก่าจะดีมาก ๆ

3)     ถ้าจะเสนอหัวข้อ Research เกี่ยวกับ Different Generation หัวข้อใดน่าสนใจ

วัฒนธรรมองค์กรที่ทำให้เกิด Happy Workplace ในแต่ละ Generation ควรเป็นอย่างไร

 

กลุ่ม 4

¢ นำเสนอกรณีตัวอย่างที่เห็นว่า Value Diversity เกิดขึ้นในองค์กรของท่าน..

1)     ที่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

ตอนแรกเมื่อ Baby boomers เจอกับ Y จะมีปัญหา เนื่องจากสไตล์การทำงานมีความต่างกันมาก

2)     ที่ไม่ประสบความสำเร็จ คืออะไร? เพราะอะไร?

3)     ถ้าจะเสนอหัวข้อ Research เกี่ยวกับ Different Generation หัวข้อใดน่าสนใจ

การทำงานขึ้นตรงกับหัวหน้างานที่ Gen เดียวกันได้ผลมากกว่า Gen ห่างกัน

Gen รุ่นก่อนมีความอดทนมากกว่า Gen รุ่นใหม่จริงหรือไม่

 

สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

 

 

 

รัตมณี ศิษย์สวนสุนันทา

ยังติดตาม อ่านงานที่อาจารย์เขียน เพื่อเพิ่มความรู้ให้กับตัวเองไม่ให้อยุดนิ่ง

ซึ่งแตกต่างจากทั่ว ๆ ไป ที่เคยเจอมา

ขอบคุณค่ะ

^-^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท