เหตุผลที่ไทยน่าจะเพิ่มผลิตหมอฟัน-หมอ-พยาบาล [EN]


สำนักข่าว Business Insider / BI ตีพิมพ์เรื่อง 'This is the future of work in America' = "นี่คืออนาคตของงานในอเมริกา", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
.
กราฟ: แสดงสัดส่วนของคนทำงานต่อประชากร (หน่วยพันคน); แถบแนวนอนแสดงปี คศ. - แถบสีแสดงช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ / 1991-2 = ช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียครั้งแรก ซัดดัมบุกคูเวต; 2001-2 = ต้มยำกุ้ง; 2008-9 = ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ) > [ Business Insider / BI ]
.
จำนวนคนทำงานบริการสุขภาพ (healthcare) ในสหรัฐฯ เพิ่มในรูปกราฟเส้นตรงจากปี 1990-2001 เพิ่มจาก 8 ล้านคนในปี 1990/2533 เป็น 14.3 ล้านคนในปี 2001/2554
.
เรื่องที่น่าสนใจ คือ จำนวนคนทำงานบริการสุขภาพในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่เพิ่มและไม่ลด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีเศรษฐกิจตกต่ำหรือไม่
.
เมื่อนำจำนวนคนทำงานบริการสุขภาพ (healthcare employment) มาตั้ง หารด้วยแรงงานพลเรือน (civilian labor force - ไม่รวมทหาร) จะพบลักษณะที่น่าสนใจได้แก่
.
[ ขอแทรกศัพท์ภาษาอังกฤษ ]
สัดส่วนคนทำงานบริการสุขภาพต่องานทั้งหมดมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะเพิ่มมากเป็นพิเศษในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำจะมีการปลดคนออกจากงาน (ให้ออก) สูงกว่าช่วงที่เศรษฐกิจไม่ตกต่ำ แต่ไม่พบการปลดคนทำงานบริการสุขภาพออกในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
.
สำนักข่าว BI รายงานว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ความต้องการคนทำงานสุขภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ การที่ประชากรมีอายุเฉลี่ยมากขึ้น และคนสูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โรคเรื้อรังมากขึ้น ป่วยบ่อยขึ้น และอีกหลายรายช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
.
เช่น เป็นโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ อัมพฤกษ์ อัมพาต กระดูกหักจากโรคกระดูกโปร่งบางหรือกระดูกพรุน ฯลฯ
.
ประเทศที่ร่ำรวยมีจำนวนบุคลากรสุขภาพหลายตำแหน่ง เช่น พยาบาล หมอ ฯลฯ ไม่พอ เกิดสมองไหลจากประเทศยากจนไปประเทศร่ำรวย
.
เช่น หมอฟิลิปปินส์เข้าอบรมวิชาพยาบาล เพื่อสอบเข้าทำงานในสหรัฐฯ (สอบง่ายกว่ากันมาก), ยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษนำเข้าหมอ-พยาบาลจากอาฟริกา ฯลฯ
.
ประเทศไทยเปลี่ยนวิกฤตินี้เป็นโอกาสได้ โดยการเพิ่มการผลิตหมอฟัน-หมอ-พยาบาล 3 เท่าให้ได้อย่างน้อย 10-20 ปี (ไทยเพิ่มการผลิตหมอมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ลาออกกันมาก)
.
ถ้าหมอลาออกมาก... น่าจะเพิ่มค่าปรับใช้ทุน (ปรับ 4 แสนลาออกไป 4 เดือนคืนทุน) โดยการทำวิจัย คำนวณจากต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตแพทย์หลายๆ สถาบัน
.
ไม่ว่าต้นทุนจะออกมาเท่าไร ควรเพิ่มค่าปรับไปเรื่อยๆ จะเป็น 4 ล้าน - 40 ล้าน - 400 ล้าน - 4,000 ล้านก็ดีทั้งนั้น
.
รัฐบาลน่าจะเกรงใจหมอที่ลาออกให้น้อยลง เอาใจใส่หมอที่ไม่ลาออกให้มากขึ้น เพื่อป้องกันคนส่วนใหญ่ขาดโอกาสในการรักษาพยาบาล ลดความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียมกันในสังคม
.
เพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะพม่า-ลาว-กัมพูชาก็ขาดหมอมากเช่นกัน (ยกเว้นมาเลเซีย สิงคโปร์ ซึ่งพัฒนาไปไกลแล้ว)
.
นี่เป็นโอกาสที่เราจะทำสถาบันสุขภาพ เปิดสอนพยาบาล-หมออนามัย (สาธารณสุข) กับเพื่อนบ้าน เพื่อส่งเสริมมิตรภาพ-สุขภาพ โดยตั้งเป็นสถาบันสุขภาพพม่า-ไทย, ลาว-ไทย, กัมพูชา-ไทย
.
ถ้าทำสถาบันนี้ที่ชายแดน โดยเลือกจังหวัดที่มีวิทยาลัยพยาบาลอยู่แล้วก่อน รับนักศึกษาฝ่ายละครึ่ง, อาจมีการติวภาษาไทยให้เพื่อนบ้าน และติวภาษาอังกฤษให้ทั้งนักศึกษานอกและไทย 1 ปีก่อนเรียนจริง, ฝึกงาน-ดูงาน 2 ประเทศ, รับปริญญา 1-2 ใบ (พม่า-ไทย, ลาว-ไทย, กัมพูชา-ไทย)
.
เรียนเสนอรัฐบาลสนับสนุนให้สถาบันที่มีการสอนสายวิทยาศาสตร์ เช่น ม.ราม, ม.ราชภัฎ, ม.ราชมงคล, สถาบันกีฬา ร่วมมือกับ รพ.ทั่วไทย เปิดสอนพยาบาล โดยให้เงินสนับสนุนเป็นรายหัว
.
วิชาไหนที่ยังไม่พร้อมสอนก็ให้ขอความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยที่มีการสอนอยู่ก่อน และอยู่ใกล้เคียงกัน
.
เมื่อผลิตสาขาใดได้มากพอแล้ว, อาจให้โอกาสประเทศเพื่อนบ้านเข้าเรียนด้วย ไม่ควรให้เรียนฟรี ควรให้เสียค่าเล่าเรียน เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการรักษาพยาบาล (medical hub) ด้วย, เป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาสุขภาพ (medical education hub) ด้วย
.
การผลิตบัณฑิตที่จบมาแล้วไม่มีงานทำมากๆ ไม่ค่อยช่วยให้เศรษฐกิจดี แถมยังเพิ่มเสี่ยงอาการป่วนบ้านป่วนเมือง (anti-social = ต่อต้านสังคม ไม่พอใจสังคม)
.
ตรงกันข้าม, การผลิตบัณฑิตที่จบมาแล้วมีงานทำ จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เด็กรุ่นใหม่-คุณแม่คุณพ่อ-คุณญาติ มีขวัญมีกำลังใจ
.
ประสบการณ์จากทั่วโลกพบว่า การให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันทำได้ยากมาก, รัฐบาลใดทำได้จะเป็นขวัญใจของเด็กๆ-คุณแม่คุณพ่อ-คุณญาติทันที
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 5 ธันวาคม 2554. ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูลทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 470383เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2011 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท