บทเรียนผู้นำกับ Paradox จากการอ่านหนังสือประวัติ อับราฮัม ลินคอล์น


บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554

ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างนี้

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

 

            เนื่องในวันอันเป็นมิ่งมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าฯถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

            น้ำเริ่มลด ประเทศต้องฟื้นฟู คนไทยตั้งสติอยู่กับธรรมชาติ มองอนาคตรวมกัน 

            ถึงเวลาหาแนวคิดบ้าง ไปช่วยให้ทุนมนุษย์ของคนไทยดีขึ้น เพราะวิกฤติต้องสร้างโอกาส 

            ช่วงน้ำท่วม ผมอ่านหนังสือ 2 เล่ม เกือบจบแล้ว

            เล่มแรก ได้พูดไปหลายครั้งแล้วคือ Steve Jobs  บุคคลที่เก่งเรื่องนวัตกรรม เอาจุดดีมาใช้ แต่อย่าเหมือนหลายเรื่อง เช่น ไม่ให้เกียรติคน ดูถูกคน ตามใจตัวเอง มารยาทไม่ดี

            แต่เล่มที่ผมกำลังอ่านเกือบจบ ได้แสดงความเห็นไปบ้างใน facebook ก็คือประวัติของ ลินคอล์น ซึ่งเกิดที่อเมริกากว่า 200 ปีแล้ว เป็นประธานาธิบดี ช่วง 1861 1865  ก็เกือบ 150 ปี แล้ว

            หนังสือเล่มของ Lincoln ก็คล้ายๆกับหนังสือของ Steve Jobs ผู้เขียน Ronald – White เก่งเพราะต้องย้อนประวัติศาสตร์เพราะตายไปกว่า 150 ปี ไปเก็บข้อมูลหรือสัมภาษณ์มาได้อย่างไรก็ไม่ทราบและได้เห็นชีวิตของ Lincoln ตั้งแต่วัยเด็กและช่วงทำงานก่อนเสียชีวิต มีรายละเอียดมากมาย แบ่งแยกเป็นช่วงๆตั้งแต่เด็ก มีโครงสร้างหนังสือดี

·       ข้อแรก คือ ใฝ่รู้ ชอบเรียน แต่ไม่ได้เรียนเป็นทางการ เรียนด้วยตัวเอง 

·       ชอบวิทยาศาสตร์ กฎหมายและสังคมศาสตร์

·       อดทน เพราะล้มเหลวตลอด แต่ลุกมาสู้ไม่ท้อถอย

·       มุ่งมั่น เช่น ต้องเลิกทาสให้ได้

            วันนี้ผมคิดว่า หลังน้ำท่วม คนไทยควรจะมีอะไรที่ลึกๆ (Deep dive) เพื่อเป็นทุนมนุษย์นำไปปรับปรุงตัวเอง (Empowerment)

            จากการอ่านหนังสือเล่มนี้ และเล่มอื่นๆ ที่เกี่ยวกับ Lincoln ก็พบคำๆหนึ่งซึ่งสำคัญมาก ภาษาอังกฤษเรียกว่า Paradox ภาษาไทย แปลว่า กฎสวนทาง

            Paradox เป็นเรื่องเดียวกัน แต่วิ่งสวนทางกัน ซึ่งถ้าไม่เข้าใจ สนใจแค่ ทางใดทางหนึ่งก็อาจจะนำไปสู่ความล้มเหลวได้

            ตัวอย่างของ Lincoln คือเป็นผู้นำประเภท บริหารจัดการ Paradox ได้ คือ เข้าใจธรรมชาติของปัญหา เช่น ก่อนจะเลิกทาส มี Paradox อย่างรุนแรง

·       รัฐตอนเหนือ ไม่ต้องการทาส

·       รัฐตอนใต้ ต้องการทาส

            Lincoln คงจะรู้ความจริงของสองภูมิภาคไม่เหมือนกัน

            ภาคใต้ต้องการ แรงงานราคาถูก เพราะปลูกและเก็บฝ้าย เน้นการเกษตรเป็นหลัก ก็ต้องมีทาสไว้ทำงาน

            ภาคเหนือ เน้นภาคอุตสาหกรรม ต้องการแรงงาน มีฝีมือ ไม่ต้องการทาสมาทำงาน

            มีหนังสือเรื่องที่เกี่ยวกับ Lincoln หลายเล่ม ซึ่งเน้นภาวะผู้นำ ผมไม่เคยเห็นศักยภาพของผู้นำแบบนี้มาก่อน  Lincoln เป็นผู้นำที่เก่งในการบริหารและจัดการ Paradox คือ เข้าใจแรงผลัก ที่สวนทางกัน พยายามหาทางออกให้สำเร็จ

            วันนี้ผมจะประยุกต์แนว Paradox กรณีศึกษาในไทย มาให้ดูเพื่อสะท้อนความจริงว่าเราจะศึกษาผู้นำอย่าง Lincoln ในการจัดการ Paradox เหล่านี้ให้เกิดคุณค่าต่อประเทศไทยในระยะต่อไปหรือไม่?

            เพราะ ผู้นำของไทยไม่ว่าจะเป็นการเมืองหรือข้าราชการ แค่จัดการปัญหาปกติก็ทำได้ลำบาก ถ้าจะต้องจัดการ Paradox ซึ่งเป็นพลังที่สวนทางกันก็คงไม่ง่าย แต่ก็อาจจะเป็นตัวอย่างและบทเรียนที่ดี ที่ได้เรียนรู้ในการเป็นผู้นำของ Lincoln

            ผมจึงจะยกตัวอย่าง Paradox สัก 3 เรื่องใหญ่ในประเทศไทย เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจและหาทางออกร่วมกัน

            Paradox ที่ 1  งบประมาณแผ่นดินปัจจุบัน

1.            งบประมาณแผ่นดินของประเทศไทย มีถึง  2 ล้าน 4 แสนล้านบาท ปี 2555

2.            เมื่อเทียบกับงบประมาณของไทย เมื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว สมัยพ่อผมเป็นรัฐมนตรีฯคลัง มีแค่ 8 พันล้าน

3.            ถ้าไม่จัดการ Paradox ให้ดีก็จะเป็นแหล่งทำมาหากินของข้าราชการ ตัวอย่างเช่นกรณีปลัดฯสุพจน์หรือ กรณีนักการเมืองมากมายให้เห็น จนกระทั่งมีค่านิยมว่า “ถ้าอยากรวยต้องเป็นนักการเมือง”

 

Paradox ที่ 2 คุณภาพของปริญญาตรีกับปริมาณ

1.            50 ปี ที่แล้ว คนจบปริญญาตรีน้อยมาก แต่มีคุณภาพดี

2.            ปัจจุบันคนจบปริญญาตรีมีมากมาย แต่คุณภาพตกต่ำ

3.            ถ้าไม่บริหารหรือจัดการ Paradox ให้ดี ประเทศไทยก็จะล้าหลัง เปรียบเทียบคุณภาพทุนมนุษย์กับประเทศใน ASEAN ทำงานไม่เป็น อาจจะ เรียกว่า ล้มละลายทางปัญญา

4.            นี่คือที่มาของการซื้อ ขายตำแหน่ง วิ่งเต้นนักการเมือง

 

 

 

Paradox ที่ 3 จำนวนมือถือกับประโยชน์ที่ประเทศได้รับ

1.            20 ปีที่แล้ว คนมีมือถือน้อยมาก น่าจะจำนวนแค่หมื่นเครื่อง

2.            ปัจจุบัน 2555 มีจำนวนมือถือ กว่า 60 ล้านเครื่อง

3.            ปริมาณมากขึ้น แต่ประโยชน์ที่ได้รับจากมือถือน้อยมาก เพราะใช้คล้ายๆ โทรศัพท์

4.            เสียทรัพยากรโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะ เงินตราต่างประเทศ

5.            คนรวยก็คือ “บริษัทที่ได้รับสัมปทานมือถือ

 

 

สรุป

·       ผู้นำในยุคใหม่ต้องเรียนรู้ผู้นำในยุคเก่าอย่าง Lincoln

·       Lincoln สามารถจัดการ Paradox เหล่านี้ได้

·       ท่านผู้อ่านก็นำไปพัฒนาดูว่า เราจะใช้ประโยชน์จากการอ่านแนวคิดของผู้นำอย่าง Lincoln ได้อย่างไร?

หมายเลขบันทึก: 470079เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2011 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท