ภาษาผู้ไท(๓)


ภาษาผู้ไทจะมีเสียงสระที่ไม่ครบตามภาษาไทยกลางคือไม่มีสระเอีย,สระอัว, สระเอือ,แต่มีเสียงสระเอ,สระโอ,สระเออแทน มีเสียงวรรณยุกต์หลายๆคำที่อยู่ระหว่างเสียงโทกับเสียงตรี ซึ่งเสียงวรรณยุกต์นี้จะเทียบได้กับเสียงของคำเหล่านี้คือ มัก,พัก, ผู้เขียนจะใช้รูปวรรณยุกต์เป็น ้ ๊ (รูปวรรณยุกต์โทตามด้วยรูปวรรณยุกต์ตรี)

ผู้เขียนขอเล่าต่อจาก   บันทึกนี้  นะคะ วันนี้จะเล่าถึงหมวดเครื่องใช้ต่อค่ะ

      ตะกร้า ผู้ไทจะเรียกต่างๆกันตามลักษณะของตะกร้าด้วยคือ

       ๑  กะต้า หมายถึงตะกร้าที่ทำที่จับหิ้วขึ้นข้างบน

       ๒  กะหยัง สานเหมือนกระบุงและทำหู๓หูให้๒หูอยู่ใกล้กันแล้วใช้เชือกร้อยหูกระหยังแล้วดึงเชือกขึ้นระหว่างหู๒หูที่อยู่ใกล้กันใช้สะพาย

       ๓  ข้ ๊อง  สานเหมือนกระบุงแต่ทำทรงสูงกว่าและทำปากข้องเท่ากันก้นข้อง ทำหู๒หูตรงข้ามกันแล้วใช้เชือกร้อยทำเป็นห่วงสำหรับใช้หาบหรือคอน

ข้ ๊อง

             กะต้า

 

 

      กระบุงผู้ไทเรียกกะบุ่ง

                             กะบุ่ง

       กระด้งผู้ไทเรียกกะ่ด้ ๊ง, ด้ี ๊ง มีอยู่๓แบบ คือ

      ๑  ด้ ๊งกะเต๊ะ เป็นกระด้งที่สานทึบและสานเป็นวงกลม ขนาดใหญ่ ใช้สำหรับใส่ เลี้ยงไหม หรือตากดอกฝ้ายหรือตากสิ่งของอื่นๆ

       ๒  ด้ ๊งผั๋ด  เป็นกระด้งที่สานทึบมีรูปรีเล็กน้อยขนาดกว้างพอเหมาะในการใช้มือสองข้างจับสองข้างของกระด้งปลานด้านบนจแหลมด้านล่างจะป้าน ใช้สำหรับฝัดข้าว

       ๓  ด้๊๊๊ ๊งเขิง(เสียงสระเออะไม่ใช่สระเออ) เป็นกระด้งขนาดเล็กสานเป็นวงกลม สานเป็นตาข่ายเล็กๆใช้สำหรับร่อนปลายข้าวออกจากข้าวสาร หรือร่อนสิ่งอื่น

                ด้ ๊งผั๋ด

       ข้องใส่ปลาผู้ไทเรียก ข้ ๊องป๋า,ข้ ๊อง

         

               ข้ ีองป๋า

       กระทะผู้ไทเรียก หม้ ๊อกะท่ะ

       ครกผู้ไทเรียกซก เช่นซกมอง(ครกกระเดื่อง)่ซกหิ่น(ครกหิน)

       เขียงผู้ไทเรียกเห่ง

       สาก ผู้ไทเรียกซ่ะ

       พร้าผู้ไทเรียกพ้า้

       เสียมผู้ไทเรียกหน่อดั้ ๊ม

       จอบผู้ไทเรียกหน่อ จ๋ก

       ขันผู้ไทเรียกโอ่

       ตุ่มน้ำหรือโิอ่งน้ำผู้ไทเรียกอุ๊  เช่น อุ๊นั้มกิ่น(ตุ่มนำ้ดื่ม) อุ๊โหล่ง(โอ่ง) อุ๊นั้มเซ้อ(โอ่งน้ำใช้)

        อ่างผู้ไทเรียงอ้าง เช่น อ้าง เข้ ๊าม่า(อ่างสำหรับแช่ข้าวเหนียวก่อนนึ่ง)

        ตั่งผู้ไทเรียก ตั้ง

        แคร่ผู้ไทเรียกสะแน่น(เสียงสระแอไม่ใช่แอะ)

        โต๊ะผู้ไทเรียกโต๋ะ

         เตียงผู้ไทเรียกเต่ง

         ตู้ผู้ไทเรียกตู้ ๊

          หมอน ผู้ไทเรียกหม่อน

          มุ้งผู้ไทเรียก สุด

          ฟูกผู้ไทเรียกสะหน๋ะ

          เสื่อ ผู้ไทเรียกซาด

          ผ้าห่มผู้ไทเรียกผ้ ๊าฮ่ม ซึ่งมีอยู้๓อย่างคือ

      ๑  ผ้๊ ๊าโน่ม หมายถึงผ้าห่มนวม

      ๒  ผ้ี๊ ๊าซี่เห่า หมายถึงผ้าห่มที่เป็นผ้าฝ้ายทอมือ ทอจากตะกรอ๔ตะกรอจะมีลวดลายเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนซ้อนกันสองชั้นลายเล็กๆตลอดทั้งผืน

      ๓  ผ้๊ ๊าหล้ ๊ายสุดหมายถึงผ่าฝ้ายทอมือที่สอดเส้นยืนเว้นรูและเวลาสอดเส้นพุ่งก็กระทบฟืมเบาๆจะได้เนื้อผ้าที่ห่างๆไม่แน่นแต่เวลห่มจะอุ่นกว่าผ้ ๊าซี่เห่า

          เข็มผู้ไทเรียกเห่ม

          ด้ายผู้ไทเรียกด้ ๊าย

          กรรไกรผู้ไทเรียกมี่ดตั๋ด

 

 

     วันนี้พอแต่เท่านี้ก่อนนะคะ แล้วจะมีต่อค่ะ

     ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

     ขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เนตค่ะ

     อ่านต่อที่นี่ ค่ะ    

 

 

หมายเลขบันทึก: 470017เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2011 04:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดีใจครับ ที่พี่เป็นส่วนหนึ่งในการ

อนุรักษ์ภาษาถิ่นของเราที่กำลังจะสูญหายไปทุกที ๆ ครับ

  • ขอบคุณค่ะ น้องทิมดาบ
  • ก็จะค่อยๆรวบรวมไปเรื่อยๆค่ะนึกคำไหนออกก็เขียน
  • บางคำก็ลืมๆไปก็ไปถามหลายๆคนว่าเราเรียกว่าอย่างไร
  • เช่นตาตุ่มนอก ตอนแรกคิดว่าเรียกป่อมเพอะ
  • แต่ไม่ใช่ ป่อมเพอะเป็นตาตุ่มใน ส่วนตาตุ่มนอก
  • เรียกว่า ตุ้มม้ ๊อง
  • ลูกทิมดาบยังเรียนดนตรีอยู่ไหมคะได้เพลงไหนบ้างแล้วคะ

เรียนรู้ ภาษาผู้ไท

ตุ่มน้ำหรือโิอ่งน้ำผู้ไทเรียกอุ๊ เช่น อุ๊นั้มกิ่น(ตุ่มนำ้ดื่ม) อุ๊โหล่ง(โอ่ง) อุ๊นั้มเซ้อ(โอ่งน้ำใช้)

บ้านผมใช้เผล้งใส่น้ำครับ

  • ขอบคุณค่ะ ท่านวอญ่า ที่สนใจเรียนรู้ภาษาผู้ไท
  • และนำศัพท์ทางใต้มาแบ่งปันค่ะ
  •  อุ๊นั้ม จะเรียกว่า เหล้งหน๊าม  ใช่ไหมคะ
  • หน๊ามนี่ออกเสียงถูกไหมคะ
  • ทางโน้นฝนตกมากไหมคะ น้ำ้ไม่ท่วมนะคะ

น่าสนใจมากค่ะ

จะเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ามาก ๆ ต่อไป

ชื่นชมค่ะ เขียนอีก ๆ ๆ

  • ขอบคุณค่ะคุณหมอ ธิรัมภา
  • ดีใจที่มีผู้สนใจอีกค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท